ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ไม่เคยรับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนประกันสังคมและกว่าครึ่งของผู้ประกันตนที่จบ ป.ตรี อยากจะให้กองทุน
เป็นองค์กรมหาชน
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกันสังคม ในหัวข้อ “คิดอย่างไรต่อกองทุน
ประกันสังคม” โดยสอบถามจากผู้ประกันตน จำนวน 954 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา อายุและเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9
และ 10 มิถุนายน 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ผู้ประกันตน ร้อยละ 62.4 คิดว่าในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการล้วงลูกหรือแทรกแซงการบริหารของกองทุนเพื่อประโยชน์ตนเอง
โดยนักการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 37.6 คิดว่าไม่มี และนอกจากนั้น ร้อยละ 42.5 ไม่แน่ใจว่าได้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมไปใน
โครงการที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 30.8 คิดว่ามี และร้อยละ 26.7 คิดว่าไม่มี
2. สำหรับเงินกองทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท ควรจะมีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไรดีนั้น ร้อยละ 55.4 มีความเห็นว่าคงเป็น
ไปตามที่กฎหมายกำหนด คือเป็นคณะกรรมการประกันสังคมซึ่งมาจากส่วนราชการและตัวแทนภาคเอกชนที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง และร้อยละ 44.6 เห็น
ว่าควรเปลี่ยนเป็นองค์กรมหาชน แต่สำหรับประเด็นนี้พบว่าผู้ประกันที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และผู้ส่งเงินสมทบรายเดือน 500 บาทขึ้นไป
ต้องการให้มีรูปแบบการบริหารเป็นองค์กรมหาชนมากกว่าบริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคม ในขณะที่ผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและส่งเงินสมทบ
รายเดือนต่ำกว่า 500 บาท ยังคงให้การบริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคมตามรูปแบบเดิม
3. เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพซึ่งจะเริ่มจ่ายในปี 2556 นั้น ผู้ประกันตนร้อยละ 52.3 คิดว่ากองทุนมีเงินพอจ่าย และ
ร้อยละ 47.7 คิดว่าต่อไปคงจะมีปัญหา
4. ส่วนการรับทราบผลการดำเนินงาน ตลอดจนงบการเงิน ผลตอบแทนที่กองทุนได้รับนั้นพบว่า ร้อยละ 89.3 ไม่เคยรับทราบหรือ
อ่านผลการดำเนินงานของกองทุนเลย โดยมีเหตุผลคือไม่รู้ว่าจะอ่านจากที่ใด (ร้อยละ 55.6) มีความเชื่อถือ ไว้ใจต่อสำนักงานกองทุน (ร้อย
ละ 22.1) ตนเองไม่สนใจ (ร้อยละ 21.2) และอื่นๆ (ร้อยละ 1.2) ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ได้รับทราบหรืออ่าน โดยส่วนใหญ่
ทราบจากป้ายประกาศภายในของบริษัท หนังสือวารสารประกันสังคมและอินเตอร์เน็ต
5. นอกจากนี้ผู้ประกันตนได้เสนอความเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของกองทุน โดยส่วนใหญ่ต้องการให้สำนักงานกองทุนแจ้งข่าว
สารประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง ดูแลควบคุมการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่าย
ในการคลอดบุตรควรจะให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายโดยตรงกับโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกของผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาไปเบิกที่สำนักงานฯ ที
หลังและอาจจะมีบางรายไม่มีเงินจ่ายในขณะนั้น
ร้อยละของผู้ประกันตนจำแนกตามระดับการศึกษาและการส่งเงินสมทบ
ที่มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารกองทุนประกันสังคม
คุณสมบัติผู้ประกันตน คณะกรรมการมาจากส่วนราชการและตัวแทนเอกชน องค์กรมหาชน
แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี (รูปแบบปัจจุบัน)
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 73 27
มัธยมศึกษา / ปวช. 67.8 32.2
อนุปริญญา / ปวส. 61 39
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 49.2 50.8
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 54.9 45.1
251 — 500 61.1 38.9
501 — 700 48.5 51.5
