คนกรุงเทพฯ เกินครึ่งคิดว่า สสร. ไม่มีอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญและอาจจะเป็นเหตุสำคัญให้มีประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ : ความต้องการและความคาดหวัง” โดยสอบถามจากคนกรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,256 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ระหว่างวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ความสนใจและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ร้อยละ 52.8 สนใจแต่ไม่ได้ติดตาม ร้อยละ 28.7 สนใจและติดตามตลอดเวลา ร้อยละ 18.4 ไม่สนใจ เพราะเบื่อนักการเมืองทะเลาะกัน (ร้อยละ 50.7) มีแล้วไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น (ร้อยละ 28.2) ยุ่งแต่ทำงาน (ร้อยละ 18.5) และอื่น ๆ (ร้อยละ 2.6)
2. ในความเป็นอิสระของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีต่อการร่างรัฐธรรมนูญ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 58.3 เห็นว่าไม่ค่อยมีความเป็นอิสระ ร้อยละ 31.8 เชื่อว่ามีความเป็นอิสระแน่นอน ร้อยละ 9.9 คิดว่าไม่มีความเป็นอิสระ
3. ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ร้อยละ 28.6 คิดว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 26.0 คิดว่าเป็นเพราะรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าหรือเท่ากับฉบับเดิม ร้อยละ 16.5 ไม่พอใจในการระบุที่มาของ ส.ส. ร้อยละ 15.7 ไม่พอใจในการกำหนดคุณสมบัติ ส.ส. ร้อยละ 12.2 เป็นผู้ไม่ชอบ คมช.
4. ในการได้มาของนายกรัฐมนตรีนั้น ร้อยละ 63.5 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 36.5 ควรมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
5. ความเห็นว่าในร่างรัฐธรรมนูญควรจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหรือไม่นั้น ร้อยละ 64.4 เห็นว่าควรมีโดยมีเหตุผลเรียงลำดับดังนี้ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ออกเสียงเลือกตั้งชอบนโยบายพรรคแต่ไม่ชอบตัวบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะได้ผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถแต่ไม่ต้องการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพรรครัฐบาล ส่วนผู้ที่เห็นว่าไม่สมควรมีร้อยละ 35.6 นั้น มีเหตุผลเรียงลำดับดังนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนมีสิทธิเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีส่วนรับรู้ปัญหาและความต้องการของประชาชน ห่างเหินกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
6. สำหรับประเด็นของการกำหนดคุณวุฒิการศึกษาของ ส.ส. นั้น ร้อยละ 85.3 เห็นว่าควรกำหนด เพราะจะได้บุคคลที่มีความรู้ คนที่เข้ามาบริหารประเทศต้องมีการศึกษามากกว่าหรือเท่ากับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และปัจจุบันมีผู้จบการศึกษาระดับสูงเป็นจำนวนมาก ส่วนอีกร้อยละ 14.7 เห็นว่าไม่ควรกำหนดเพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความสามารถและเป็นที่รู้จัดได้เข้ารับการคัดเลือกเป็นการลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล และคนดีไม่จำเป็นต้องมี การศึกษาสูง
7. สำหรับเวลาที่กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น ร้อยละ 48.7 ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปตามกำหนด ร้อยละ 33.6 ไม่ทันตามกำหนด ร้อยละ 17.7 ทันตามกำหนด
8. ส่วนประเด็นการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้น ร้อยละ 52.2 มั่นใจว่ามีแน่นอน ร้อยละ 22.1 มีค่อนข้างน้อย ร้อยละ 17.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.1 ไม่มีแน่นอน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ : ความต้องการและความคาดหวัง” โดยสอบถามจากคนกรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,256 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ระหว่างวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ความสนใจและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ร้อยละ 52.8 สนใจแต่ไม่ได้ติดตาม ร้อยละ 28.7 สนใจและติดตามตลอดเวลา ร้อยละ 18.4 ไม่สนใจ เพราะเบื่อนักการเมืองทะเลาะกัน (ร้อยละ 50.7) มีแล้วไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น (ร้อยละ 28.2) ยุ่งแต่ทำงาน (ร้อยละ 18.5) และอื่น ๆ (ร้อยละ 2.6)
2. ในความเป็นอิสระของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีต่อการร่างรัฐธรรมนูญ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 58.3 เห็นว่าไม่ค่อยมีความเป็นอิสระ ร้อยละ 31.8 เชื่อว่ามีความเป็นอิสระแน่นอน ร้อยละ 9.9 คิดว่าไม่มีความเป็นอิสระ
3. ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ร้อยละ 28.6 คิดว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 26.0 คิดว่าเป็นเพราะรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าหรือเท่ากับฉบับเดิม ร้อยละ 16.5 ไม่พอใจในการระบุที่มาของ ส.ส. ร้อยละ 15.7 ไม่พอใจในการกำหนดคุณสมบัติ ส.ส. ร้อยละ 12.2 เป็นผู้ไม่ชอบ คมช.
4. ในการได้มาของนายกรัฐมนตรีนั้น ร้อยละ 63.5 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 36.5 ควรมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
5. ความเห็นว่าในร่างรัฐธรรมนูญควรจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหรือไม่นั้น ร้อยละ 64.4 เห็นว่าควรมีโดยมีเหตุผลเรียงลำดับดังนี้ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ออกเสียงเลือกตั้งชอบนโยบายพรรคแต่ไม่ชอบตัวบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะได้ผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถแต่ไม่ต้องการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพรรครัฐบาล ส่วนผู้ที่เห็นว่าไม่สมควรมีร้อยละ 35.6 นั้น มีเหตุผลเรียงลำดับดังนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนมีสิทธิเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีส่วนรับรู้ปัญหาและความต้องการของประชาชน ห่างเหินกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
6. สำหรับประเด็นของการกำหนดคุณวุฒิการศึกษาของ ส.ส. นั้น ร้อยละ 85.3 เห็นว่าควรกำหนด เพราะจะได้บุคคลที่มีความรู้ คนที่เข้ามาบริหารประเทศต้องมีการศึกษามากกว่าหรือเท่ากับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และปัจจุบันมีผู้จบการศึกษาระดับสูงเป็นจำนวนมาก ส่วนอีกร้อยละ 14.7 เห็นว่าไม่ควรกำหนดเพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความสามารถและเป็นที่รู้จัดได้เข้ารับการคัดเลือกเป็นการลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล และคนดีไม่จำเป็นต้องมี การศึกษาสูง
7. สำหรับเวลาที่กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จนั้น ร้อยละ 48.7 ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปตามกำหนด ร้อยละ 33.6 ไม่ทันตามกำหนด ร้อยละ 17.7 ทันตามกำหนด
8. ส่วนประเด็นการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้น ร้อยละ 52.2 มั่นใจว่ามีแน่นอน ร้อยละ 22.1 มีค่อนข้างน้อย ร้อยละ 17.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.1 ไม่มีแน่นอน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-