คนกรุงเทพฯ ชื่นชอบคุณหญิงพรทิพย์และอยากให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสูงสุด และปัจจัยสำคัญที่ใช้เลือก สว. คือความซื่อสัตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
(สว.) ชุดใหม่ โดยสอบถามประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,406 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา อายุและเพศซึ่งผลการสำรวจสรุปได้
ดังนี้
ลำดับที่ ชื่อ ร้อยละ
1 คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 11.9
2 นายพิจิตต รัตตกุล 8.3
3 นายสมัคร สุนทรเวช 8.2
4 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 7.5
5 นายกล้าณรงค์ จันทิก 6.7
6 นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 5.4
7 ร.ต.อ. ดร.เฉลิม อยู่บำรุง 5.1
8 นายปลอดประสพ สุรัสวดี 5
9 นางกรรณิกา ธรรมเกษร 4.8
10 ร.ต.ต. เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 4.5
11 นายวิจิตร เกตุแก้ว 3
12 พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ 2.3
12 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ 2.3
14 นายดุสิต สิริวรรณ 1.5
15 นายปรีชา สุวรรณทัต 1.3
15 นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี 1.3
เมื่อพิจารณารายชื่อของผู้เปิดตัวและคาดว่าจะสมัครเลือกตั้งวุฒิสภาที่รวบรวมได้จำนวน 55 คน เรียง-ตามลำดับอักษร คนกรุงเทพฯ คิด
ว่าบุคคลที่ควรจะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 15 อันดับแรก มีดังต่อไปนี้
คุณสมบัติสำคัญที่นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสมาชิกวุฒิสภาในครั้งนี้นั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ ร้อยละ 42.7 ดูจากความซื่อสัตย์ ร้อยละ
22.1 มีประวัติการทำงานไม่ด่างพร้อย ร้อยละ 12.1 มีความอิสระจากพรรคการเมือง ร้อยละ 7.9 มีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก่อน ร้อย
ละ 7.3 มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ร้อยละ 2.5 สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย ร้อยละ 1.6 มีบุคลิกดี
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีถ้ามีผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาประกาศตนอย่างชัดเจนหรือประพฤติเป็นนัยๆ ว่าสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการ
เมืองหนึ่งนั้น ร้อยละ 63.7 จะไม่เลือกผู้นั้น ร้อยละ 18.5 เลือก และร้อยละ 17.8 ไม่แน่ใจ
กรณีถ้าบุตรหรือคู่สมรสของสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีตหรือปัจจุบันที่ตนเองชื่นชอบ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สว. ใน
ครั้งนี้ ร้อยละ 53.0 ไม่แน่ใจว่าจะเลือกหรือไม่ ร้อยละ 27.7 ไม่เลือก และร้อยละ 19.3 เลือก
ส่วนการโฆษณาหาเสียงของ สว. ควรจะทำได้เหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือไม่นั้น ร้อยละ 52.6 เห็นว่าสมควรให้หา
เสียงได้ แต่ก็มีถึงร้อยละ 47.4 ที่เห็นว่าไม่สมควร
เมื่อถามถึงการได้มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น ร้อยละ 61.4 คิดว่าการเลือกตั้ง สว. จะเหมาะสมกว่าการแต่งตั้ง ร้อยละ 26.5 ไม่แน่ใจ
และร้อยละ 12.1 คิดว่าการแต่งตั้งเหมาะสมกว่า
ผลงานหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สว. ชุดปัจจุบันซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนานั้น ร้อยละ 38.2 ไม่ต้องการให้มีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่าของ
สว. ตามสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 21.2 ไม่พอใจเรื่องการเสนอราย-ชื่อประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ร้อยละ 19.2 ไม่พอ
ใจการแย่งชิงตำแหน่งประธาน สว. ร้อยละ 16.4 ไม่พอใจการชกต่อยในสภา และร้อยละ 5.0 ไม่พอใจทุกข้อที่กล่าวมา
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งใหม่นั้น พบว่า มีเพียงร้อยละ 17.1 เท่านั้นที่ตอบว่าทราบว่ามีการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2549 นี้
ในขณะที่ร้อยละ 82.9 ไม่ทราบ
เหตุการณ์/ผลงานที่ไม่พึงปรารถนาของคนกรุงเทพฯ
เหตุการณ์ / ผลงานที่ไม่พึงปรารถนา ร้อยละ
1) การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าของ สว. ตามสังกัดพรรคการเมือง 38.2
2) การเสนอรายชื่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 21.2
3) การแย่งชิงตำแหน่งประธาน สว. 19.2
4) การชกต่อยในสภา 16.4
5) ทุกข้อ 5
ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเลือกผู้สมัคร สว.