701 - 750 47.8 52.2
ภาพรวม 55.4 44.6
ร้อยละของผู้ประกันตนจำแนกตามระดับการศึกษาและเงินสมทบ
ที่มีความเห็นว่ามีการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมไปในโครงการต่างๆ ที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่
คุณสมบัติผู้ประกันตน คิดว่ามี คิดว่าไม่มี ไม่แน่ใจ
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 21.1 36.8 42.1
มัธยมศึกษา / ปวช. 19.9 29.8 50.3
อนุปริญญา / ปวส. 34.9 25.9 39.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 33.5 25 41.5
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 33.7 29.4 36.9
251 — 500 23.2 28.6 48.2
501 — 700 33.1 30.1 36.8
701 - 750 43.5 16.8 39.7
ภาพรวม 30.8 26.7 42.5
ร้อยละของผู้ประกันจำแนกตามระดับการศึกษาและเงินสมทบ ที่มีความเห็นว่ามีการล้วงลูก
หรือแทรกแซงการบริหารกองทุนจากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
คุณสมบัติผู้ประกันตน มีแน่นอน คิดว่ามี คิดว่าไม่มี ไม่มีแน่นอน
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 10.5 26.3 50 13.2
มัธยมศึกษา / ปวช. 14.3 39.9 35.1 10.7
อนุปริญญา / ปวส. 25.8 39.6 26.4 8.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 24.9 41 26.9 7.2
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 26.9 34.9 32.3 5.9
251 — 500 17.3 40.4 29.9 12.4
501 — 700 23.7 43 28.1 5.2
701 - 750 29.3 41.3 26.1 3.3
ภาพรวม 22.6 39.8 29.4 8.2
ร้อยละของผู้ประกันตนที่ได้ใช้สิทธิรับผลประโยชน์แล้ว มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านต่างๆ
รายการ ความสะดวก ความรวดเร็ว การให้บริการ
มาก ปานกลาง น้อย มาก ปานกลาง น้อย มาก ปานกลาง น้อย
1. การติดต่อสำนักงานกองทุนประกันสังคม 13 64 23 6.6 64.2 29.2 12.1 61.5 26.4
2. การรับการรักษาจากโรงพยาบาลของผู้ประกันตน 17.5 57 25.5 13.8 52.3 33.9 13.5 55.4 31.1
3. การรับเงินทดแทนไม่ว่ากรณีใด ๆ 7 52.4 40.6 5 58.7 36.3 6.8 55.9 37.3
4. การได้รับข่าวสารจากสำนักงานกองทุนประกันสังคม 6 36.2 57.8 5.5 38 56.5 6.5 37.5 56
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
เป็นองค์กรมหาชน
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกันสังคม ในหัวข้อ “คิดอย่างไรต่อกองทุน
ประกันสังคม” โดยสอบถามจากผู้ประกันตน จำนวน 954 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา อายุและเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9
และ 10 มิถุนายน 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ผู้ประกันตน ร้อยละ 62.4 คิดว่าในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการล้วงลูกหรือแทรกแซงการบริหารของกองทุนเพื่อประโยชน์ตนเอง
โดยนักการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 37.6 คิดว่าไม่มี และนอกจากนั้น ร้อยละ 42.5 ไม่แน่ใจว่าได้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมไปใน
โครงการที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 30.8 คิดว่ามี และร้อยละ 26.7 คิดว่าไม่มี
2. สำหรับเงินกองทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท ควรจะมีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไรดีนั้น ร้อยละ 55.4 มีความเห็นว่าคงเป็น
ไปตามที่กฎหมายกำหนด คือเป็นคณะกรรมการประกันสังคมซึ่งมาจากส่วนราชการและตัวแทนภาคเอกชนที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง และร้อยละ 44.6 เห็น
ว่าควรเปลี่ยนเป็นองค์กรมหาชน แต่สำหรับประเด็นนี้พบว่าผู้ประกันที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และผู้ส่งเงินสมทบรายเดือน 500 บาทขึ้นไป
ต้องการให้มีรูปแบบการบริหารเป็นองค์กรมหาชนมากกว่าบริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคม ในขณะที่ผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและส่งเงินสมทบ
รายเดือนต่ำกว่า 500 บาท ยังคงให้การบริหารโดยคณะกรรมการประกันสังคมตามรูปแบบเดิม
3. เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพซึ่งจะเริ่มจ่ายในปี 2556 นั้น ผู้ประกันตนร้อยละ 52.3 คิดว่ากองทุนมีเงินพอจ่าย และ
