ชาวกรุงเทพฯ กับการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก
พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกมาพูดจากันมากในขณะนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศมีการ
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของ
ชาวกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “พลังงานทางเลือก : ความเข้าใจและการปฏิบัติ” โดยสอบถามจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,700 คน ทุกระดับอาชีพ เพศ
การศึกษา และอายุ ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. สาเหตุที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 34.8 คิดว่า เกิดจากความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 24.6 คิดว่าเกิดจากการเก็งกำไรของผู้ค้าน้ำมัน ร้อยละ 22.5 คิดว่าประชาชนของแต่ละ
ประเทศใช้น้ำมันเกินความจำเป็น ร้อยละ 16.8 คิดว่าน้ำมันธรรมชาติในโลกใกล้จะหมดแล้ว และร้อยละ 1.3 คิดว่าเกิดจากสถานการณ์ในอิหร่าน
และอิรัก
2. เกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำมันธรรมชาติลดลงหรือหมดไปจากโลกนี้ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 47.5 คิดว่ามนุษย์จะมีปัญหามากในการดำรง
ชีวิต ร้อยละ 30.5 คิดว่าจะมีปัญหาค่อนข้างมาก และร้อยละ 14.8 คิดว่าไม่มีปัญหาเพราะมนุษย์จะสามารถหาพลังงานอื่นมาทดแทนได้
3. พลังงานทดแทนที่ชาวกรุงเทพฯ เอ่ยถึงค่อนข้างมากเรียงตามลำดับได้แก่ ก๊าซโซฮอลล์ แสงอาทิตย์ ก๊าซเอ็นจีวี ที่เอ่ยถึงรองลงมา
ตามลำดับ ได้แก่ น้ำ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันสบู่ดำ ถ่านหิน ก๊าซแอลพีจี ไบโอดีเซล ลม ไฮโดรเจน น้ำมันถั่วลิสง เอทานอล และ
นิวเคลียร์
4. สำหรับเงื่อนไขสำคัญต่าง ๆ ที่ชาวกรุงเทพฯ จะนำมาพิจารณาตัดสินใจในการใช้พลังงานทดแทน มีดังนี้
4.1 เงื่อนไขราคาน้ำมันค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาพลังงานทดแทน ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 67.6 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก
ร้อยละ 27.8 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง และร้อยละ 4.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.2 เงื่อนไขในการที่จะอนุรักษ์พลังงานน้ำมันให้อยู่ในโลกนี้จนถึงลูกหลานร้อยละ 59.1 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก ร้อยละ 3.39 คิด
ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง ร้อยละ 7.0 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.3 เงื่อนไขเมื่อรถยนต์ / เครื่องจักรต่าง ๆ ออกแบบมาสำหรับใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 53.5 คิดว่าเป็น
เงื่อนไขสำคัญมาก ร้อยละ 37.0 ติดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง และร้อยละ 9.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.4 เงื่อนไขเกี่ยวกับการมีแหล่งจำหน่ายพลังงานทดแทนเพียงพอและทั่วถึง ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 51.0 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก
ร้อยละ 36.6 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง ร้อยละ 12.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
5. สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์หรือประหยัดพลังงานอยู่ในปัจจุบัน ร้อยละ 36.2 มีส่วนร่วมค่อนข้างมาก ร้อยละ
29.1 มี่ส่วนร่วมค่อนข้างน้อย และร้อยละ 23.5 มีส่วนร่วมมาก
6. กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ พลังงาน ซึ่งชาวกรุงเทพฯ ครอบครัวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พบว่า การปิดหลอดไฟฟ้าวัน
ละหนึ่งดวง การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งานและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็น
ประจำ มีรายละเอียดกิจกรรมที่ปฏิบัติมีดังนี้
กิจกรรมที่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำ ปฏิบัติเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้ปฏิบัติ
1) ปิดหลอดไฟฟ้าวันละหนึ่งดวง 73.7 23.6 2.7
2) การทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า 63.2 34.4 2.4
3) การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า , คอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน 73.7 23.6 2.7
4) การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25-26 องศาเซลเซียส 65.2 29.5 5.3
5) การใช้บันไทแทนการใช้ลิฟต์ใช้กรณีขึ้นลงชั้นเดียว 64 31.7 4.3
6) การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 70.2 27.2 2.6
7) การใช้รถโดยสารสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว 53.5 36 10.5
8) การใช้รถจักรยานแทนรถยนต์ / รถโดยสาร 39.8 39 21.3
