ความสุขของคนกรุงเทพฯลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขของชาวกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ในเดือน เมษายน 2551 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,089 คน กระจายไปตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ผลการสำรวจโดยสรุปเป็นดังนี้
ความสุขของชาวกรุงเทพฯ เมื่อวัดจากการมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ความยินดีทำประโยชน์หรือกิจกรรมเพื่อสังคมเมื่อมีโอกาส ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอิสระในการใช้ความคิดในการทำงาน ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี และความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ พบว่าอยู่ในระดับ 3.35 จากระดับสูงสุด 5.00 ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการสำรวจเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับ 3.41 ความสุขของคนกรุงเทพฯลดลงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.76 สาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ความสุขของชาวกรุงเทพฯ ลดลงจาก 3 เดือนที่ผ่านมาเรียงตามลำดับคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ลดลงร้อยละ 5.28) การมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน (ลดลงร้อยละ 4.42) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (ลดลงร้อยละ 4.33) ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว (ลดลงร้อยละ 1.67) เรื่องที่ทำให้ชาวกรุงเทพฯมีความสุขเพิ่มมากขึ้นมีเพียงเรื่องเดียวคือ การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือร้อยละ 0.55 เท่านั้น
เมื่อพิจารณาความสุขของชาวกรุงเทพฯในปัจจุบันเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมาจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่าชาวกรุงเทพฯทั้ง เพศชาย และเพศหญิง มีความสุขลดลงเล็กน้อยพอๆกัน ประมาณร้อยละ 1.5 ชาวกรุงเทพฯ อายุตั้งแต่ 49 ปี ลงมามีความสุขลดลงเล็กน้อย แต่ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมีความสุขเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ชาวกรุงเทพฯทุกกลุ่มอาชีพมีความสุขลดลง ยกเว้นกลุ่ม รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และกลุ่มรับจ้างทั่วไป / ลูกจ้างโรงงานซึ่งระดับความสุขไม่เปลี่ยนแปลง ชาวกรุงเทพฯที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีความสุขลดลง แต่ที่มีการศึกษาน้อย คือประถมศึกษาหรือต่ำกว่ากลับมีความสุขเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 6.5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขของชาวกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ในเดือน เมษายน 2551 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,089 คน กระจายไปตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ผลการสำรวจโดยสรุปเป็นดังนี้
ความสุขของชาวกรุงเทพฯ เมื่อวัดจากการมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ความยินดีทำประโยชน์หรือกิจกรรมเพื่อสังคมเมื่อมีโอกาส ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอิสระในการใช้ความคิดในการทำงาน ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี และความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ พบว่าอยู่ในระดับ 3.35 จากระดับสูงสุด 5.00 ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการสำรวจเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับ 3.41 ความสุขของคนกรุงเทพฯลดลงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.76 สาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ความสุขของชาวกรุงเทพฯ ลดลงจาก 3 เดือนที่ผ่านมาเรียงตามลำดับคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ลดลงร้อยละ 5.28) การมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน (ลดลงร้อยละ 4.42) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (ลดลงร้อยละ 4.33) ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว (ลดลงร้อยละ 1.67) เรื่องที่ทำให้ชาวกรุงเทพฯมีความสุขเพิ่มมากขึ้นมีเพียงเรื่องเดียวคือ การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือร้อยละ 0.55 เท่านั้น
เมื่อพิจารณาความสุขของชาวกรุงเทพฯในปัจจุบันเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมาจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่าชาวกรุงเทพฯทั้ง เพศชาย และเพศหญิง มีความสุขลดลงเล็กน้อยพอๆกัน ประมาณร้อยละ 1.5 ชาวกรุงเทพฯ อายุตั้งแต่ 49 ปี ลงมามีความสุขลดลงเล็กน้อย แต่ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมีความสุขเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ชาวกรุงเทพฯทุกกลุ่มอาชีพมีความสุขลดลง ยกเว้นกลุ่ม รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และกลุ่มรับจ้างทั่วไป / ลูกจ้างโรงงานซึ่งระดับความสุขไม่เปลี่ยนแปลง ชาวกรุงเทพฯที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีความสุขลดลง แต่ที่มีการศึกษาน้อย คือประถมศึกษาหรือต่ำกว่ากลับมีความสุขเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 6.5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th 0-2954-7300 ต่อ 528 Serial No. 0406070139
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-