นายกในฝันของคนกรุงเทพฯ คือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน และสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ได้นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่ทหารจะทำการปฏิวัติในขณะนี้
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “การเมืองไทยหลังผ่านประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 50” โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิออกเสียงจากทุกอาชีพ ระดับการศึกษา เพศ อายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,466 คน ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 56.5 ยังไม่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้ ที่มั่นใจมีเพียงร้อยละ 43.5 นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 59.2 ไม่เห็นด้วยหากจะมีการปฏิวัติอีกภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในจำนวน ร้อยละ 59.2 ที่ไม่เห็นด้วยนี้ มีผู้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งถึง ร้อยละ 44.2
2. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่อดีต พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาเล่นการเมืองอีกภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้านั้น คนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 65.5 คิดว่าไม่มีโอกาส ที่เห็นว่ามีโอกาสมีเพียงร้อยละ 34.5 เท่านั้น ส่วนความเชื่อว่าคนรวยเมื่อมีโอกาสบริหารประเทศแล้วจะไม่โกงกิน ไม่คอรัปชั่น บริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริตนั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 53.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 39.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7.3 เห็นด้วย
3. ส่วนคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้มีนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ 1) เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความยากจนของประชาชนส่วนใหญ่ได้ (ร้อยละ 18.2) 2) เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 16.8) 3) เป็นผู้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของพรรค ตัวเอง และญาติพี่น้อง (ร้อยละ 16.8) 4) เป็นผู้ไม่ด่างพร้อยในเรื่องความสุจริตยุติธรรม (ร้อยละ 14.7) 5) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่นานาชาติยอมรับ (ร้อยละ 11.9) 6) เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 11.7) และ 7) เป็นผู้ที่สามารถนำประเทศแข่งขันกับนานาชาติได้ (ร้อยละ 9.9)
4. ส่วนความเห็นต่อข่าวการรวมพรรคของนักการเมืองที่ยังไม่ลงตัวนั้น ร้อยละ 49.7 รู้สึกเฉยๆ เพราะเป็นธรรมชาติของนักการเมืองที่คำนึงถึงผลประโยชน์ตนเองมากกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน ร้อยละ 33.2 เกิดความเบื่อหน่ายการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 8.8 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นตัวทางการเมืองเพื่อหวงแหนสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง ร้อยละ 8.3 เกิดความสงสัยว่าทำไมสนใจจะรวมพรรคเพื่อให้ได้มาของจำนวน ส.ส. มากกว่าการรวมพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการแก้ไขปัญหาของชาติ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “การเมืองไทยหลังผ่านประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 50” โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิออกเสียงจากทุกอาชีพ ระดับการศึกษา เพศ อายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,466 คน ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2550 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 56.5 ยังไม่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้ ที่มั่นใจมีเพียงร้อยละ 43.5 นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 59.2 ไม่เห็นด้วยหากจะมีการปฏิวัติอีกภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในจำนวน ร้อยละ 59.2 ที่ไม่เห็นด้วยนี้ มีผู้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งถึง ร้อยละ 44.2
2. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่อดีต พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาเล่นการเมืองอีกภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้านั้น คนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 65.5 คิดว่าไม่มีโอกาส ที่เห็นว่ามีโอกาสมีเพียงร้อยละ 34.5 เท่านั้น ส่วนความเชื่อว่าคนรวยเมื่อมีโอกาสบริหารประเทศแล้วจะไม่โกงกิน ไม่คอรัปชั่น บริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริตนั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 53.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 39.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7.3 เห็นด้วย
3. ส่วนคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้มีนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ 1) เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความยากจนของประชาชนส่วนใหญ่ได้ (ร้อยละ 18.2) 2) เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ (ร้อยละ 16.8) 3) เป็นผู้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของพรรค ตัวเอง และญาติพี่น้อง (ร้อยละ 16.8) 4) เป็นผู้ไม่ด่างพร้อยในเรื่องความสุจริตยุติธรรม (ร้อยละ 14.7) 5) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่นานาชาติยอมรับ (ร้อยละ 11.9) 6) เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 11.7) และ 7) เป็นผู้ที่สามารถนำประเทศแข่งขันกับนานาชาติได้ (ร้อยละ 9.9)
4. ส่วนความเห็นต่อข่าวการรวมพรรคของนักการเมืองที่ยังไม่ลงตัวนั้น ร้อยละ 49.7 รู้สึกเฉยๆ เพราะเป็นธรรมชาติของนักการเมืองที่คำนึงถึงผลประโยชน์ตนเองมากกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน ร้อยละ 33.2 เกิดความเบื่อหน่ายการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 8.8 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นตัวทางการเมืองเพื่อหวงแหนสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง ร้อยละ 8.3 เกิดความสงสัยว่าทำไมสนใจจะรวมพรรคเพื่อให้ได้มาของจำนวน ส.ส. มากกว่าการรวมพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการแก้ไขปัญหาของชาติ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-