ผู้ปกครองกว่า 50 % คิดว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นกับครอบครัวมากกว่าโรงเรียน และรัฐบาล และยังนิยมให้ลูกกวดวิชา
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนมัธยมต้นในหัวข้อ “คุณภาพการศึกษาของเด็กในสายตาผู้ปกครอง” โดยสอบถามจากผู้ปกครองในเขตกรุงเทพจำนวน 1,394 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ และอายุ ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 50 ซึ่งผลการสำรวจได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
ร้อยละ 51.9 คิดว่าเป็นหน้าที่หลักของครอบครัว
ร้อยละ 36.9 คิดว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียน
และร้อยละ 11.2 คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
และเมื่อสอบถามถึงการเพิ่มคุณวุฒิและเพิ่มเงินเดือนครูแล้วจะทำให้คุณภาพการสอนของครูดีขึ้นหรือไม่
ร้อยละ 40.4 เห็นว่าดีขึ้น
ร้อยละ 35.5 เห็นว่าไม่ดีขึ้น
และร้อยละ 24.1 ไม่แน่ใจ
2. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพโดยรวมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขต กทม. ผู้ปกครองให้คะแนนในแต่ละด้านจากคะแนนเต็ม 10 ดังนี้ ด้านวิชาการให้ 7.68 คะแนน ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อตนเองให้ 6.88 คะแนนเท่ากับด้านความเพียรให้ 6.78 คะแนน ด้านการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นให้ 6.76 คะแนน ด้านความอดทนให้ 6.62 คะแนน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้ 6.60 คะแนน
3. เมื่อถามถึงคุณสมบัติของบุตรหลานที่ต้องการถ้าสามารถเลือกได้นั้น ผู้ปกครอง ร้อยละ 91.5 ขอให้เป็นคนดีแต่อาจไม่ต้องเก่งมาก และร้อยละ 8.5 ขอให้เป็นคนเก่งแต่อาจจะไม่ค่อยดีบ้าง
4. ส่วนการสนับสนุนส่งเสริมให้บุตรหลานกวดวิชานั้น ผู้ปกครอง ร้อยละ 68.3 สนับสนุน โดยมีเหตุผลสำคัญที่สุดคือ กลัวบุตรหลานสอบเข้าเรียนในสถาบันที่ต้องการไม่ได้ ร้อยละ 37.5 สนับสนุนเพราะคิดว่าความรู้ที่ได้ในห้องเรียนไม่เพียงพอ ร้อยละ 29.0 สนับสนุนเพราะกลัวบุตรหลานเรียนไม่ทันเพื่อน ร้อยละ 15.6 สนับสนุนเพราะบุตรหลานร้องขอเรียนเพิ่มเติม ร้อยละ 12.9 ส่วนอีก ร้อยละ 5.0 สนับสนุนเพราะไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน
5. ส่วนอุปสรรคที่อาจจะมาสกัดกั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของบุตรหลานให้ไม่ดีเท่าที่ควรนั้นผู้ปกครองนักเรียนในเขต กทม. ร้อยละ 22.7 คิดว่าเป็นเพราะความไม่ตั้งใจเรียนร้อยละ 22.0 คิดว่าเป็นเพราะคบเพื่อนไม่ดี ร้อยละ 16.9 คิดว่าเป็นเพราะมีคู่รักก่อนวัยอันควรร้อยละ 15.9 คิดว่าเป็นเพราะการติดเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 12.1 คิดว่าเป็นเพราะคุณภาพครูไม่ดี ร้อยละ 8.2 คิดว่าเป็นเพราะติดการพนัน และร้อยละ 2.0 คิดว่าเป็นเพราะต้องช่วยครอบครัวทำงาน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนมัธยมต้นในหัวข้อ “คุณภาพการศึกษาของเด็กในสายตาผู้ปกครอง” โดยสอบถามจากผู้ปกครองในเขตกรุงเทพจำนวน 1,394 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ และอายุ ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 50 ซึ่งผลการสำรวจได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
ร้อยละ 51.9 คิดว่าเป็นหน้าที่หลักของครอบครัว
ร้อยละ 36.9 คิดว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียน
และร้อยละ 11.2 คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
และเมื่อสอบถามถึงการเพิ่มคุณวุฒิและเพิ่มเงินเดือนครูแล้วจะทำให้คุณภาพการสอนของครูดีขึ้นหรือไม่
ร้อยละ 40.4 เห็นว่าดีขึ้น
ร้อยละ 35.5 เห็นว่าไม่ดีขึ้น
และร้อยละ 24.1 ไม่แน่ใจ
2. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพโดยรวมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขต กทม. ผู้ปกครองให้คะแนนในแต่ละด้านจากคะแนนเต็ม 10 ดังนี้ ด้านวิชาการให้ 7.68 คะแนน ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อตนเองให้ 6.88 คะแนนเท่ากับด้านความเพียรให้ 6.78 คะแนน ด้านการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นให้ 6.76 คะแนน ด้านความอดทนให้ 6.62 คะแนน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้ 6.60 คะแนน
3. เมื่อถามถึงคุณสมบัติของบุตรหลานที่ต้องการถ้าสามารถเลือกได้นั้น ผู้ปกครอง ร้อยละ 91.5 ขอให้เป็นคนดีแต่อาจไม่ต้องเก่งมาก และร้อยละ 8.5 ขอให้เป็นคนเก่งแต่อาจจะไม่ค่อยดีบ้าง
4. ส่วนการสนับสนุนส่งเสริมให้บุตรหลานกวดวิชานั้น ผู้ปกครอง ร้อยละ 68.3 สนับสนุน โดยมีเหตุผลสำคัญที่สุดคือ กลัวบุตรหลานสอบเข้าเรียนในสถาบันที่ต้องการไม่ได้ ร้อยละ 37.5 สนับสนุนเพราะคิดว่าความรู้ที่ได้ในห้องเรียนไม่เพียงพอ ร้อยละ 29.0 สนับสนุนเพราะกลัวบุตรหลานเรียนไม่ทันเพื่อน ร้อยละ 15.6 สนับสนุนเพราะบุตรหลานร้องขอเรียนเพิ่มเติม ร้อยละ 12.9 ส่วนอีก ร้อยละ 5.0 สนับสนุนเพราะไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน
5. ส่วนอุปสรรคที่อาจจะมาสกัดกั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของบุตรหลานให้ไม่ดีเท่าที่ควรนั้นผู้ปกครองนักเรียนในเขต กทม. ร้อยละ 22.7 คิดว่าเป็นเพราะความไม่ตั้งใจเรียนร้อยละ 22.0 คิดว่าเป็นเพราะคบเพื่อนไม่ดี ร้อยละ 16.9 คิดว่าเป็นเพราะมีคู่รักก่อนวัยอันควรร้อยละ 15.9 คิดว่าเป็นเพราะการติดเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 12.1 คิดว่าเป็นเพราะคุณภาพครูไม่ดี ร้อยละ 8.2 คิดว่าเป็นเพราะติดการพนัน และร้อยละ 2.0 คิดว่าเป็นเพราะต้องช่วยครอบครัวทำงาน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-