แท็ก
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
ความเป็นมาของโพลล์
อาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ต้องการความ
สะดวกสบายและความปลอดภัย จึงอาศัยบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ดูแลความปลอดภัยอาคารและทรัพย์สิน บริการจราจร การเข้า-
ออกบริเวณและอาคาร ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ และในปัจจุบันอาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีคนไทยจำนวนไม่น้อยได้เข้าสู่อาชีพนี้
และดำรงชีวิตด้วยเงินรายได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมี รปภ. จำนวนมากที่ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบ
ครัว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของอาชีพดังกล่าวถึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อนำเสนอ
ชีวิตของ รปภ. ที่แท้จริงให้สังคมรับรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ รปภ. มากขึ้น อีกทั้งเป็นแนวทางของการส่งเสริมให้คนทั่วไปที่ยังว่างงานได้เข้าสู่
อาชีพนี้ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นและวิถีการดำเนินชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนตัวอย่างที่เลือกมาศึกษาใช้วิธีการสุ่มโดยจำแนกตามอายุ สถานภาพ
สมรส และระดับการศึกษา จำนวน 994 ตัวอย่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2545
ผลการสำรวจ
- จากการสำรวจพบว่า รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี (ร้อยละ 36.8) สมรสแล้ว (ร้อยละ
54.9) และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / ปวช. (ร้อยละ 49.3) โดยส่วนใหญ่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในอาคาร (ร้อยละ 36.3) และทำหน้าที่
เป็นยามประตูเข้า-ออกอาคาร และหน่วยงาน (ร้อยละ 25.4)
- อาชีพที่ทำก่อนที่จะมาเป็น รปภ. ส่วนใหญ่ทำงานเป็นลูกจ้างเอกชน (ร้อยละ 34) โดยส่วนใหญ่เพื่อน (ร้อยละ 43.2) และญาติ
(ร้อยละ 27.7) เป็นผู้แนะนำ โดยให้เหตุผลว่าอาชีพนี้มีรายได้ดี มั่นคง และเป็นงานสุจริต (ร้อยละ 75.26) ส่วนรายได้ที่ได้รับต่อเดือน พบว่า ส่วน
ใหญ่รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต (ร้อยละ 66.3) และที่ไม่เพียงพอมีเพียงร้อยละ 33.7เท่านั้น
- หากให้ รปภ. ตัดสินใจว่าจะทำอาชีพนี้ต่อไปอีกหรือไม่ถ้ามีงานอื่นที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน รปภ. ส่วนใหญ่ตอบว่ายังสนใจที่จะทำอาชีพ
รปภ. ต่อไป (ร้อยละ 54.1) โดยให้เหตุผลว่ามีรายได้และมีความมั่นคง และที่คิดว่าจะไปทำอาชีพอื่นมีน้อยกว่า (ร้อยละ 45.9) นอกจากนี้ยังพบว่า
รปภ. ส่วนใหญ่จะแนะนำญาติ / พี่น้อง ที่กำลังหางานทำเข้ามาสู่อาชีพนี้ (ร้อยละ 51.4) ในขณะที่ไม่แนะนำมีน้อยกว่า (ร้อยละ 48.6)
- รปภ. ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าในอดีตเมื่อครั้งทำอาชีพ รปภ. ใหม่ ๆ เคยเบื่อหน่ายต่ออาชีพนี้ (ร้อยละ 70.3) โดยให้เหตุผลว่าต้อง
รับผิดชอบต่อหน้าที่สูง (ร้อยละ 30) และไม่ได้รับเกียรติจากคนอื่น (ร้อยละ 18.4) ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่เห็นว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้เพียงพอและมี
ความมั่นคง
- สิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อยู่ในอาชีพ รปภ. คือ รายได้ที่เพียงพอ (ร้อยละ 35.4) ในขณะที่เห็นว่า มีอำนาจและเครื่องแบบที่สวย
งามเป็นสิ่งจูงใจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ7.5)
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามอาชีพก่อนเป็น รปภ.
