ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ “ความรู้สึกและคาดหวังต่อเลือก
ตั้ง” โดยสอบถามคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,575 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ เพศและอายุ ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน
2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพิจารณาจากหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ พบว่าลำดับที่ 1 ได้แก่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 52.2)
นายสมัคร สุนทรเวช (ร้อยละ 14.7)
นายบรรหาร ศิลปะอาชา (ร้อยละ 13.3)
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร และนายเสนาะ เทียนทอง (ร้อยละ 4.8)
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ร้อยละ 2.5)
นายสุวิทย์ คุณกิตติ (ร้อยละ 2.1)
นายประมวล รุจนเสรี (ร้อยละ 1.0)
และอื่นๆ (ร้อยละ 4.6)
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรค คนกรุงเทพฯ
ร้อยละ 54.8 คิดว่าเป็นไปได้ และร้อยละ 45.2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับพรรคที่มีความสัมพันธ์อันดีดับคณะความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มากที่สุด
คนกรุงเทพฯ คิดว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 50.0)
พรรคชาติไทย (ร้อยละ 23.3)
ส่วนพรรคที่คิดว่าได้รับการสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้นได้แก่
พรรคพลังประชาชน (ร้อยละ 67.0)
พรรคมัชฌิมาธิปไตย (ร้อยละ 18.8)
พรรคชาติไทย (ร้อยละ 15.5)
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ร้อยละ 14.0)
ในการพิจารณาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ครั้งนี้
ร้อยละ 56.5 จะดูจากนโยบายของพรรคที่ผู้สมัคร สส. สังกัด
ร้อยละ 11.9 ดูจากการเคยเป็น สส. ในเขตนั้นมาก่อน
ร้อยละ 5.6 ดูจากความมีชื่อเสียงของผู้สมัคร สส.
ร้อยละ 4.7 ผู้มีพระคุณร้องขอ
ร้อยละ 2.2 อื่นๆ (ความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง)
เกี่ยวกับการรับทราบวันกำหนดการเลือกตั้งนั้น
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79.4 รับทราบ
ร้อยละ 14.3 ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 6.3 ไม่ทราบ
และเมื่อสอบถามถึงระดับความสำคัญกับการไปลงคะแนนเสียง พบว่า
ร้อยละ 49.7 จะไปเลือกตั้ง เพราะเป็นหน้าที่ของพลเมือง
ร้อยละ 29.6 จะไปเลือกตั้งหากไม่ติดการทำงานหรือธุระส่วนตัว
ร้อยละ 16.0 มีความกระตือรือร้นที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ร้อยละ 4.7 ไม่คิดจะไปเลือกตั้งเพราะไม่ศรัทธาต่อพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 89.8 คิดว่าจะมีการซื้อเสียงขายสิทธิ และอยู่ในระดับที่มากหรือพอๆ กับครั้งที่ผ่านๆ มา
ส่วนร้อยละ 10.2 คิดว่าไม่มี
และเมื่อถามถึงการรับหรือไม่รับเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อซื้อเสียงกับตนเองนั้น
ร้อยละ 43.4 ยินดีรับ แต่ไม่ลงคะแนนเสียงให้
ร้อยละ 39.4 ไม่รับ
ร้อยละ 12.7 ยินดีรับและจะไปแจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี
มีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่ยินดีรับและลงคะแนนเสียงให้
สำหรับความมั่นใจต่อการทำงานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ร้อยละ 83.3 มีความมั่นใจและเชื่อมั่น
ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่เชื่อมั่น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ตั้ง” โดยสอบถามคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,575 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ เพศและอายุ ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน
2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพิจารณาจากหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ พบว่าลำดับที่ 1 ได้แก่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 52.2)
นายสมัคร สุนทรเวช (ร้อยละ 14.7)
นายบรรหาร ศิลปะอาชา (ร้อยละ 13.3)
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร และนายเสนาะ เทียนทอง (ร้อยละ 4.8)
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ร้อยละ 2.5)
นายสุวิทย์ คุณกิตติ (ร้อยละ 2.1)
นายประมวล รุจนเสรี (ร้อยละ 1.0)
และอื่นๆ (ร้อยละ 4.6)
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรค คนกรุงเทพฯ
ร้อยละ 54.8 คิดว่าเป็นไปได้ และร้อยละ 45.2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับพรรคที่มีความสัมพันธ์อันดีดับคณะความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มากที่สุด
คนกรุงเทพฯ คิดว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 50.0)
พรรคชาติไทย (ร้อยละ 23.3)
ส่วนพรรคที่คิดว่าได้รับการสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้นได้แก่
พรรคพลังประชาชน (ร้อยละ 67.0)
พรรคมัชฌิมาธิปไตย (ร้อยละ 18.8)
พรรคชาติไทย (ร้อยละ 15.5)
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ร้อยละ 14.0)
ในการพิจารณาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ครั้งนี้
ร้อยละ 56.5 จะดูจากนโยบายของพรรคที่ผู้สมัคร สส. สังกัด
ร้อยละ 11.9 ดูจากการเคยเป็น สส. ในเขตนั้นมาก่อน
ร้อยละ 5.6 ดูจากความมีชื่อเสียงของผู้สมัคร สส.
ร้อยละ 4.7 ผู้มีพระคุณร้องขอ
ร้อยละ 2.2 อื่นๆ (ความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง)
เกี่ยวกับการรับทราบวันกำหนดการเลือกตั้งนั้น
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79.4 รับทราบ
ร้อยละ 14.3 ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 6.3 ไม่ทราบ
และเมื่อสอบถามถึงระดับความสำคัญกับการไปลงคะแนนเสียง พบว่า
ร้อยละ 49.7 จะไปเลือกตั้ง เพราะเป็นหน้าที่ของพลเมือง
ร้อยละ 29.6 จะไปเลือกตั้งหากไม่ติดการทำงานหรือธุระส่วนตัว
ร้อยละ 16.0 มีความกระตือรือร้นที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ร้อยละ 4.7 ไม่คิดจะไปเลือกตั้งเพราะไม่ศรัทธาต่อพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 89.8 คิดว่าจะมีการซื้อเสียงขายสิทธิ และอยู่ในระดับที่มากหรือพอๆ กับครั้งที่ผ่านๆ มา
ส่วนร้อยละ 10.2 คิดว่าไม่มี
และเมื่อถามถึงการรับหรือไม่รับเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อซื้อเสียงกับตนเองนั้น
ร้อยละ 43.4 ยินดีรับ แต่ไม่ลงคะแนนเสียงให้
ร้อยละ 39.4 ไม่รับ
ร้อยละ 12.7 ยินดีรับและจะไปแจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี
มีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่ยินดีรับและลงคะแนนเสียงให้
สำหรับความมั่นใจต่อการทำงานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ร้อยละ 83.3 มีความมั่นใจและเชื่อมั่น
ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่เชื่อมั่น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-