คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่คิดว่าการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างประเทศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัว
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “คิดอย่างไรกับการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร” โดยสอบถามจากคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,256 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา อายุ และเพศ ระหว่างวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. กรณี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างประเทศนั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 58.3 คิดว่าทำไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 19.1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 18.3 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และร้อยละ 4.3 มีเหตุผลอื่นๆ เช่น ต้องการรักษาสถานภาพตนเองด้านการชี้แจงข้อเท็จจริง ลดเครดิตรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 67.8 มีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรทำต่อไป เพราะคิดว่าจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง เสียภาพลักษณ์ของตนเอง และควร ยุติบทบาททางการเมือง และอีกร้อยละ 32.2 เห็นว่าควรทำต่อไป โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดการทำผิด เป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และ จะได้ทราบข้อเท็จจริง
3. เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดปัจจุบันเปรียบเทียบกับชุดที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 40.4 เห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันตั้งใจมากกว่า ร้อยละ 30.8 ตั้งใจพอๆ กัน และร้อยละ 28.8 รัฐบาลชุดที่ผ่านมา
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “คิดอย่างไรกับการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร” โดยสอบถามจากคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,256 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา อายุ และเพศ ระหว่างวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. กรณี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างประเทศนั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 58.3 คิดว่าทำไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 19.1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 18.3 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และร้อยละ 4.3 มีเหตุผลอื่นๆ เช่น ต้องการรักษาสถานภาพตนเองด้านการชี้แจงข้อเท็จจริง ลดเครดิตรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 67.8 มีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรทำต่อไป เพราะคิดว่าจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง เสียภาพลักษณ์ของตนเอง และควร ยุติบทบาททางการเมือง และอีกร้อยละ 32.2 เห็นว่าควรทำต่อไป โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดการทำผิด เป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และ จะได้ทราบข้อเท็จจริง
3. เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดปัจจุบันเปรียบเทียบกับชุดที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 40.4 เห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันตั้งใจมากกว่า ร้อยละ 30.8 ตั้งใจพอๆ กัน และร้อยละ 28.8 รัฐบาลชุดที่ผ่านมา
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-