คนกรุงเทพส่วนใหญ่ต่างโกหกซึ่งกันและกันและร้อยละ 32 เห็นว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน
การโกหกมนุษย์รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีผิดศีลข้อ 4 แต่บางครั้งก็ต่างโกหกเพื่อความสบายใจของตัวเองและคนอื่น หรือเพื่อเหตุผลอื่นอีกหลายประการ ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกในหัวข้อ "โกหกแล้วใครจะว่าอย่างไร" จากคนกรุงเทพจำนวน 1,042 ตัวอย่างทุกเพศอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
คนกรุงเทพร้อยละ 94 เคยโกหก โดยโกหกเพื่อนมากที่สุดร้อยละ 48 รองลงมาคือโกหกแฟนร้อยละ 18 และโกหกพ่อแม่ร้อยละ 13 ส่วนที่เหลือเป็นการโกหกเพื่อนร่วมงานพี่น้องสามีและภรรยา ซึ่งผลของการโกหกร้อยละ 55 ตอบว่าไม่เป็นผลดีผลร้ายต่อตัวเอง ร้อยละ 23 ตอบว่าเป็นผลดีต่อตนเองและร้อยละ 22 ตอบว่าเป็นผลเสียต่อตัวเอง และเมื่อถามกลับว่าใครมาโกหกกับตัวเรามากที่สุดร้อยละ 57 ตอบว่าเพื่อน รองลงมาร้อยละ 20 คือแฟน โดยผู้ถูกโกหกร้อยละ 56 เหตุผลว่าเขาโกหกเราเพื่อให้รู้สึกสบายใจ ร้อยละ 23 เพื่อหนีความผิด ร้อยละ 12 เพื่อปัดความรับผิดชอบงานในหน้าที่ ส่วนที่เหลือก็เพื่อใส่ร้ายผู้อื่น
การโกหกของคนส่วนใหญ่ร้อยละ 42 เป็นเรื่องเงิน ร้อยละ 28 เป็นเรื่องความรัก ร้อยละ 20 เป็นเรื่องเกี่ยวกับงาน ร้อยละ 10 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน
เมื่อให้ตัวอย่างแสดงความคิดเห็นของตัวเองในเรื่องการโกหกระหว่างสามี ภรรยา ลูก พบว่าในเรื่องสามีโกหกภรรยานั้นร้อยละ 52 คิดว่าเป็นเรื่องผู้หญิง ร้อยละ 26 เป็นเรื่องหนีเที่ยว ร้อยละ 22 เป็นเรื่องเงิน ส่วนภรรยาจะโกหกสามีเรื่องใดมากที่สุดนั้น ร้อยละ 55 ตอบว่าเรื่องซื้อของ (เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ) ร้อยละ 36 ตอบว่าเรื่องเงิน ร้อยละ 10 เรื่องหนีเที่ยว ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับลูกโกหกพ่อแม่เรื่องใดมากที่สุดนั้น ร้อยละ 44 เห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน ร้อยละ 28 เรื่องเพื่อน และเป็นจำนวนเท่ากับเรื่องเงิน
ส่วนคำกล่าวที่เคยได้ยินกับทั่วไปว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 41 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 32 เห็นด้วย ร้อยละ 27 ไม่มีความคิดเห็น และนอกจากนั้นยังมีความคิดเห็นว่าตนเองควรจะมีความระมัดระวังต่อการหลอกลวงจากบุคคลอื่นโดยเฉพาะเพื่อนร้อยละ 36 เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 25 คู่รักร้อยละ 24 คิดว่าไม่มีร้อยละ 9 เพราะพี่น้อง ร้อยละ 6
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
การโกหกมนุษย์รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีผิดศีลข้อ 4 แต่บางครั้งก็ต่างโกหกเพื่อความสบายใจของตัวเองและคนอื่น หรือเพื่อเหตุผลอื่นอีกหลายประการ ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกในหัวข้อ "โกหกแล้วใครจะว่าอย่างไร" จากคนกรุงเทพจำนวน 1,042 ตัวอย่างทุกเพศอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
คนกรุงเทพร้อยละ 94 เคยโกหก โดยโกหกเพื่อนมากที่สุดร้อยละ 48 รองลงมาคือโกหกแฟนร้อยละ 18 และโกหกพ่อแม่ร้อยละ 13 ส่วนที่เหลือเป็นการโกหกเพื่อนร่วมงานพี่น้องสามีและภรรยา ซึ่งผลของการโกหกร้อยละ 55 ตอบว่าไม่เป็นผลดีผลร้ายต่อตัวเอง ร้อยละ 23 ตอบว่าเป็นผลดีต่อตนเองและร้อยละ 22 ตอบว่าเป็นผลเสียต่อตัวเอง และเมื่อถามกลับว่าใครมาโกหกกับตัวเรามากที่สุดร้อยละ 57 ตอบว่าเพื่อน รองลงมาร้อยละ 20 คือแฟน โดยผู้ถูกโกหกร้อยละ 56 เหตุผลว่าเขาโกหกเราเพื่อให้รู้สึกสบายใจ ร้อยละ 23 เพื่อหนีความผิด ร้อยละ 12 เพื่อปัดความรับผิดชอบงานในหน้าที่ ส่วนที่เหลือก็เพื่อใส่ร้ายผู้อื่น
การโกหกของคนส่วนใหญ่ร้อยละ 42 เป็นเรื่องเงิน ร้อยละ 28 เป็นเรื่องความรัก ร้อยละ 20 เป็นเรื่องเกี่ยวกับงาน ร้อยละ 10 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน
เมื่อให้ตัวอย่างแสดงความคิดเห็นของตัวเองในเรื่องการโกหกระหว่างสามี ภรรยา ลูก พบว่าในเรื่องสามีโกหกภรรยานั้นร้อยละ 52 คิดว่าเป็นเรื่องผู้หญิง ร้อยละ 26 เป็นเรื่องหนีเที่ยว ร้อยละ 22 เป็นเรื่องเงิน ส่วนภรรยาจะโกหกสามีเรื่องใดมากที่สุดนั้น ร้อยละ 55 ตอบว่าเรื่องซื้อของ (เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ) ร้อยละ 36 ตอบว่าเรื่องเงิน ร้อยละ 10 เรื่องหนีเที่ยว ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับลูกโกหกพ่อแม่เรื่องใดมากที่สุดนั้น ร้อยละ 44 เห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน ร้อยละ 28 เรื่องเพื่อน และเป็นจำนวนเท่ากับเรื่องเงิน
ส่วนคำกล่าวที่เคยได้ยินกับทั่วไปว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 41 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 32 เห็นด้วย ร้อยละ 27 ไม่มีความคิดเห็น และนอกจากนั้นยังมีความคิดเห็นว่าตนเองควรจะมีความระมัดระวังต่อการหลอกลวงจากบุคคลอื่นโดยเฉพาะเพื่อนร้อยละ 36 เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 25 คู่รักร้อยละ 24 คิดว่าไม่มีร้อยละ 9 เพราะพี่น้อง ร้อยละ 6
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-