แท็ก
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อสะท้อนให้เห็น
ถึงวิถีชีวิตของคนไทยกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอาชีพ รปภ. ซึ่งไม่มีใครทราบมาก่อน ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
ก่อนที่จะเข้าสู่อาชีพ รปภ. ส่วนใหญ่เคยเป็นลูกจ้างเอกชนมาก่อน (ร้อยละ 34) โดยมีเพื่อนและญาติ (ร้อยละ 71) เป็นผู้ชักนำเข้ามา
สมัครเป็น รปภ. และเมื่อเข้าทำงานแล้วจะรับผิดชอบงาน ในลักษณะต่างกัน เช่น ยามประตูเข้าออกอาคารหรือหน่วยงาน งานจราจร และงานรักษา
ความปลอดภัยในอาคาร-นอกอาคาร เป็นต้น
ในเรื่องรายได้ รปภ.ส่วนใหญ่เห็นว่าอาชีพนี้ให้รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต (ร้อยละ 66) และในอนาคตแม้ว่าจะมีงานอื่นที่มีรายได้
ใกล้เคียงกับอาชีพ รปภ. แต่ก็ยังสนใจที่จะทำอาชีพนี้ (ร้อยละ 54) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นเกี่ยวกับสิ่งจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้ รปภ. อยู่ในอาชีพนี้
ซึ่งส่วนระบุว่า เป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างดี และมีความมั่นคงในการทำงาน นอกจากนี้ รปภ. ส่วนใหญ่ยังให้ความเห็นว่า หากญาติของตนไม่มีงานทำ
ก็จะแนะนำให้มาทำอาชีพ รปภ. เช่นเดียวกับตน (ร้อยละ 51)
แม้ว่าปัจจุบัน รปภ. ส่วนใหญ่ จะพอใจกับอาชีพของตน เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีรายได้เพียงพอและมั่นคง แต่หากถามถึงความรู้สึกในอดีต
เมื่อเข้าสู่อาชีพนี้ครั้งแรก พบว่าส่วนใหญ่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายอาชีพ รปภ. โดยให้เหตุผลว่าเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบสูง และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย
และไม่มีเกียรติในสายตาของคนทั่วไป
ความคิดเห็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจจากการสำรวจครั้งนี้ ก็คือ รปภ. ส่วนใหญ่คิดว่าอาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องที่จะต้อง
รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างหรือองค์กร หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในเขตพื้นที่หรืองานที่ดูแลรับผิดชอบ นอกจากนี้เหตุการณ์ต่าง ๆ
ดังกล่าว ยังเสี่ยงต่อชีวิตของตนอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป อาชีพ รปภ. น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นทางเลือกของคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังแสวงหางาน เป็นอาชีพที่สุจริตและมีราย
ได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต แม้ว่าจะต้องรับผิดชอบและเสี่ยงภัยก็ตาม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ถึงวิถีชีวิตของคนไทยกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอาชีพ รปภ. ซึ่งไม่มีใครทราบมาก่อน ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
ก่อนที่จะเข้าสู่อาชีพ รปภ. ส่วนใหญ่เคยเป็นลูกจ้างเอกชนมาก่อน (ร้อยละ 34) โดยมีเพื่อนและญาติ (ร้อยละ 71) เป็นผู้ชักนำเข้ามา
สมัครเป็น รปภ. และเมื่อเข้าทำงานแล้วจะรับผิดชอบงาน ในลักษณะต่างกัน เช่น ยามประตูเข้าออกอาคารหรือหน่วยงาน งานจราจร และงานรักษา
ความปลอดภัยในอาคาร-นอกอาคาร เป็นต้น
ในเรื่องรายได้ รปภ.ส่วนใหญ่เห็นว่าอาชีพนี้ให้รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต (ร้อยละ 66) และในอนาคตแม้ว่าจะมีงานอื่นที่มีรายได้
ใกล้เคียงกับอาชีพ รปภ. แต่ก็ยังสนใจที่จะทำอาชีพนี้ (ร้อยละ 54) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นเกี่ยวกับสิ่งจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้ รปภ. อยู่ในอาชีพนี้
ซึ่งส่วนระบุว่า เป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างดี และมีความมั่นคงในการทำงาน นอกจากนี้ รปภ. ส่วนใหญ่ยังให้ความเห็นว่า หากญาติของตนไม่มีงานทำ
ก็จะแนะนำให้มาทำอาชีพ รปภ. เช่นเดียวกับตน (ร้อยละ 51)
แม้ว่าปัจจุบัน รปภ. ส่วนใหญ่ จะพอใจกับอาชีพของตน เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีรายได้เพียงพอและมั่นคง แต่หากถามถึงความรู้สึกในอดีต
เมื่อเข้าสู่อาชีพนี้ครั้งแรก พบว่าส่วนใหญ่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายอาชีพ รปภ. โดยให้เหตุผลว่าเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบสูง และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย
และไม่มีเกียรติในสายตาของคนทั่วไป
ความคิดเห็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจจากการสำรวจครั้งนี้ ก็คือ รปภ. ส่วนใหญ่คิดว่าอาชีพ รปภ. เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องที่จะต้อง
รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างหรือองค์กร หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในเขตพื้นที่หรืองานที่ดูแลรับผิดชอบ นอกจากนี้เหตุการณ์ต่าง ๆ
ดังกล่าว ยังเสี่ยงต่อชีวิตของตนอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป อาชีพ รปภ. น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นทางเลือกของคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังแสวงหางาน เป็นอาชีพที่สุจริตและมีราย
ได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต แม้ว่าจะต้องรับผิดชอบและเสี่ยงภัยก็ตาม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-