คนกรุงเทพฯ เห็นว่าความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายในปีนี้ลดน้อยลงกว่าในปีที่ผ่านมา
ข่าวความชุกชุมของภัยจากโจรผู้ร้ายของชาวกรุงเทพฯ ที่ปรากฎอยู่ตามหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ประกอบกับนโยบายของรัฐที่จะจัดระเบียบการใช้อาวุธปืนของประชาชน ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 887 คน จากทุกระดับการศึกษาและอาชีพ ในหัวข้อ “ ปืนกับโจรผู้ร้ายเมืองหลวง ” ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2546 ซึ่งได้ผลการสรุปมี ดังนี้ :-
คนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 44 มีความเห็นว่าสังคมปัจจุบันมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนึ่งปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีชาวกรุงเทพฯ อีกร้อยละ 24 เห็นว่ามีความปลอดภัยมากกว่า
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระเบียบอาวุธปืน โดยหากรัฐจะออกกฎหมายไม่ให้ประชาชนมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองนั้น ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 56 “ไม่เห็นด้วย” สำหรับชาวกรุงเทพฯ กลุ่มที่ไม่มีปืนในความครอบครอง ร้อยละ 52 ก็ “ไม่เห็นด้วย” เช่นเดียวกัน เหตุผลสำคัญที่สุด คือ “เกรงว่าจะไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน” และเหตุผลรองลงมาคือ “มีไว้เพื่อป้องกันตนเอง”
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ เรียงตามลำดับความสำคัญของผลที่คาดว่าจะเกิด คนกรุงเทพฯ เห็นว่า “ปืนเถื่อนหรือปืนหนีภาษีจะทวีจำนวนเพิ่มขึ้น” “โจรผู้ร้ายจะฮึกเหิมยิ่งขึ้นเพราะเหยื่อไม่มีอาวุธป้องกันตัว” “การฆ่ากันด้วยอาวุธปืนหรืออุบัติเหตุจากปืนจะลดลง” และ “บ้านเมืองจะสงบปลอดภัย มากขึ้น”
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ข่าวความชุกชุมของภัยจากโจรผู้ร้ายของชาวกรุงเทพฯ ที่ปรากฎอยู่ตามหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ประกอบกับนโยบายของรัฐที่จะจัดระเบียบการใช้อาวุธปืนของประชาชน ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 887 คน จากทุกระดับการศึกษาและอาชีพ ในหัวข้อ “ ปืนกับโจรผู้ร้ายเมืองหลวง ” ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2546 ซึ่งได้ผลการสรุปมี ดังนี้ :-
คนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 44 มีความเห็นว่าสังคมปัจจุบันมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับหนึ่งปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีชาวกรุงเทพฯ อีกร้อยละ 24 เห็นว่ามีความปลอดภัยมากกว่า
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระเบียบอาวุธปืน โดยหากรัฐจะออกกฎหมายไม่ให้ประชาชนมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองนั้น ชาวกรุงเทพฯ ที่มีอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 56 “ไม่เห็นด้วย” สำหรับชาวกรุงเทพฯ กลุ่มที่ไม่มีปืนในความครอบครอง ร้อยละ 52 ก็ “ไม่เห็นด้วย” เช่นเดียวกัน เหตุผลสำคัญที่สุด คือ “เกรงว่าจะไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน” และเหตุผลรองลงมาคือ “มีไว้เพื่อป้องกันตนเอง”
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ เรียงตามลำดับความสำคัญของผลที่คาดว่าจะเกิด คนกรุงเทพฯ เห็นว่า “ปืนเถื่อนหรือปืนหนีภาษีจะทวีจำนวนเพิ่มขึ้น” “โจรผู้ร้ายจะฮึกเหิมยิ่งขึ้นเพราะเหยื่อไม่มีอาวุธป้องกันตัว” “การฆ่ากันด้วยอาวุธปืนหรืออุบัติเหตุจากปืนจะลดลง” และ “บ้านเมืองจะสงบปลอดภัย มากขึ้น”
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-