เหตุการณ์ / ผลงานที่ไม่พึงปรารถนา ร้อยละ
1) มีความซื่อสัตย์ 42.7
2) มีประวัติการทำงานไม่ด่างพร้อย 22.1
3) มีความอิสระจากพรรคการเมือง 12.1
4) มีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก่อน 7.9
5) มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม 7.3
6) มีการศึกษาสูง 3.8
7) สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย 2.5
8) มีบุคลิกดี 1.6
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
(สว.) ชุดใหม่ โดยสอบถามประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,406 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา อายุและเพศซึ่งผลการสำรวจสรุปได้
ดังนี้
ลำดับที่ ชื่อ ร้อยละ
1 คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 11.9
2 นายพิจิตต รัตตกุล 8.3
3 นายสมัคร สุนทรเวช 8.2
4 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 7.5
5 นายกล้าณรงค์ จันทิก 6.7
6 นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 5.4
7 ร.ต.อ. ดร.เฉลิม อยู่บำรุง 5.1
8 นายปลอดประสพ สุรัสวดี 5
9 นางกรรณิกา ธรรมเกษร 4.8
10 ร.ต.ต. เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 4.5
11 นายวิจิตร เกตุแก้ว 3
12 พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ 2.3
12 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ 2.3
14 นายดุสิต สิริวรรณ 1.5
15 นายปรีชา สุวรรณทัต 1.3
15 นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี 1.3
เมื่อพิจารณารายชื่อของผู้เปิดตัวและคาดว่าจะสมัครเลือกตั้งวุฒิสภาที่รวบรวมได้จำนวน 55 คน เรียง-ตามลำดับอักษร คนกรุงเทพฯ คิด
ว่าบุคคลที่ควรจะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 15 อันดับแรก มีดังต่อไปนี้
คุณสมบัติสำคัญที่นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสมาชิกวุฒิสภาในครั้งนี้นั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ ร้อยละ 42.7 ดูจากความซื่อสัตย์ ร้อยละ
22.1 มีประวัติการทำงานไม่ด่างพร้อย ร้อยละ 12.1 มีความอิสระจากพรรคการเมือง ร้อยละ 7.9 มีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก่อน ร้อย
ละ 7.3 มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ร้อยละ 2.5 สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย ร้อยละ 1.6 มีบุคลิกดี
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีถ้ามีผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาประกาศตนอย่างชัดเจนหรือประพฤติเป็นนัยๆ ว่าสังกัดพรรคการเมืองใดพรรคการ
เมืองหนึ่งนั้น ร้อยละ 63.7 จะไม่เลือกผู้นั้น ร้อยละ 18.5 เลือก และร้อยละ 17.8 ไม่แน่ใจ
กรณีถ้าบุตรหรือคู่สมรสของสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีตหรือปัจจุบันที่ตนเองชื่นชอบ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สว. ใน
ครั้งนี้ ร้อยละ 53.0 ไม่แน่ใจว่าจะเลือกหรือไม่ ร้อยละ 27.7 ไม่เลือก และร้อยละ 19.3 เลือก
ส่วนการโฆษณาหาเสียงของ สว. ควรจะทำได้เหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือไม่นั้น ร้อยละ 52.6 เห็นว่าสมควรให้หา
เสียงได้ แต่ก็มีถึงร้อยละ 47.4 ที่เห็นว่าไม่สมควร
เมื่อถามถึงการได้มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น ร้อยละ 61.4 คิดว่าการเลือกตั้ง สว. จะเหมาะสมกว่าการแต่งตั้ง ร้อยละ 26.5 ไม่แน่ใจ
และร้อยละ 12.1 คิดว่าการแต่งตั้งเหมาะสมกว่า
ผลงานหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สว. ชุดปัจจุบันซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนานั้น ร้อยละ 38.2 ไม่ต้องการให้มีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่าของ
สว. ตามสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 21.2 ไม่พอใจเรื่องการเสนอราย-ชื่อประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ร้อยละ 19.2 ไม่พอ
ใจการแย่งชิงตำแหน่งประธาน สว. ร้อยละ 16.4 ไม่พอใจการชกต่อยในสภา และร้อยละ 5.0 ไม่พอใจทุกข้อที่กล่าวมา
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งใหม่นั้น พบว่า มีเพียงร้อยละ 17.1 เท่านั้นที่ตอบว่าทราบว่ามีการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2549 นี้
ในขณะที่ร้อยละ 82.9 ไม่ทราบ
เหตุการณ์/ผลงานที่ไม่พึงปรารถนาของคนกรุงเทพฯ
เหตุการณ์ / ผลงานที่ไม่พึงปรารถนา ร้อยละ
1) การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าของ สว. ตามสังกัดพรรคการเมือง 38.2
2) การเสนอรายชื่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 21.2
3) การแย่งชิงตำแหน่งประธาน สว. 19.2
4) การชกต่อยในสภา 16.4
5) ทุกข้อ 5
ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเลือกผู้สมัคร สว.
เหตุการณ์ / ผลงานที่ไม่พึงปรารถนา ร้อยละ
1) มีความซื่อสัตย์ 42.7
2) มีประวัติการทำงานไม่ด่างพร้อย 22.1
3) มีความอิสระจากพรรคการเมือง 12.1
4) มีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก่อน 7.9
5) มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม 7.3
6) มีการศึกษาสูง 3.8
7) สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย 2.5
8) มีบุคลิกดี 1.6
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-