อาชีพ จำนวน ร้อยละ
1. รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 73 7.4
2. ลูกจ้างเอกชน 337 34.0
3. แม่บ้าน 14 3.4
4. ทำงานส่วนตัว 131 13.2
5. ช่วยธุรกิจครอบครัว 47 4.7
6. นักศึกษา 20 2.0
7. ไม่เคยทำอาชีพใดมาก่อน 97 9.7
8. อาชีพอื่น ๆ 272 27.4
รวม 991 100.0
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามผู้ชักนำเข้าสู่อาชีพ
ผู้ชักนำ จำนวน ร้อยละ
1. เพื่อน 429 43.2
2. ญาติ 275 27.7
3. พ่อ-แม่ 10 1.0
4. อื่น ๆ คือ มาสมัครด้วยตนเอง 279 28.1
รวม 993 100.0
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความเพียงพอของรายได้
ความเพียงพอ จำนวน ร้อยละ
1. เพียงพอ 656 66.3
2. ไม่เพียงพอ 334 33.7
รวม 990 100.0
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามการเลือกอาชีพอื่นหากมีรายได้ใกล้เคียงกับอาชีพ รปภ.
การตัดสินใจ จำนวน ร้อยละ
1. ทำ 532 54.1
2. ไม่ทำ 452 54.9
รวม 984 100.0
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามการแนะนำญาติ / พี่น้อง ในกรณีที่กำลัง หางานทำ
การแนะนำ จำนวน ร้อยละ
1. แนะนำ 508 51.4
2. ไม่แนะนำ 481 48.6
รวม 989 100.0
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความรู้สึกในอดีตเมื่อครั้งทำงานใหม่ ๆ
ความรู้ในอดีต จำนวน ร้อยละ
1. ไม่เคยเบื่อหน่าย 295 29.7
2. เคยเบื่อหน่าย 699 70.3
รวม 994 100.0
ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามสาเหตุที่เคยเบื่อหน่ายในอดีต
สาเหตุที่เบื่อหน่าย จำนวน ร้อยละ
1. เวลาทำงานไม่ตรงกับคนอื่น 67 9.8
2. คนอื่นไม่ให้เกียรติตามสมควร 125 18.4
3. รายได้ไม่เพียงพอ 71 10.4
4. ต้องรับผิดชอบงาน 204 30
5. ต้องอยู่ห่างบ้านเป็นเวลานาน 90 13.2
6. อื่น ๆ 124 18.2
รวม 681 100.0
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่
ประเภทความเสี่ยง จำนวน ร้อยละ
1. เสี่ยงต่อชีวิต 265 27.5
2 เสี่ยงต่อการต้องชดใช้ค่าเสียหาย 438 45.5
3. เสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย 21 2.2
4. เสี่ยงต่อการถูกไล่ออกจากงาน 94 9.8
5. อื่น ๆ 145 15.1
รวม 963 100.0
ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามสิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดในการเข้าสู่อาชีพ รปภ.
สิ่งจูงใจ จำนวน ร้อยละ
1. เครื่องแบบสวย 24 2.7
2. มีอำนาจสั่งหรือบังคับผู้ได้ 50 5.7
3. สามารถเลือกเวลาทำงานได้ 152 17.2
4. รายได้ค่อนข้างดี 350 39.7
5. การศึกษาต่ำ 15 1.7
6. ต้องรับผิดชอบครอบครัว 10 1.1
7. มีความจำเป็น 17 1.9
8. เคยมีประสบการณ์มาก่อน 3 0.3
9. สมัครง่าย 7 0.8
10. งานเป็นระบบ 2 0.2
11. งานสบาย 6 0.7
12. หางานทำไม่ได้ 165 18.7
13. จำได้มีประสบการณ์ 14 1.6
14. จะได้มีรายได้ 13 1.5
15. เจ้านายดี 1 0.1
16. ใจรักชอบงานนี้ 26 2.9
17. เป็นงานบริการได้ช่วยเหลือสังคม 8 0.9
18. มีสวีสดิการ 6 0.7
19. เป็นงานราชการ 2 0.2
20. เป็นงานสุจริต 9 1.0
21. เป็นอาชีพเสริม 2 0.2
รวม 882 100.0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
อาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ต้องการความ
สะดวกสบายและความปลอดภัย จึงอาศัยบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ดูแลความปลอดภัยอาคารและทรัพย์สิน บริการจราจร การเข้า-
