แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
สุภาษิตไทย
สุภาษิตที่สอนหรือทำให้คนเป็นคนดีปัจจุบันใช้ได้กับเยาวชนไทยเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
สุภาษิตไทยส่วนใหญ่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้คนในยุคนั้นๆ ส่วนใหญ่จะสอนให้ตระหนักด้านคุณธรรม จริยธรรม และต้องการให้เป็นคนดีของสังคม แต่ในปัจจุบันสุภาษิตหรือคำกล่าวส่วนน้อยเท่านั้นยังคงใช้ได้ดีในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในหัวข้อ "สุภาษิตไทยยังคงใช้ได้อยู่?" โดยสอบถามจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 1,240 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. สุภาษิตเกี่ยวกับการสอนให้คนตระหนักถึงความซื่อสัตย์ ในคำกล่าวที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน" พบว่าเยาวชนไทย ร้อยละ 66.1 เห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่ โดยเพศชายเห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่น้อยกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 64.3 และร้อยละ 67.4 ตามลำดับ)
2. สุภาษิตเกี่ยวกับครอบครัวและการครองเรือน ในคำกล่าวที่ว่า "ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่" พบว่ามีร้อยละ 52.3 คิดว่าใช้ไม่ได้แล้ว โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วน้อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 51.5 และ 52.9 ตามลำดับ) คำกล่าวที่ว่า "เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร" พบว่าร้อยละ 57.8 เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้ว โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 59.6 และ 56.6 ตามลำดับ) และคำกล่าวที่ว่า "ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง" มีถึงร้อยละ 83.4 ที่เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วในปัจจุบัน โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วน้อยกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 75.7 และ 88.5 ตามลำดับ)
3. สุภาษิตที่เกี่ยวกับการสอนหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงโสด ในคำกล่าวที่ว่า "เป็นหญิงควรรักนวลสงวนตัว" พบว่าร้อยละ 61.9 เห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่ โดยเพศหญิงเห็นว่ายังคงใช้ได้มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 70.2 และ 49.8 ตามลำดับ) ส่วนคำกล่าวที่ว่า "พรหมจรรย์ของหญิงควรหวงแหนจนถึงวันแต่งงาน" ร้อยละ 54.2 เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วโดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 67.7 และ 45.1 ตามลำดับ)
4. สุภาษิตที่เกี่ยวกับการทำงานและการตัดสินใจ ในคำกล่าวที่ว่า "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม" พบว่าร้อยละ 56.5 เห็นว่ายังคงใช้ได้ โดยเพศหญิงเห็นว่ายังคงใช้ได้มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 58.2 และ ร้อยละ 54.0 ตามลำดับ)
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร ที่ปรึกษาอธิการบดีอาวุโส มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จากผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าสุภาษิตหรือคำกล่าวข้างต้นที่คนไทยชอบยกมาใช้กันอยู่เสมอๆ นั้นมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่เยาวชนไทยยังยอมรับกันอยู่ โดยเป็นที่ยอมรับกันเพียงส่วนน้อย คือหนึ่งในสี่และหนึ่งในสามเท่านั้น คือคำกล่าวที่ว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง และพรหมจรรย์ของหญิงควรหวงแหนจนถึงวันแต่งงาน ซึ่งแสดงให้เห็นการยอมรับของสังคมวัยรุ่นโดยเฉพาะผู้หญิงด้วยกันเองที่มีต่อความสามารถของผู้หญิงที่ไม่ต้องพึ่งพาเพศชายในด้านต่างๆ มากขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับสังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ที่อาจจะตกต่ำลงโดยเฉพาะเรื่องเพศที่เห็นว่าพรหมจรรย์ของหญิงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญของชายมากนัก ซึ่งอาจจะทำให้เพศหญิงเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ระมัดระวังตัวเท่าที่ควร
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
สุภาษิตไทยส่วนใหญ่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้คนในยุคนั้นๆ ส่วนใหญ่จะสอนให้ตระหนักด้านคุณธรรม จริยธรรม และต้องการให้เป็นคนดีของสังคม แต่ในปัจจุบันสุภาษิตหรือคำกล่าวส่วนน้อยเท่านั้นยังคงใช้ได้ดีในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในหัวข้อ "สุภาษิตไทยยังคงใช้ได้อยู่?" โดยสอบถามจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 1,240 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. สุภาษิตเกี่ยวกับการสอนให้คนตระหนักถึงความซื่อสัตย์ ในคำกล่าวที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน" พบว่าเยาวชนไทย ร้อยละ 66.1 เห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่ โดยเพศชายเห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่น้อยกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 64.3 และร้อยละ 67.4 ตามลำดับ)
2. สุภาษิตเกี่ยวกับครอบครัวและการครองเรือน ในคำกล่าวที่ว่า "ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่" พบว่ามีร้อยละ 52.3 คิดว่าใช้ไม่ได้แล้ว โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วน้อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 51.5 และ 52.9 ตามลำดับ) คำกล่าวที่ว่า "เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร" พบว่าร้อยละ 57.8 เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้ว โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 59.6 และ 56.6 ตามลำดับ) และคำกล่าวที่ว่า "ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง" มีถึงร้อยละ 83.4 ที่เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วในปัจจุบัน โดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วน้อยกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 75.7 และ 88.5 ตามลำดับ)
3. สุภาษิตที่เกี่ยวกับการสอนหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงโสด ในคำกล่าวที่ว่า "เป็นหญิงควรรักนวลสงวนตัว" พบว่าร้อยละ 61.9 เห็นว่ายังคงใช้ได้อยู่ โดยเพศหญิงเห็นว่ายังคงใช้ได้มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 70.2 และ 49.8 ตามลำดับ) ส่วนคำกล่าวที่ว่า "พรหมจรรย์ของหญิงควรหวงแหนจนถึงวันแต่งงาน" ร้อยละ 54.2 เห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วโดยเพศชายเห็นว่าใช้ไม่ได้แล้วมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 67.7 และ 45.1 ตามลำดับ)
4. สุภาษิตที่เกี่ยวกับการทำงานและการตัดสินใจ ในคำกล่าวที่ว่า "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม" พบว่าร้อยละ 56.5 เห็นว่ายังคงใช้ได้ โดยเพศหญิงเห็นว่ายังคงใช้ได้มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 58.2 และ ร้อยละ 54.0 ตามลำดับ)
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร ที่ปรึกษาอธิการบดีอาวุโส มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จากผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าสุภาษิตหรือคำกล่าวข้างต้นที่คนไทยชอบยกมาใช้กันอยู่เสมอๆ นั้นมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่เยาวชนไทยยังยอมรับกันอยู่ โดยเป็นที่ยอมรับกันเพียงส่วนน้อย คือหนึ่งในสี่และหนึ่งในสามเท่านั้น คือคำกล่าวที่ว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง และพรหมจรรย์ของหญิงควรหวงแหนจนถึงวันแต่งงาน ซึ่งแสดงให้เห็นการยอมรับของสังคมวัยรุ่นโดยเฉพาะผู้หญิงด้วยกันเองที่มีต่อความสามารถของผู้หญิงที่ไม่ต้องพึ่งพาเพศชายในด้านต่างๆ มากขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับสังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ที่อาจจะตกต่ำลงโดยเฉพาะเรื่องเพศที่เห็นว่าพรหมจรรย์ของหญิงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญของชายมากนัก ซึ่งอาจจะทำให้เพศหญิงเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ระมัดระวังตัวเท่าที่ควร
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-