ความเชื่อของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับสุภาษิตไทยชาวกรุงเทพฯ ไม่เชื่อในสุภาษิต “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” เพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับสุภาษิตไทย ครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน 2551โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯจำนวน 1,089 คน กระจายไปตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา สามารถสรุปผลได้ดังนี้
ความเชื่อสุภาษิตไทยของชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ลดลงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ1 ในสุภาษิต “ เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ” (ร้อยละ 0.37) “ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ” (ร้อยละ0.33) “ จับปลาสองมือ ” (ร้อยละ0.82) และ “ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ” (ร้อยละ0.12) สุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯเชื่อและยึดถือปฏิบัติเพิ่มมากที่สุด คือ “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ” (ร้อยละ88) เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18 — 21 ปี ยังมีความเชื่อและยึดถือปฏิบัติ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” และ “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากกว่าสุภาษิตอื่นเหมือนเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา
สุภาษิตที่ยึดถือปฏิบัติในปัจจุบันน้อยที่สุดคือ “ จับปลาสองมือ ” เมื่อเทียบกับสุภาษิต “ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ” ที่ยึดถือปฏิบัติน้อยที่สุดใน 3 เดือนที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯในวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 22 — 29 ปี ในปัจจุบันมีความเชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 91 ) รองลงมาคือ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ซึ่งเคยเป็นสุภาษิตที่เชื่อกันมากที่สุดเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว สุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯยึดถือปฏิบัติน้อยที่สุดในปัจจุบัน คือ “ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ” (ร้อยละ 78) ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งชาวกรุงเทพฯมีความเชื่อน้อยสุดในเรื่อง “ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ”สำหรับชาวกรุงเทพฯวัยกลางคนที่อายุระหว่าง 30 — 49 ปี ยึดถือสุภาษิต “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 90) ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาที่ยึดถือ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” มากที่สุด
ส่วนชาวกรุงเทพฯในวัยสูงอายุที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมีความเชื่อในเรื่อง “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากที่สุด (ร้อยละ 93)ซึ่งต่างกับ3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุดส่วนสุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯในวัยสูง อายุยึดถือน้อยที่สุดในปัจจุบัน (ร้อยละ 82) คือ “ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ” ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อเรื่อง “ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ” น้อยที่สุด
ในปัจจุบันชาวกรุงเทพฯที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความเชื่อในเรื่อง “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ” มากที่สุด (ร้อยละ90) ซึ่งต่างจาก 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด สำหรับผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา มีความเชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 91) ซึ่งต่างจาก 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อในเรื่อง “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากที่สุด ส่วนผู้ที่ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีความเชื่อในเรื่อง “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” (ร้อยละ 90) มากที่สุด และไม่แตกต่างจากเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับสุภาษิตไทย ครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน 2551โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯจำนวน 1,089 คน กระจายไปตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา สามารถสรุปผลได้ดังนี้
ความเชื่อสุภาษิตไทยของชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ลดลงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ1 ในสุภาษิต “ เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ” (ร้อยละ 0.37) “ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ” (ร้อยละ0.33) “ จับปลาสองมือ ” (ร้อยละ0.82) และ “ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ” (ร้อยละ0.12) สุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯเชื่อและยึดถือปฏิบัติเพิ่มมากที่สุด คือ “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ” (ร้อยละ88) เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18 — 21 ปี ยังมีความเชื่อและยึดถือปฏิบัติ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” และ “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากกว่าสุภาษิตอื่นเหมือนเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา
สุภาษิตที่ยึดถือปฏิบัติในปัจจุบันน้อยที่สุดคือ “ จับปลาสองมือ ” เมื่อเทียบกับสุภาษิต “ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ” ที่ยึดถือปฏิบัติน้อยที่สุดใน 3 เดือนที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯในวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 22 — 29 ปี ในปัจจุบันมีความเชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 91 ) รองลงมาคือ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ซึ่งเคยเป็นสุภาษิตที่เชื่อกันมากที่สุดเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว สุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯยึดถือปฏิบัติน้อยที่สุดในปัจจุบัน คือ “ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ” (ร้อยละ 78) ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งชาวกรุงเทพฯมีความเชื่อน้อยสุดในเรื่อง “ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ”สำหรับชาวกรุงเทพฯวัยกลางคนที่อายุระหว่าง 30 — 49 ปี ยึดถือสุภาษิต “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 90) ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาที่ยึดถือ “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” มากที่สุด
ส่วนชาวกรุงเทพฯในวัยสูงอายุที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมีความเชื่อในเรื่อง “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากที่สุด (ร้อยละ 93)ซึ่งต่างกับ3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุดส่วนสุภาษิตที่ชาวกรุงเทพฯในวัยสูง อายุยึดถือน้อยที่สุดในปัจจุบัน (ร้อยละ 82) คือ “ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ” ซึ่งต่างกับ 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อเรื่อง “ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ” น้อยที่สุด
ในปัจจุบันชาวกรุงเทพฯที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความเชื่อในเรื่อง “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ” มากที่สุด (ร้อยละ90) ซึ่งต่างจาก 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด สำหรับผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา มีความเชื่อในเรื่อง “ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ” มากที่สุด (ร้อยละ 91) ซึ่งต่างจาก 3 เดือนที่ผ่านมาที่เชื่อในเรื่อง “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” มากที่สุด ส่วนผู้ที่ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีความเชื่อในเรื่อง “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” (ร้อยละ 90) มากที่สุด และไม่แตกต่างจากเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-