แท็ก
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
สุขภัณฑ์กะรัต
โรคเอดส์
ถ้าเป็นเอดส์ คนกรุงเทพฯ จะบอกพ่อแม่ให้ทราบเป็นคนแรก รองลงมาคือ คนในครอบครัว
จากการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากสมาคมโรคเอดส์นานาชาติ ให้เป็นเจ้าภาพ จัดประชุมเอดส์โลก ระหว่างวันที่ 11 — 16 กรกฎาคม 2547 นั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดย ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,200 คน จากทุกระดับอาชีพ เพศ การศึกษา เมื่อวันที่ 4 — 5 กรกฎาคม 2547 ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับเอดส์” ซึ่งผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
มีคนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 79.3 ที่ทราบว่ามีการจัดประชุมเอดส์โลกที่เมืองไทย ในจำนวนนี้ได้ทราบข่าวจากโทรทัศน์ ร้อยละ 45.6 จากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 21.5 จากวิทยุ ร้อยละ 19.9 จากแผ่นโฆษณา ร้อยละ 8.7 และจากสื่ออื่น ๆ ร้อยละ 4.2
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 89.0 คิดว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง ต่อประเทศไทย และต่อสังคมโลก
ส่วนคำถามที่ท้าทายคนทั่วไปสำหรับสถานการณ์เอดส์ว่าถ้าตัวเองเป็นโรคเอดส์จะบอกผู้อื่นหรือไม่นั้น ร้อยละ 28.5 จะไม่บอกใครเลย ที่เหลืออีกร้อยละ 71.5 จะบอกผู้อื่น ในจำนวนนี้ ร้อยละ 41.2 จะบอกพ่อแม่เป็น อันดับแรก ร้อยละ 36.1 จะบอกคนในครอบครัวหรือพี่น้อง ร้อยละ 14.0 จะบอกคนใกล้ชิดที่รู้ใจ เพื่อนสนิท หรือ แฟน ร้อยละ 5.3 จะบอกคู่สมรส และร้อยละ 3.4 จะบอกแพทย์
สำหรับความเข้าใจของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการติดต่อของโรคเอดส์ ร้อยละ 34.8 ตอบว่า มาจากการมี เพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน ร้อยละ 30.0 ตอบว่ามาจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ร้อยละ 25.4 ตอบว่ามาจากการถ่ายเลือด ร้อยละ 5.8 ตอบว่า มาจากการสัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย ร้อยละ 1.8 ตอบว่ามาจากการถูกยุงกัด และ ร้อยละ 1 ตอบว่ามาจากการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย
ส่วนความใจบุญของคนไทย เกี่ยวกับการบริจาคเงินช่วยเหลือ องค์กรหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคเอดส์นั้น มีเพียงร้อยละ 23.6 เท่านั้นที่เคยบริจาคเงินช่วยเหลือ
เมื่อเปรียบเทียบความกลัวระหว่างโรคเอดส์กับโรคมะเร็งของคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 55.1 ตอบว่ามีความกลัวทั้ง 2 โรคพอ ๆ กัน ร้อยละ 31.8 กลัวโรคเอดส์มากกว่า และร้อยละ 13.0 กลัวโรคมะเร็งมากกว่า
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
จากการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากสมาคมโรคเอดส์นานาชาติ ให้เป็นเจ้าภาพ จัดประชุมเอดส์โลก ระหว่างวันที่ 11 — 16 กรกฎาคม 2547 นั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดย ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,200 คน จากทุกระดับอาชีพ เพศ การศึกษา เมื่อวันที่ 4 — 5 กรกฎาคม 2547 ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับเอดส์” ซึ่งผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
มีคนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 79.3 ที่ทราบว่ามีการจัดประชุมเอดส์โลกที่เมืองไทย ในจำนวนนี้ได้ทราบข่าวจากโทรทัศน์ ร้อยละ 45.6 จากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 21.5 จากวิทยุ ร้อยละ 19.9 จากแผ่นโฆษณา ร้อยละ 8.7 และจากสื่ออื่น ๆ ร้อยละ 4.2
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 89.0 คิดว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง ต่อประเทศไทย และต่อสังคมโลก
ส่วนคำถามที่ท้าทายคนทั่วไปสำหรับสถานการณ์เอดส์ว่าถ้าตัวเองเป็นโรคเอดส์จะบอกผู้อื่นหรือไม่นั้น ร้อยละ 28.5 จะไม่บอกใครเลย ที่เหลืออีกร้อยละ 71.5 จะบอกผู้อื่น ในจำนวนนี้ ร้อยละ 41.2 จะบอกพ่อแม่เป็น อันดับแรก ร้อยละ 36.1 จะบอกคนในครอบครัวหรือพี่น้อง ร้อยละ 14.0 จะบอกคนใกล้ชิดที่รู้ใจ เพื่อนสนิท หรือ แฟน ร้อยละ 5.3 จะบอกคู่สมรส และร้อยละ 3.4 จะบอกแพทย์
สำหรับความเข้าใจของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการติดต่อของโรคเอดส์ ร้อยละ 34.8 ตอบว่า มาจากการมี เพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน ร้อยละ 30.0 ตอบว่ามาจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ร้อยละ 25.4 ตอบว่ามาจากการถ่ายเลือด ร้อยละ 5.8 ตอบว่า มาจากการสัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย ร้อยละ 1.8 ตอบว่ามาจากการถูกยุงกัด และ ร้อยละ 1 ตอบว่ามาจากการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย
ส่วนความใจบุญของคนไทย เกี่ยวกับการบริจาคเงินช่วยเหลือ องค์กรหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคเอดส์นั้น มีเพียงร้อยละ 23.6 เท่านั้นที่เคยบริจาคเงินช่วยเหลือ
เมื่อเปรียบเทียบความกลัวระหว่างโรคเอดส์กับโรคมะเร็งของคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 55.1 ตอบว่ามีความกลัวทั้ง 2 โรคพอ ๆ กัน ร้อยละ 31.8 กลัวโรคเอดส์มากกว่า และร้อยละ 13.0 กลัวโรคมะเร็งมากกว่า
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-