ออกบริเวณและอาคาร ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ และในปัจจุบันอาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีคนไทยจำนวนไม่น้อยได้เข้าสู่อาชีพนี้
และดำรงชีวิตด้วยเงินรายได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมี รปภ. จำนวนมากที่ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบ
ครัว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของอาชีพดังกล่าวถึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อนำเสนอ
ชีวิตของ รปภ. ที่แท้จริงให้สังคมรับรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ รปภ. มากขึ้น อีกทั้งเป็นแนวทางของการส่งเสริมให้คนทั่วไปที่ยังว่างงานได้เข้าสู่
อาชีพนี้ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นและวิถีการดำเนินชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนตัวอย่างที่เลือกมาศึกษาใช้วิธีการสุ่มโดยจำแนกตามอายุ สถานภาพ
สมรส และระดับการศึกษา จำนวน 994 ตัวอย่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2545
ผลการสำรวจ
- จากการสำรวจพบว่า รปภ. ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี (ร้อยละ 36.8) สมรสแล้ว (ร้อยละ
54.9) และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / ปวช. (ร้อยละ 49.3) โดยส่วนใหญ่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในอาคาร (ร้อยละ 36.3) และทำหน้าที่
เป็นยามประตูเข้า-ออกอาคาร และหน่วยงาน (ร้อยละ 25.4)
- อาชีพที่ทำก่อนที่จะมาเป็น รปภ. ส่วนใหญ่ทำงานเป็นลูกจ้างเอกชน (ร้อยละ 34) โดยส่วนใหญ่เพื่อน (ร้อยละ 43.2) และญาติ
(ร้อยละ 27.7) เป็นผู้แนะนำ โดยให้เหตุผลว่าอาชีพนี้มีรายได้ดี มั่นคง และเป็นงานสุจริต (ร้อยละ 75.26) ส่วนรายได้ที่ได้รับต่อเดือน พบว่า ส่วน
ใหญ่รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต (ร้อยละ 66.3) และที่ไม่เพียงพอมีเพียงร้อยละ 33.7เท่านั้น
- หากให้ รปภ. ตัดสินใจว่าจะทำอาชีพนี้ต่อไปอีกหรือไม่ถ้ามีงานอื่นที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน รปภ. ส่วนใหญ่ตอบว่ายังสนใจที่จะทำอาชีพ
รปภ. ต่อไป (ร้อยละ 54.1) โดยให้เหตุผลว่ามีรายได้และมีความมั่นคง และที่คิดว่าจะไปทำอาชีพอื่นมีน้อยกว่า (ร้อยละ 45.9) นอกจากนี้ยังพบว่า
รปภ. ส่วนใหญ่จะแนะนำญาติ / พี่น้อง ที่กำลังหางานทำเข้ามาสู่อาชีพนี้ (ร้อยละ 51.4) ในขณะที่ไม่แนะนำมีน้อยกว่า (ร้อยละ 48.6)
- รปภ. ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าในอดีตเมื่อครั้งทำอาชีพ รปภ. ใหม่ ๆ เคยเบื่อหน่ายต่ออาชีพนี้ (ร้อยละ 70.3) โดยให้เหตุผลว่าต้อง
รับผิดชอบต่อหน้าที่สูง (ร้อยละ 30) และไม่ได้รับเกียรติจากคนอื่น (ร้อยละ 18.4) ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่เห็นว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้เพียงพอและมี
ความมั่นคง
- สิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อยู่ในอาชีพ รปภ. คือ รายได้ที่เพียงพอ (ร้อยละ 35.4) ในขณะที่เห็นว่า มีอำนาจและเครื่องแบบที่สวย
งามเป็นสิ่งจูงใจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ7.5)
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามอาชีพก่อนเป็น รปภ.