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกมาพูดจากันมากในขณะนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศมีการ
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของ
ชาวกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “พลังงานทางเลือก : ความเข้าใจและการปฏิบัติ” โดยสอบถามจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,700 คน ทุกระดับอาชีพ เพศ
การศึกษา และอายุ ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. สาเหตุที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 34.8 คิดว่า เกิดจากความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 24.6 คิดว่าเกิดจากการเก็งกำไรของผู้ค้าน้ำมัน ร้อยละ 22.5 คิดว่าประชาชนของแต่ละ
ประเทศใช้น้ำมันเกินความจำเป็น ร้อยละ 16.8 คิดว่าน้ำมันธรรมชาติในโลกใกล้จะหมดแล้ว และร้อยละ 1.3 คิดว่าเกิดจากสถานการณ์ในอิหร่าน
และอิรัก
2. เกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำมันธรรมชาติลดลงหรือหมดไปจากโลกนี้ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 47.5 คิดว่ามนุษย์จะมีปัญหามากในการดำรง
ชีวิต ร้อยละ 30.5 คิดว่าจะมีปัญหาค่อนข้างมาก และร้อยละ 14.8 คิดว่าไม่มีปัญหาเพราะมนุษย์จะสามารถหาพลังงานอื่นมาทดแทนได้
3. พลังงานทดแทนที่ชาวกรุงเทพฯ เอ่ยถึงค่อนข้างมากเรียงตามลำดับได้แก่ ก๊าซโซฮอลล์ แสงอาทิตย์ ก๊าซเอ็นจีวี ที่เอ่ยถึงรองลงมา
ตามลำดับ ได้แก่ น้ำ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันสบู่ดำ ถ่านหิน ก๊าซแอลพีจี ไบโอดีเซล ลม ไฮโดรเจน น้ำมันถั่วลิสง เอทานอล และ
นิวเคลียร์
4. สำหรับเงื่อนไขสำคัญต่าง ๆ ที่ชาวกรุงเทพฯ จะนำมาพิจารณาตัดสินใจในการใช้พลังงานทดแทน มีดังนี้
4.1 เงื่อนไขราคาน้ำมันค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาพลังงานทดแทน ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 67.6 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก
ร้อยละ 27.8 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง และร้อยละ 4.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.2 เงื่อนไขในการที่จะอนุรักษ์พลังงานน้ำมันให้อยู่ในโลกนี้จนถึงลูกหลานร้อยละ 59.1 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก ร้อยละ 3.39 คิด
ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง ร้อยละ 7.0 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.3 เงื่อนไขเมื่อรถยนต์ / เครื่องจักรต่าง ๆ ออกแบบมาสำหรับใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 53.5 คิดว่าเป็น
เงื่อนไขสำคัญมาก ร้อยละ 37.0 ติดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง และร้อยละ 9.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
4.4 เงื่อนไขเกี่ยวกับการมีแหล่งจำหน่ายพลังงานทดแทนเพียงพอและทั่วถึง ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 51.0 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญมาก
ร้อยละ 36.6 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญปานกลาง ร้อยละ 12.5 คิดว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญน้อย
5. สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์หรือประหยัดพลังงานอยู่ในปัจจุบัน ร้อยละ 36.2 มีส่วนร่วมค่อนข้างมาก ร้อยละ
29.1 มี่ส่วนร่วมค่อนข้างน้อย และร้อยละ 23.5 มีส่วนร่วมมาก
6. กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ พลังงาน ซึ่งชาวกรุงเทพฯ ครอบครัวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พบว่า การปิดหลอดไฟฟ้าวัน
ละหนึ่งดวง การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งานและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็น
ประจำ มีรายละเอียดกิจกรรมที่ปฏิบัติมีดังนี้
กิจกรรมที่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำ ปฏิบัติเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้ปฏิบัติ
1) ปิดหลอดไฟฟ้าวันละหนึ่งดวง 73.7 23.6 2.7
2) การทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า 63.2 34.4 2.4
3) การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า , คอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน 73.7 23.6 2.7
4) การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25-26 องศาเซลเซียส 65.2 29.5 5.3
5) การใช้บันไทแทนการใช้ลิฟต์ใช้กรณีขึ้นลงชั้นเดียว 64 31.7 4.3
6) การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 70.2 27.2 2.6
7) การใช้รถโดยสารสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว 53.5 36 10.5
8) การใช้รถจักรยานแทนรถยนต์ / รถโดยสาร 39.8 39 21.3
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-