ในปีที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯเกือบครึ่งคิดว่าตนเองมีความสุขอยู่ในระดับค่อนข้างมากและมากและร้อยละ 63 คิดว่าในปีหน้าจะมีความสุขมากกว่าปีนี้
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความมั่นคงของชีวิต ความอบอุ่นในครอบครัว ความเอื้ออาทรที่มีต่อสังคม การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ความมีอิสรภาพในการคิดและตัดสินใจ ความภาคภูมิใจในตัวเอง การมีคุณธรรม และการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีในเรื่องต่างๆ รวม 37 เรื่อง ซึ่งสะท้อนต่อความสุขของตนเองในปีที่ผ่านและความสุขที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้าจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1677 คน ในทุกเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส พบว่า
1. ในการประเมินความสุขของตนเอง ชาวกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ความภาคภูมิใจในตัวเอง การมีคุณธรรม ความมีอิสรภาพในการคิดและตัดสินใจ ความอบอุ่นในครอบครัว ความเอื้ออาทรที่มีต่อเพื่อนและสังคม และความมั่นคงของชีวิต
2. ชาวกรุงเทพฯ โดยรวมมีความสุขในระดับค่อนข้างมากในปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มีร้อยละ 11 ที่มีความสุขในระดับมาก และร้อยละ 32 มีความสุขในระดับค่อนข้างมาก สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีความสุขในระดับปานกลางมีร้อยละ 50 และที่มีความสุขในระดับค่อนข้างน้อย และน้อยมีเพียงร้อยละ 6.19 และ 0.82 ตามลำดับ ส่วนชาวกรุงเทพฯ ไม่มีความสุขเลยในปีที่ผ่านมามีจำนวนน้อยมาก คือ 0.32 คน หรือ 32 คนในหมื่นคนเท่านั้น
3. ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 62.9 คิดว่าจะมีความสุขในปีหน้ามากกว่าปีที่ผ่านมา ที่คิดว่าจะมีความสุขเท่ากับปีที่ผ่านมามี ร้อยละ 29.1 และที่คิดว่าจะมีความสุขน้อยกว่าปี 2549 มีเพียงร้อยละ 8
4. ในปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ เพศชายมีความสุขมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความสุขมากที่สุด และเด็กอายุ 13 — 19 ปี มีความสุขน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ ชาวกรุงเทพฯ ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความสุขมากที่สุดและน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระดับการศึกษาอื่นๆ ชาวกรุงเทพฯ ที่เป็นโสดมีความสุขน้อยกว่าที่สมรสแล้ว ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและประกอบอาชีพส่วนตัว/อิสระ มีความสุขมากกว่าลูกจ้างเอกชนและนักเรียน/นักศึกษา
5. ชาวกรุงเทพฯ ที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์มีความสุขอยู่ในระดับมาก
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความมั่นคงของชีวิต ความอบอุ่นในครอบครัว ความเอื้ออาทรที่มีต่อสังคม การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ความมีอิสรภาพในการคิดและตัดสินใจ ความภาคภูมิใจในตัวเอง การมีคุณธรรม และการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีในเรื่องต่างๆ รวม 37 เรื่อง ซึ่งสะท้อนต่อความสุขของตนเองในปีที่ผ่านและความสุขที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้าจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1677 คน ในทุกเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส พบว่า
1. ในการประเมินความสุขของตนเอง ชาวกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ความภาคภูมิใจในตัวเอง การมีคุณธรรม ความมีอิสรภาพในการคิดและตัดสินใจ ความอบอุ่นในครอบครัว ความเอื้ออาทรที่มีต่อเพื่อนและสังคม และความมั่นคงของชีวิต
2. ชาวกรุงเทพฯ โดยรวมมีความสุขในระดับค่อนข้างมากในปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มีร้อยละ 11 ที่มีความสุขในระดับมาก และร้อยละ 32 มีความสุขในระดับค่อนข้างมาก สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีความสุขในระดับปานกลางมีร้อยละ 50 และที่มีความสุขในระดับค่อนข้างน้อย และน้อยมีเพียงร้อยละ 6.19 และ 0.82 ตามลำดับ ส่วนชาวกรุงเทพฯ ไม่มีความสุขเลยในปีที่ผ่านมามีจำนวนน้อยมาก คือ 0.32 คน หรือ 32 คนในหมื่นคนเท่านั้น
3. ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 62.9 คิดว่าจะมีความสุขในปีหน้ามากกว่าปีที่ผ่านมา ที่คิดว่าจะมีความสุขเท่ากับปีที่ผ่านมามี ร้อยละ 29.1 และที่คิดว่าจะมีความสุขน้อยกว่าปี 2549 มีเพียงร้อยละ 8
4. ในปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ เพศชายมีความสุขมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความสุขมากที่สุด และเด็กอายุ 13 — 19 ปี มีความสุขน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ ชาวกรุงเทพฯ ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความสุขมากที่สุดและน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระดับการศึกษาอื่นๆ ชาวกรุงเทพฯ ที่เป็นโสดมีความสุขน้อยกว่าที่สมรสแล้ว ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและประกอบอาชีพส่วนตัว/อิสระ มีความสุขมากกว่าลูกจ้างเอกชนและนักเรียน/นักศึกษา
5. ชาวกรุงเทพฯ ที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์มีความสุขอยู่ในระดับมาก
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-