อาชีพ จำนวน ร้อยละ
1. รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 73 7.4
2. ลูกจ้างเอกชน 337 34.0
3. แม่บ้าน 14 3.4
4. ทำงานส่วนตัว 131 13.2
5. ช่วยธุรกิจครอบครัว 47 4.7
6. นักศึกษา 20 2.0
7. ไม่เคยทำอาชีพใดมาก่อน 97 9.7
8. อาชีพอื่น ๆ 272 27.4
รวม 991 100.0
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามผู้ชักนำเข้าสู่อาชีพ
ผู้ชักนำ จำนวน ร้อยละ
1. เพื่อน 429 43.2
2. ญาติ 275 27.7
3. พ่อ-แม่ 10 1.0
4. อื่น ๆ คือ มาสมัครด้วยตนเอง 279 28.1
รวม 993 100.0
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความเพียงพอของรายได้
ความเพียงพอ จำนวน ร้อยละ
1. เพียงพอ 656 66.3
2. ไม่เพียงพอ 334 33.7
รวม 990 100.0
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามการเลือกอาชีพอื่นหากมีรายได้ใกล้เคียงกับอาชีพ รปภ.
การตัดสินใจ จำนวน ร้อยละ
1. ทำ 532 54.1
2. ไม่ทำ 452 54.9
รวม 984 100.0
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามการแนะนำญาติ / พี่น้อง ในกรณีที่กำลัง หางานทำ
การแนะนำ จำนวน ร้อยละ
1. แนะนำ 508 51.4
2. ไม่แนะนำ 481 48.6
รวม 989 100.0
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความรู้สึกในอดีตเมื่อครั้งทำงานใหม่ ๆ
ความรู้ในอดีต จำนวน ร้อยละ
1. ไม่เคยเบื่อหน่าย 295 29.7
2. เคยเบื่อหน่าย 699 70.3
รวม 994 100.0
ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามสาเหตุที่เคยเบื่อหน่ายในอดีต
สาเหตุที่เบื่อหน่าย จำนวน ร้อยละ
1. เวลาทำงานไม่ตรงกับคนอื่น 67 9.8
2. คนอื่นไม่ให้เกียรติตามสมควร 125 18.4
3. รายได้ไม่เพียงพอ 71 10.4
4. ต้องรับผิดชอบงาน 204 30
5. ต้องอยู่ห่างบ้านเป็นเวลานาน 90 13.2
6. อื่น ๆ 124 18.2
รวม 681 100.0
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่
ประเภทความเสี่ยง จำนวน ร้อยละ
1. เสี่ยงต่อชีวิต 265 27.5
2 เสี่ยงต่อการต้องชดใช้ค่าเสียหาย 438 45.5
3. เสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย 21 2.2
4. เสี่ยงต่อการถูกไล่ออกจากงาน 94 9.8
5. อื่น ๆ 145 15.1
รวม 963 100.0
ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของ รปภ. จำแนกตามสิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดในการเข้าสู่อาชีพ รปภ.
สิ่งจูงใจ จำนวน ร้อยละ
1. เครื่องแบบสวย 24 2.7
2. มีอำนาจสั่งหรือบังคับผู้ได้ 50 5.7
3. สามารถเลือกเวลาทำงานได้ 152 17.2
4. รายได้ค่อนข้างดี 350 39.7
5. การศึกษาต่ำ 15 1.7
6. ต้องรับผิดชอบครอบครัว 10 1.1
7. มีความจำเป็น 17 1.9
8. เคยมีประสบการณ์มาก่อน 3 0.3
9. สมัครง่าย 7 0.8
10. งานเป็นระบบ 2 0.2
11. งานสบาย 6 0.7
12. หางานทำไม่ได้ 165 18.7
13. จำได้มีประสบการณ์ 14 1.6
14. จะได้มีรายได้ 13 1.5
15. เจ้านายดี 1 0.1
16. ใจรักชอบงานนี้ 26 2.9
17. เป็นงานบริการได้ช่วยเหลือสังคม 8 0.9
18. มีสวีสดิการ 6 0.7
19. เป็นงานราชการ 2 0.2
20. เป็นงานสุจริต 9 1.0
21. เป็นอาชีพเสริม 2 0.2
รวม 882 100.0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-