ชาวกรุงเทพฯ มองรัฐบาลว่ายังแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้น้อย
จากการสอบถามความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ 1,347 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ กัน เกี่ยวกับนโยบายเร่งด่วน
ที่รัฐบาลทำภายหลังเข้าบริหารประเทศ 3 เดือน พบว่านโยบายที่รัฐบาลทำมาก 3 ลำดับแรกได้แก่ การเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผล
กระทบจากวิกฤตโลกร้อน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล นโยบายที่รัฐบาลทำค่อนข้างน้อยใน 3 ลำดับสุดท้ายได้แก่ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพ
ระบบชลประทาน การวางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม และการขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
และสถาบันอาชีวศึกษา
เมื่อวัดระดับความพึงพอใจของชาวกรุงเทพฯที่มีต่อผลงานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วน 3 ลำดับแรก คือ ชาวกรุงเทพฯพึง
พอใจต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มากที่สุด ที่พึงพอใจรองลงมาคือการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อ
บรรเทาผลกระทบต่อวิกฤตโลกร้อน และการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่งถึง เช่น โครงการเอื้ออาทร ส่วน 3 ผลงานที่
ชาวกรุงเทพฯ พอใจน้อยที่สุด ได้แก่ การวางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม การดำเนินมาตรการในการ
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินการมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน
เมื่อกล่าวโดยสรุป ชาวกรุงเทพฯเห็นว่ารัฐบาลพอจะมีผลงานอยู่บ้างก็เฉพาะการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก
วิกฤติโลกร้อน แต่ก็ยังไม่ค่อยพึงพอใจต่อผลงานที่ทำในช่วงที่เข้ามาบริหารประเทศ 3 เดือนแรกมากนัก
ความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับผลงานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนที่ได้สัญญาไว้ภายหลังเข้าบริหารประเทศ
3 เดือน และความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน
นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลสัญญาว่าจะดำเนินการก่อนเข้าบริหารประเทศ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯเกี่ยวกับ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน
งานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วน (ความพึงพอใจต่ำสุดคือ 1 สูงสุดคือ 5)
ที่ได้สัญญาไว้ภายหลังเข้าบริหารประเทศ 3 เดือน
( ผลงานต่ำสุดคือ 1 สูงสุดคือ 5 )
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย 2.9 2.5
2. แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางพระราชทาน 2.9 2.5
3. เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล 2.9 2.5
4. ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน 2.8 2.4
5. เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 2.8 2.5
6. จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากรให้ครบทุกหมู่บ้าน (หมู่บ้าน SML) 2.8 2.5
7. สานต่อโครงการธนาคารประชาชน 2.8 2.4
8. สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2.9 2.5
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 3.1 2.8
10. พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน 2.9 2.6
11. สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร 2.8 2.5
12. ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน(Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา 2.7 2.5
13. สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร 3 2.6
14. เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล 9 สาย 3 2.6
15. ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน 2.8 2.4
16. ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 2.9 2.5
17. วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม 2.7 2.4
18. ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน 2.8 2.5
19. เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน 3.1 2.7
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
จากการสอบถามความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ 1,347 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ กัน เกี่ยวกับนโยบายเร่งด่วน
ที่รัฐบาลทำภายหลังเข้าบริหารประเทศ 3 เดือน พบว่านโยบายที่รัฐบาลทำมาก 3 ลำดับแรกได้แก่ การเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผล
กระทบจากวิกฤตโลกร้อน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล นโยบายที่รัฐบาลทำค่อนข้างน้อยใน 3 ลำดับสุดท้ายได้แก่ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพ
ระบบชลประทาน การวางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม และการขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
และสถาบันอาชีวศึกษา
เมื่อวัดระดับความพึงพอใจของชาวกรุงเทพฯที่มีต่อผลงานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วน 3 ลำดับแรก คือ ชาวกรุงเทพฯพึง
พอใจต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มากที่สุด ที่พึงพอใจรองลงมาคือการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อ
บรรเทาผลกระทบต่อวิกฤตโลกร้อน และการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่งถึง เช่น โครงการเอื้ออาทร ส่วน 3 ผลงานที่
ชาวกรุงเทพฯ พอใจน้อยที่สุด ได้แก่ การวางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม การดำเนินมาตรการในการ
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินการมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน
เมื่อกล่าวโดยสรุป ชาวกรุงเทพฯเห็นว่ารัฐบาลพอจะมีผลงานอยู่บ้างก็เฉพาะการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก
วิกฤติโลกร้อน แต่ก็ยังไม่ค่อยพึงพอใจต่อผลงานที่ทำในช่วงที่เข้ามาบริหารประเทศ 3 เดือนแรกมากนัก
ความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับผลงานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนที่ได้สัญญาไว้ภายหลังเข้าบริหารประเทศ
3 เดือน และความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน
นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลสัญญาว่าจะดำเนินการก่อนเข้าบริหารประเทศ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯเกี่ยวกับ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน
งานที่รัฐบาลทำเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วน (ความพึงพอใจต่ำสุดคือ 1 สูงสุดคือ 5)
ที่ได้สัญญาไว้ภายหลังเข้าบริหารประเทศ 3 เดือน
( ผลงานต่ำสุดคือ 1 สูงสุดคือ 5 )
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย 2.9 2.5
2. แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางพระราชทาน 2.9 2.5
3. เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล 2.9 2.5
4. ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน 2.8 2.4
5. เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 2.8 2.5
6. จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากรให้ครบทุกหมู่บ้าน (หมู่บ้าน SML) 2.8 2.5
7. สานต่อโครงการธนาคารประชาชน 2.8 2.4
8. สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2.9 2.5
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 3.1 2.8
10. พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน 2.9 2.6
11. สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร 2.8 2.5
12. ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน(Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา 2.7 2.5
13. สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร 3 2.6
14. เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล 9 สาย 3 2.6
15. ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน 2.8 2.4
16. ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 2.9 2.5
17. วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม 2.7 2.4
18. ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน 2.8 2.5
19. เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน 3.1 2.7
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-