"ความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯเกี่ยวกับสุภาษิต” "ธุรกิจบัณฑิตย์โพล เรื่องความเชื่อของชาวกรุงเทพฯที่มีต่อสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย"
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพ”ที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเมื่อปลายเดือน กรกฎาคม 2551 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯจำนวน 1,138 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ กันสรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้
ในปัจจุบันความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมของชาวกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา ความเชื่อเรื่อง “อย่าจับปลาสองมือ” ลดลงมากถึงร้อยละ 5.90 แต่ความเชื่อเรื่อง “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” และ “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85
เมื่อพิจารณาตามเพศของชาวกรุงเทพฯพบว่าความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมของเพศชายลดลงร้อยละ 1.34 และของเพศหญิงลดลงร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาตามวัยของชาวกรุงเทพฯ พบว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 18 — 21 ปีมีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา ในวัยทำงานอายุ 22 — 29 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 1.79 ในวัยกลางคนอายุ 30 — 49 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 0.41 สำหรับในวัยสูงอายุ 50 — 59 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.18 แต่เมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษาของชาวกรุงเทพ”พบว่ากลุ่มผู้มีการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 5.87 กลุ่มผู้มีการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่ามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงลดลงร้อยละ 1.18 และกลุ่มผู้มีการศึกษามัธยมศึกษา / อาชีวศึกษามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงเพียงร้อยละ 0.61
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพ”ที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเมื่อปลายเดือน กรกฎาคม 2551 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯจำนวน 1,138 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ กันสรุปผลที่สำคัญได้ดังนี้
ในปัจจุบันความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมของชาวกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา ความเชื่อเรื่อง “อย่าจับปลาสองมือ” ลดลงมากถึงร้อยละ 5.90 แต่ความเชื่อเรื่อง “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” และ “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85
เมื่อพิจารณาตามเพศของชาวกรุงเทพฯพบว่าความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมของเพศชายลดลงร้อยละ 1.34 และของเพศหญิงลดลงร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาตามวัยของชาวกรุงเทพฯ พบว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 18 — 21 ปีมีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา ในวัยทำงานอายุ 22 — 29 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 1.79 ในวัยกลางคนอายุ 30 — 49 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงร้อยละ 0.41 สำหรับในวัยสูงอายุ 50 — 59 ปี ความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.18 แต่เมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษาของชาวกรุงเทพ”พบว่ากลุ่มผู้มีการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 5.87 กลุ่มผู้มีการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่ามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงลดลงร้อยละ 1.18 และกลุ่มผู้มีการศึกษามัธยมศึกษา / อาชีวศึกษามีความเชื่อในสุภาษิตไทยโดยรวมลดลงเพียงร้อยละ 0.61
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-