ร้อยละ 47.7 คิดว่าต่อไปคงจะมีปัญหา
4. ส่วนการรับทราบผลการดำเนินงาน ตลอดจนงบการเงิน ผลตอบแทนที่กองทุนได้รับนั้นพบว่า ร้อยละ 89.3 ไม่เคยรับทราบหรือ
อ่านผลการดำเนินงานของกองทุนเลย โดยมีเหตุผลคือไม่รู้ว่าจะอ่านจากที่ใด (ร้อยละ 55.6) มีความเชื่อถือ ไว้ใจต่อสำนักงานกองทุน (ร้อย
ละ 22.1) ตนเองไม่สนใจ (ร้อยละ 21.2) และอื่นๆ (ร้อยละ 1.2) ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ได้รับทราบหรืออ่าน โดยส่วนใหญ่
ทราบจากป้ายประกาศภายในของบริษัท หนังสือวารสารประกันสังคมและอินเตอร์เน็ต
5. นอกจากนี้ผู้ประกันตนได้เสนอความเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของกองทุน โดยส่วนใหญ่ต้องการให้สำนักงานกองทุนแจ้งข่าว
สารประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง ดูแลควบคุมการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่าย
ในการคลอดบุตรควรจะให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายโดยตรงกับโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกของผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาไปเบิกที่สำนักงานฯ ที
หลังและอาจจะมีบางรายไม่มีเงินจ่ายในขณะนั้น
ร้อยละของผู้ประกันตนจำแนกตามระดับการศึกษาและการส่งเงินสมทบ
ที่มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารกองทุนประกันสังคม
คุณสมบัติผู้ประกันตน คณะกรรมการมาจากส่วนราชการและตัวแทนเอกชน องค์กรมหาชน
แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี (รูปแบบปัจจุบัน)
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 73 27
มัธยมศึกษา / ปวช. 67.8 32.2
อนุปริญญา / ปวส. 61 39
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 49.2 50.8
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 54.9 45.1
251 — 500 61.1 38.9
501 — 700 48.5 51.5
701 - 750 47.8 52.2
ภาพรวม 55.4 44.6
ร้อยละของผู้ประกันตนจำแนกตามระดับการศึกษาและเงินสมทบ
ที่มีความเห็นว่ามีการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมไปในโครงการต่างๆ ที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่
คุณสมบัติผู้ประกันตน คิดว่ามี คิดว่าไม่มี ไม่แน่ใจ
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 21.1 36.8 42.1
มัธยมศึกษา / ปวช. 19.9 29.8 50.3
อนุปริญญา / ปวส. 34.9 25.9 39.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 33.5 25 41.5
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 33.7 29.4 36.9
251 — 500 23.2 28.6 48.2
501 — 700 33.1 30.1 36.8
701 - 750 43.5 16.8 39.7
ภาพรวม 30.8 26.7 42.5
ร้อยละของผู้ประกันจำแนกตามระดับการศึกษาและเงินสมทบ ที่มีความเห็นว่ามีการล้วงลูก
หรือแทรกแซงการบริหารกองทุนจากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
คุณสมบัติผู้ประกันตน มีแน่นอน คิดว่ามี คิดว่าไม่มี ไม่มีแน่นอน
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 10.5 26.3 50 13.2
มัธยมศึกษา / ปวช. 14.3 39.9 35.1 10.7
อนุปริญญา / ปวส. 25.8 39.6 26.4 8.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 24.9 41 26.9 7.2
เงินสมทบ (บาท)
ไม่เกิน 250 26.9 34.9 32.3 5.9
251 — 500 17.3 40.4 29.9 12.4
501 — 700 23.7 43 28.1 5.2
701 - 750 29.3 41.3 26.1 3.3
ภาพรวม 22.6 39.8 29.4 8.2
ร้อยละของผู้ประกันตนที่ได้ใช้สิทธิรับผลประโยชน์แล้ว มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านต่างๆ
รายการ ความสะดวก ความรวดเร็ว การให้บริการ
มาก ปานกลาง น้อย มาก ปานกลาง น้อย มาก ปานกลาง น้อย
1. การติดต่อสำนักงานกองทุนประกันสังคม 13 64 23 6.6 64.2 29.2 12.1 61.5 26.4
2. การรับการรักษาจากโรงพยาบาลของผู้ประกันตน 17.5 57 25.5 13.8 52.3 33.9 13.5 55.4 31.1
3. การรับเงินทดแทนไม่ว่ากรณีใด ๆ 7 52.4 40.6 5 58.7 36.3 6.8 55.9 37.3
4. การได้รับข่าวสารจากสำนักงานกองทุนประกันสังคม 6 36.2 57.8 5.5 38 56.5 6.5 37.5 56
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-