ศูนย์วิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ต่อการ
ปรับขึ้นค่าตอบแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ภายใต้โครงการ “ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” ระหว่างวันที่ 6-8
สิงหาคม 2545 โดยเลือกตัวอย่างจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีวุฒิการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 942 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า มีผู้ไม่เห็นด้วยถึงร้อยละ 80 กับการปรับขึ้นค่าตอบแทนรายเดือนของ ส.ส. และ ส.ว. ยิ่งกว่านั้นร้อยละ 6
ยังเห็นควรปรับลดเสียด้วยซ้ำ ส่วนร้อยละ 14 เห็นด้วยกับการปรับขึ้น
ขณะเดียวกัน ร้อยละ 70 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้มีบำเหน็จบำนาญสำหรับ ส.ส. และ ส.ว.
เหตุผลของชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวคือ ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญผล
งานของทั้งสองสภา ยังไม่เป็นที่พอใจของประชาชน (ร้อยละ 67 มีความเห็นว่าผลงานของ ส.ส. ไม่น่าพอใจ และ ร้อยละ 63 พบว่า ผลงานของ
ส.ว. ในชุดปัจจุบันไม่เป็นที่พอใจ)
ในส่วนของความคิดเห็นที่มีต่อเหตุผลซึ่งทาง ส.ส. และ ส.ว. ส่วนใหญ่หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงเพื่อร้องหาความชอบธรรมในการขอปรับขึ้น
ค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาระภาษีสังคมหรือเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76 เห็นว่าเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุผลที่ฟัง
ไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะทั้ง ส.ส. และ ส.ว. รับอาสาที่จะเข้ามารับใช้ประเทศชาติและประชาชนเองโดยมิได้มีใครร้องขอ ไม่ต้องทำงานเต็มเวลา
สามารถทำงานอื่นๆ ได้ด้วย มีสิทธิประโยชน์อื่นๆ มากอยู่แล้ว ฯลฯ
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาผลการสำรวจจะพบว่า ชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่พอใจในผลงานของ ส.ว. ชุดปัจจุบัน มากกว่าผลงานของ ส.
ส. ชุดปัจจุบัน โดยที่ร้อยละ 22 พอใจในผลงานของ ส.ว. ในขณะที่มีผู้พอใจผลงานของ ส.ส. เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ปรับขึ้นค่าตอบแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ภายใต้โครงการ “ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” ระหว่างวันที่ 6-8
สิงหาคม 2545 โดยเลือกตัวอย่างจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีวุฒิการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 942 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า มีผู้ไม่เห็นด้วยถึงร้อยละ 80 กับการปรับขึ้นค่าตอบแทนรายเดือนของ ส.ส. และ ส.ว. ยิ่งกว่านั้นร้อยละ 6
ยังเห็นควรปรับลดเสียด้วยซ้ำ ส่วนร้อยละ 14 เห็นด้วยกับการปรับขึ้น
ขณะเดียวกัน ร้อยละ 70 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้มีบำเหน็จบำนาญสำหรับ ส.ส. และ ส.ว.
เหตุผลของชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวคือ ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญผล
งานของทั้งสองสภา ยังไม่เป็นที่พอใจของประชาชน (ร้อยละ 67 มีความเห็นว่าผลงานของ ส.ส. ไม่น่าพอใจ และ ร้อยละ 63 พบว่า ผลงานของ
ส.ว. ในชุดปัจจุบันไม่เป็นที่พอใจ)
ในส่วนของความคิดเห็นที่มีต่อเหตุผลซึ่งทาง ส.ส. และ ส.ว. ส่วนใหญ่หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงเพื่อร้องหาความชอบธรรมในการขอปรับขึ้น
ค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาระภาษีสังคมหรือเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76 เห็นว่าเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุผลที่ฟัง
ไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะทั้ง ส.ส. และ ส.ว. รับอาสาที่จะเข้ามารับใช้ประเทศชาติและประชาชนเองโดยมิได้มีใครร้องขอ ไม่ต้องทำงานเต็มเวลา
สามารถทำงานอื่นๆ ได้ด้วย มีสิทธิประโยชน์อื่นๆ มากอยู่แล้ว ฯลฯ
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาผลการสำรวจจะพบว่า ชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่พอใจในผลงานของ ส.ว. ชุดปัจจุบัน มากกว่าผลงานของ ส.
ส. ชุดปัจจุบัน โดยที่ร้อยละ 22 พอใจในผลงานของ ส.ว. ในขณะที่มีผู้พอใจผลงานของ ส.ส. เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-