หนึ่งในสี่ของสตรีไทยยุคดิจิตัลเห็นว่าการรักนวลสงวนตัวเป็นคำสอนที่คร่ำครึและคิดว่าพรหมจรรย์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นต้องหวงแหนถ้าคนเรารักกัน
คำกล่าวหรือสุภาษิตสอนหญิงที่คนโบราณสอนไว้ในอดีต เพื่อเตือนใจถึงความประพฤติของสตรีไทย เป็นเรื่องน่าเชื่อถือแล้วหรือไม่ในสังคมปัจจุบัน ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยสอบถามสตรีที่ผ่านการสมรสแล้วจำนวน 1,589 คน จากทุกระดับอายุ อาชีพ และการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 — 17 ธันวาคม 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
คำกล่าว / คำสอนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคู่
1.1 คำกล่าวที่ว่า “ลูกเปรียบเหมือนโซ่ทองคล้องใจ” ร้อยละ 82 เห็นด้วย ร้อยละ 8 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 2 ไม่มีความคิดเห็น
1.2 คำกล่าวที่ว่า “เพราะรักกันจึงอยู่ด้วยกัน แม้จะกัดก้อนเกลือกิน”พบว่าร้อยละ 45 เห็นด้วย ร้อยละ 37 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 12 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6 ไม่มีความคิดเห็น และพบว่าสตรีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เห็นด้วยมากกว่าสตรีในช่วงอายุอื่นๆ
1.3 คำกล่าวที่ว่า “เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร” พบว่ามีเพียงร้อยละ 44 เท่านั้นที่เห็นด้วย ร้อยละ 38 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 10 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 8 ไม่มีความเห็น คำกล่าวนี้สตรีที่มีอายุ 25 — 29 ปี เห็นด้วยถึงร้อยละ 51 สตรีที่มีอายุ 30 — 39 ปี เห็นด้วยเพียงร้อยละ 38 และสตรีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เห็นด้วยร้อยละ 41
1.4 คำกล่าวที่ว่า “อยู่กันไปนานๆ ก็รักกันเอง” พบว่าร้อยละ 53 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 27 เห็นด้วย ร้อยละ 20 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6 ไม่มีความเห็น คำกล่าวนี้สตรีที่มีอายุไม่เกิน 39 ปี เห็นด้วยน้อยมากกว่าสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
คำกล่าวที่เกี่ยวข้องกับสตรีโสด
2.1 คำกล่าวที่ว่า “ผู้หญิงแต่งตัวโป๊เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ถูกลวนลามทางเพศ” พบว่าร้อยละ 84 เห็นด้วย ร้อยละ 9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 2 ไม่มีความคิดเห็น
2.2 คำกล่าวที่ว่า “รักนวลสงวนตัวเป็นคำสอนที่คร่ำครึไปแล้ว” พบว่าร้อยละ 60 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 11 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4 ไม่มีความเห็น
2.3 คำกล่าวที่ว่า “พรหมจรรย์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่จะต้องหวงแหนถ้าคนเรารักกัน” พบว่าร้อยละ 61 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 9 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 5 ไม่มีความเห็น
2.4 คำกล่าวที่ว่า “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” พบว่าร้อยละ 60 เห็นด้วย ร้อยละ 20 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 5 ไม่มีความเห็น
2.5 คำกล่าวที่ว่า “จะแต่งงานกับใคร ควรจะให้พ่อแม่เห็นชอบก่อน” พบว่าร้อยละ 61 เห็นด้วย ร้อยละ 23 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 10 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7 ไม่มีความเห็น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
คำกล่าวหรือสุภาษิตสอนหญิงที่คนโบราณสอนไว้ในอดีต เพื่อเตือนใจถึงความประพฤติของสตรีไทย เป็นเรื่องน่าเชื่อถือแล้วหรือไม่ในสังคมปัจจุบัน ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยสอบถามสตรีที่ผ่านการสมรสแล้วจำนวน 1,589 คน จากทุกระดับอายุ อาชีพ และการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 — 17 ธันวาคม 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
คำกล่าว / คำสอนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคู่
1.1 คำกล่าวที่ว่า “ลูกเปรียบเหมือนโซ่ทองคล้องใจ” ร้อยละ 82 เห็นด้วย ร้อยละ 8 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 2 ไม่มีความคิดเห็น
1.2 คำกล่าวที่ว่า “เพราะรักกันจึงอยู่ด้วยกัน แม้จะกัดก้อนเกลือกิน”พบว่าร้อยละ 45 เห็นด้วย ร้อยละ 37 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 12 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6 ไม่มีความคิดเห็น และพบว่าสตรีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เห็นด้วยมากกว่าสตรีในช่วงอายุอื่นๆ
1.3 คำกล่าวที่ว่า “เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร” พบว่ามีเพียงร้อยละ 44 เท่านั้นที่เห็นด้วย ร้อยละ 38 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 10 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 8 ไม่มีความเห็น คำกล่าวนี้สตรีที่มีอายุ 25 — 29 ปี เห็นด้วยถึงร้อยละ 51 สตรีที่มีอายุ 30 — 39 ปี เห็นด้วยเพียงร้อยละ 38 และสตรีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เห็นด้วยร้อยละ 41
1.4 คำกล่าวที่ว่า “อยู่กันไปนานๆ ก็รักกันเอง” พบว่าร้อยละ 53 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 27 เห็นด้วย ร้อยละ 20 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6 ไม่มีความเห็น คำกล่าวนี้สตรีที่มีอายุไม่เกิน 39 ปี เห็นด้วยน้อยมากกว่าสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
คำกล่าวที่เกี่ยวข้องกับสตรีโสด
2.1 คำกล่าวที่ว่า “ผู้หญิงแต่งตัวโป๊เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ถูกลวนลามทางเพศ” พบว่าร้อยละ 84 เห็นด้วย ร้อยละ 9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 2 ไม่มีความคิดเห็น
2.2 คำกล่าวที่ว่า “รักนวลสงวนตัวเป็นคำสอนที่คร่ำครึไปแล้ว” พบว่าร้อยละ 60 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 11 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4 ไม่มีความเห็น
2.3 คำกล่าวที่ว่า “พรหมจรรย์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่จะต้องหวงแหนถ้าคนเรารักกัน” พบว่าร้อยละ 61 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 9 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 5 ไม่มีความเห็น
2.4 คำกล่าวที่ว่า “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” พบว่าร้อยละ 60 เห็นด้วย ร้อยละ 20 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 5 ไม่มีความเห็น
2.5 คำกล่าวที่ว่า “จะแต่งงานกับใคร ควรจะให้พ่อแม่เห็นชอบก่อน” พบว่าร้อยละ 61 เห็นด้วย ร้อยละ 23 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 10 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7 ไม่มีความเห็น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-