แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
เลือกตั้งผู้ว่าฯ
น้ำตาลขอนแก่น
การเลือกตั้ง
สาเหตุที่ทำให้คนกรุงเทพฯ เกือบครึ่งหนึ่งเปลี่ยนใจไปเลือกคุณอภิรักษ์ เป็นผู้ว่าฯ
ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดย ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,253 คน ทุกอาชีพ ระดับการศึกษา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ในหัวข้อ “ผลโพลล์กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ” ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ก่อนวันเลือกตั้ง ความตั้งใจของคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 40.3 จะเลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 22.9 จะเลือกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 20.9 จะเลือก นางปวีณา หงสกุล และ ร้อยละ 5 จะเลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ แต่ในวันเลือกตั้ง พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 45.2 เลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 20.5 เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 20.3 เลือก นางปวีณา หงสกุล และ ร้อยละ 4.6 เลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
จากตัวเลขความตั้งใจที่จะไปลงคะแนนกับการไปลงคะแนนจริงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพบว่ามีผู้เปลี่ยนใจไปเลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ถึงร้อยละ 19 เมื่อสอบถามถึงเหตุผลในการเปลี่ยนใจ พบว่า ร้อยละ 47 ต้องการแสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการปกครองแบบ รวบอำนาจ ร้อยละ 34.5 ต้องการให้คนดีมาบริหารกรุงเทพฯ ร้อยละ 22.3 ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัครที่ตั้งใจจะไปเลือกและผู้ที่ไปเลือกจริง ร้อยละ 8.3 มีสมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่ขอร้อง ร้อยละ 8.0 ไม่ต้องการให้ผู้สมัครบางคนได้รับการเลือก ร้อยละ 7.6 ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองเลือกผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ว่า กทม. และ ร้อยละ 1.5 มีผู้มาขอคะแนนเสียง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำโพลล์ของสถาบันต่าง ๆ ร้อยละ 33.9 เห็นว่าควรทำได้แต่ไม่ควรเผยแพร่ ร้อยละ 27.3 เห็นว่าทำได้และควรเผยแพร่ด้วย ร้อยละ 20.5 เห็นว่าไม่ควรทำ และร้อยละ 18.3 เห็นว่าควรทำได้และควรเผยแพร่ด้วย แต่ไม่ควรทำและเผยแพร่ภายใน 3 วัน ก่อนการเลือกตั้ง
สำหรับการทำ Exit Poll หรือผลการสำรวจหน้าคูหาเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 68.9 เห็นว่าควรทำได้
กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อ้างว่าการทำโพลล์จะเป็นการชี้นำผู้มีสิทธิออกเสียง จึงห้ามไม่ให้ทำและเผยแพร่ผลโพลล์นั้น ร้อยละ 53.4 เห็นด้วย ร้อยละ 23.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 23.1 ไม่มีความเห็น
ส่วนคำถามที่ว่าผลของโพลล์จะมีส่วนชี้นำผู้ตอบหรือไม่นั้น ร้อยละ 49.6 ตอบว่า ชี้นำบ้าง ร้อยละ 36.9 ตอบว่าไม่มีส่วนชี้นำเลย และร้อยละ 13.5 ตอบว่าชี้นำมาก สำหรับโทรทัศน์ที่คิดว่ามีการรายงานผลการเลือกตั้งได้รวดเร็วฉับไวถูกต้องนั้น ร้อยละ 50.4 ตอบว่า ช่อง ITV ร้อยละ 19.7 ช่อง 7 ร้อยละ 16.0 ช่อง 9 ร้อยละ 9.5 ช่อง 3 ร้อยละ 2.9 ช่อง 11 และร้อยละ 1.5 ช่อง 5
ตารางแสดงร้อยละของเหตุผลที่เปลี่ยนใจจากผู้สมัครเดิมมาเลือกอภิรักษ์ ณ วันเลือกตั้ง
ผู้สมัครเดิม เหตุผล 1 เหตุผล 2 เหตุผล 3 เหตุผล 4 เหตุผล 5 เหตุผล 6 เหตุผล 7 รวม
ปวีณา 0 10.71 14.29 25 0 21.43 28.57 31.5
ชูวิทย์ 2.7 8.11 8.11 24.32 8.11 18.92 29.73 41.6
เฉลิม 0 33.33 0 0 22.22 22.22 22.22 10.1
นิติภูมิ 0 0 33.33 0 0 66.67 0 3.37
พิจิตร 0 8.33 0 41.67 0 33.33 16.67 13.5
รวม 1.12 11.24 8.99 23.6 5.62 23.6 25.84 100
หมายเหตุ
เหตุผลที่ 1
มีผู้มาขอคะแนนเสียงจากท่าน
เหตุผลที่ 2
สมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่ขอร้อง
เหตุผลที่ 3
ไม่ต้องการให้ผู้สมัครบางคนได้รับการเลือกตั้ง
เหตุผลที่ 4
ต้องการแสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการปกครองแบบรวบอำนาจ
เหตุผลที่ 5
ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองเลือกผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ว่า กทม
เหตุผลที่ 6
ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัครที่ตั้งใจจะไปเลือกและผู้ที่ไปเลือกจริง
เหตุผลที่ 7
ต้องการให้คนดีมาบริหาร กทม.
