แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันวิสาขบูชา
เวียนเทียน
เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ได้เวียนบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่งในเดือนกรกฎาคมนี้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและความเชื่อทางศาสนา โดยทำการสอบถามวัยรุ่นจำนวน 998 คน ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ในทุกๆ กลุ่มอาชีพ เช่น รับราชการ ลูกจ้างเอกชน ทำงาน-ส่วนตัว นักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ค. 2546 ผลการสำรวจสามารถสรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้
ในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา วัยรุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 59 ตอบว่าจะทำบุญตักบาตร ร้อยละ 18 จะไปเวียนเทียน และมีอีกร้อยละ 10 ที่ประสงค์จะอยู่บ้าน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา วัยรุ่นร้อยละ 76 เข้าวัด เฉลี่ย 3.19 ครั้ง โดยสาเหตุที่เข้าวัดนั้นร้อยละ 87 ตอบว่าเพื่อทำบุญ ร้อยละ 17 เพื่อไปงานศพ และร้อยละ 4 เพื่อไปสะเดาะเคราะห์
ส่วนข่าวเจ้าอาวาสวัดกู้ถูกลอบสังหารและตรวจสอบพบทรัพย์สินจำนวนมากนั้น วัยรุ่นร้อยละ 30 เห็นว่าเป็นความย่อหย่อน บกพร่องของกฎระเบียบปฏิบัติในการดูแลพระสงฆ์ ร้อยละ 25 เห็นว่าทำให้ศรัทธาในพระสงฆ์ลดน้อยลง และอีกร้อยละ 25 ตอบว่าแสดงถึงความเสื่อมของศาสนาพุทธ ส่วนอีกร้อยละ 18 เห็นว่า เป็นความหลงงมงายของพุทธศาสนิกชนในการนำเอาวัตถุมาถวายพระสงฆ์
เมื่อถามถึงความเชื่อในคำกล่าวที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” วัยรุ่น ร้อยละ 95 มีความเชื่อดังกล่าว แต่เมื่อถามถึงความศรัทธาและความเชื่อในเครื่องรางของขลัง วัยรุ่นร้อยละ 58 มีความเชื่อ โดยเครื่องรางที่นับถือมากที่สุดคือ พระพุทธรูป และเกจิอาจารย์ต่างๆ ส่วนความเชื่อว่าเครื่องรางของขลังจะช่วยด้านใด พบว่าร้อยละ 61 มีความเชื่อว่าเครื่องรางของขลังสามารถช่วยผู้ที่นับถือได้ในความปลอดภัย ร้อยละ 15 มีความเชื่อว่าจะให้โชคลาภ และอีกร้อยละ 15 มีความเชื่อว่าจะช่วยในด้านเมตตามหานิยม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา วัยรุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 59 ตอบว่าจะทำบุญตักบาตร ร้อยละ 18 จะไปเวียนเทียน และมีอีกร้อยละ 10 ที่ประสงค์จะอยู่บ้าน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา วัยรุ่นร้อยละ 76 เข้าวัด เฉลี่ย 3.19 ครั้ง โดยสาเหตุที่เข้าวัดนั้นร้อยละ 87 ตอบว่าเพื่อทำบุญ ร้อยละ 17 เพื่อไปงานศพ และร้อยละ 4 เพื่อไปสะเดาะเคราะห์
ส่วนข่าวเจ้าอาวาสวัดกู้ถูกลอบสังหารและตรวจสอบพบทรัพย์สินจำนวนมากนั้น วัยรุ่นร้อยละ 30 เห็นว่าเป็นความย่อหย่อน บกพร่องของกฎระเบียบปฏิบัติในการดูแลพระสงฆ์ ร้อยละ 25 เห็นว่าทำให้ศรัทธาในพระสงฆ์ลดน้อยลง และอีกร้อยละ 25 ตอบว่าแสดงถึงความเสื่อมของศาสนาพุทธ ส่วนอีกร้อยละ 18 เห็นว่า เป็นความหลงงมงายของพุทธศาสนิกชนในการนำเอาวัตถุมาถวายพระสงฆ์
เมื่อถามถึงความเชื่อในคำกล่าวที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” วัยรุ่น ร้อยละ 95 มีความเชื่อดังกล่าว แต่เมื่อถามถึงความศรัทธาและความเชื่อในเครื่องรางของขลัง วัยรุ่นร้อยละ 58 มีความเชื่อ โดยเครื่องรางที่นับถือมากที่สุดคือ พระพุทธรูป และเกจิอาจารย์ต่างๆ ส่วนความเชื่อว่าเครื่องรางของขลังจะช่วยด้านใด พบว่าร้อยละ 61 มีความเชื่อว่าเครื่องรางของขลังสามารถช่วยผู้ที่นับถือได้ในความปลอดภัย ร้อยละ 15 มีความเชื่อว่าจะให้โชคลาภ และอีกร้อยละ 15 มีความเชื่อว่าจะช่วยในด้านเมตตามหานิยม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-