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดย ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,253 คน ทุกอาชีพ ระดับการศึกษา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ในหัวข้อ “ผลโพลล์กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ” ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ก่อนวันเลือกตั้ง ความตั้งใจของคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 40.3 จะเลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 22.9 จะเลือกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 20.9 จะเลือก นางปวีณา หงสกุล และ ร้อยละ 5 จะเลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ แต่ในวันเลือกตั้ง พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 45.2 เลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 20.5 เลือก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 20.3 เลือก นางปวีณา หงสกุล และ ร้อยละ 4.6 เลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
จากตัวเลขความตั้งใจที่จะไปลงคะแนนกับการไปลงคะแนนจริงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพบว่ามีผู้เปลี่ยนใจไปเลือก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ถึงร้อยละ 19 เมื่อสอบถามถึงเหตุผลในการเปลี่ยนใจ พบว่า ร้อยละ 47 ต้องการแสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการปกครองแบบ รวบอำนาจ ร้อยละ 34.5 ต้องการให้คนดีมาบริหารกรุงเทพฯ ร้อยละ 22.3 ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัครที่ตั้งใจจะไปเลือกและผู้ที่ไปเลือกจริง ร้อยละ 8.3 มีสมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่ขอร้อง ร้อยละ 8.0 ไม่ต้องการให้ผู้สมัครบางคนได้รับการเลือก ร้อยละ 7.6 ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองเลือกผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ว่า กทม. และ ร้อยละ 1.5 มีผู้มาขอคะแนนเสียง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำโพลล์ของสถาบันต่าง ๆ ร้อยละ 33.9 เห็นว่าควรทำได้แต่ไม่ควรเผยแพร่ ร้อยละ 27.3 เห็นว่าทำได้และควรเผยแพร่ด้วย ร้อยละ 20.5 เห็นว่าไม่ควรทำ และร้อยละ 18.3 เห็นว่าควรทำได้และควรเผยแพร่ด้วย แต่ไม่ควรทำและเผยแพร่ภายใน 3 วัน ก่อนการเลือกตั้ง
สำหรับการทำ Exit Poll หรือผลการสำรวจหน้าคูหาเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 68.9 เห็นว่าควรทำได้
กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อ้างว่าการทำโพลล์จะเป็นการชี้นำผู้มีสิทธิออกเสียง จึงห้ามไม่ให้ทำและเผยแพร่ผลโพลล์นั้น ร้อยละ 53.4 เห็นด้วย ร้อยละ 23.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 23.1 ไม่มีความเห็น
ส่วนคำถามที่ว่าผลของโพลล์จะมีส่วนชี้นำผู้ตอบหรือไม่นั้น ร้อยละ 49.6 ตอบว่า ชี้นำบ้าง ร้อยละ 36.9 ตอบว่าไม่มีส่วนชี้นำเลย และร้อยละ 13.5 ตอบว่าชี้นำมาก สำหรับโทรทัศน์ที่คิดว่ามีการรายงานผลการเลือกตั้งได้รวดเร็วฉับไวถูกต้องนั้น ร้อยละ 50.4 ตอบว่า ช่อง ITV ร้อยละ 19.7 ช่อง 7 ร้อยละ 16.0 ช่อง 9 ร้อยละ 9.5 ช่อง 3 ร้อยละ 2.9 ช่อง 11 และร้อยละ 1.5 ช่อง 5
ตารางแสดงร้อยละของเหตุผลที่เปลี่ยนใจจากผู้สมัครเดิมมาเลือกอภิรักษ์ ณ วันเลือกตั้ง
ผู้สมัครเดิม เหตุผล 1 เหตุผล 2 เหตุผล 3 เหตุผล 4 เหตุผล 5 เหตุผล 6 เหตุผล 7 รวม
ปวีณา 0 10.71 14.29 25 0 21.43 28.57 31.5
ชูวิทย์ 2.7 8.11 8.11 24.32 8.11 18.92 29.73 41.6
เฉลิม 0 33.33 0 0 22.22 22.22 22.22 10.1
นิติภูมิ 0 0 33.33 0 0 66.67 0 3.37
พิจิตร 0 8.33 0 41.67 0 33.33 16.67 13.5
รวม 1.12 11.24 8.99 23.6 5.62 23.6 25.84 100
หมายเหตุ
เหตุผลที่ 1
มีผู้มาขอคะแนนเสียงจากท่าน
เหตุผลที่ 2
สมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่ขอร้อง
เหตุผลที่ 3
ไม่ต้องการให้ผู้สมัครบางคนได้รับการเลือกตั้ง
เหตุผลที่ 4
ต้องการแสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการปกครองแบบรวบอำนาจ
เหตุผลที่ 5
ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองเลือกผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ว่า กทม
เหตุผลที่ 6
ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัครที่ตั้งใจจะไปเลือกและผู้ที่ไปเลือกจริง
เหตุผลที่ 7
ต้องการให้คนดีมาบริหาร กทม.
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-