เกือบครึ่งหนึ่งของภรรยาคิดว่าความรุนแรงในครอบครัวมีสาเหตุด้านการเงินเป็นลำดับแรกและถ้าต้องการความช่วยเหลือจะนึกถึงมูลนิธิปวีณามากที่สุด
บางครั้งเมื่อเกิดความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว โดยส่วนใหญ่สามีจะเป็นผู้ลงมือทำร้ายภรรยา ผู้เป็นภรรยามีความคิดเห็นอย่างไร ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าอะไรคือสาเหตุของความรุนแรง ตลอดจนวิธีการแก้ไขความรุนแรงใน หัวข้อ “รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี” โดยทำการสอบถามเฉพาะสตรีที่ผ่านการสมรสแล้วจำนวน 1,589 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา และอายุ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 40.5 เห็นว่ามาจากปัญหาการเงิน รองลงมาร้อยละ 20.0 เกิดจากการนอกใจ ร้อยละ 18.2 เกิดจากการไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ร้อยละ 12.2 เกิดจากการไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคู่ชีวิตนอกจากนั้นเป็นปัญหามาจากการใช้สารเสพติด ปัญหาสุขภาพ
2. มีภรรยาเพียง ร้อยละ 17.4 เท่านั้น ที่เคยถูกทำร้ายโดยสามี โดยระดับความรุนแรงที่เคยถูกทำร้ายเรียงลำดับได้ดังนี้ ตบ/ตี/เตะ/ต่อย (ร้อยละ 46.9) พูดจาด่าทอ/ส่อเสียด/เหยียดหยาม (ร้อยละ 38.8) พูดจาข่มขู่ (ร้อยละ 7.7) ใช้วัสดุของแข็งทุบตี (ร้อยละ 3.7) ใช้อาวุธ/ของมีคมทำร้าย (ร้อยละ 2.9) โดยภรรยาที่เคยถูกทำร้ายนี้มีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้น ที่ได้แจ้งความดำเนินคดีโดยให้เหตุผลว่าจะได้เป็นตัวอย่าง บาดเจ็บ โมโหและน้อยใจ ส่วนที่ไม่แจ้งความนั้นให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรง กลัวสามีติดคุก เป็นเรื่องภาย-ในครอบครัว อาย ให้อภัยเพราะรัก
3. เมื่อถามถึงรูปแบบความรุนแรงที่เคยถูกทำร้ายซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ทำร้ายโดยบาดเจ็บทางกายกับทำร้ายทางวาจา พบว่าภรรยาส่วนใหญ่ที่ถูกทำร้ายทางร่างกายมีถึง ร้อยละ 52.8 โดยวิธีการที่นำมาใช้มากที่สุด คือ การตบ/ตี/เตะ/ต่อย (ร้อยละ 90.9) ใช้วัสดุของแข็งทุบตี (ร้อยละ 7.0) ใช้อาวุธ/ของมีคมทำร้าย (ร้อยละ 2.1) ส่วนภรรยาที่ถูกทำร้ายทางวาจาซึ่งมี ร้อยละ 46.5 นั้น ในจำนวนนี้พบว่าวิธีการที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด คือ การพูดจาด่าทอส่อเสียด เหยียดหยาม (ร้อยละ 83.4) การพูดจาข่มขู่ (ร้อยละ 16.5) แต่อย่างไรก็ตามาพบว่ามีถึงร้อยละ 0.7 ที่ตอบว่าไม่เคยถูกทำร้ายจากสามี
4. ในกรณีเกิดความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 50.5 คิดจะขอความช่วยเหลือโดยในจำนวนนี้นึกถึงมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นอันดับแรก (ร้อยละ 50.1) รองลงมาคือตำรวจ (ร้อยละ 19.6) องค์กรสิทธิสตรีต่างๆ (ร้อยละ 15.5) มูลนิธิเพื่อนหญิง (ร้อยละ 8.8) ศูนย์ประชาบดี 1300 (ร้อยละ 0.8) และรัฐบาล (ร้อยละ 0.7)
ส่วนอีกร้อยละ 49.5 ที่ไม่คิดขอความช่วยเหลือจากใคร ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวและคิดว่าคงจะแก้ไขปัญหานี้ได้เอง(ร้อยละ 72.8) คิดว่าเป็นเวรกรรม(ร้อยละ 12.5) และอับอาย(ร้อยละ 10.0)
5. กรณีเห็นครอบครัวอื่นโดยเฉพาะสามีกำลังทำร้ายร่างกายภรรยานั้น พบว่าร้อยละ41.0 จะแจ้งตำรวจ ในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่าเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต(ร้อยละ 85.5) ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น(ร้อยละ 7.0) นอกนั้นเพราะสงสารเนื่องจากเป็นเพศเดียวกันและเป็นเพื่อนบ้าน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 59.0 ที่ไม่แจ้งตำรวจนั้นเพราะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว (ร้อยละ 76.1) คิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ร้อยละ 13.5) ธุระไม่ใช่ (ร้อย-ละ 10.5)
6. เมื่อสอบถามถึงสิ่งยึดเหนี่ยวให้ครอบครัวอยู่ตลอดไปนั้น พบว่าร้อยละ 61.2 เห็นว่าลูกเป็นสาเหตุสำคัญ และถึงแม้ตนเองจะมีปัญหาชีวิตคู่ ร้อยละ 92.9 ตอบว่าไม่เคยคิดจะฆ่าตัวตาย
7. และเมื่อถามต่อไปว่าถ้าย้อนเวลาได้จะเลือกสามีคนเดิมอยู่หรือไม่นั้น ร้อยละ 69.3 ตอบว่ายังคงเลือกคนเดิม โดยให้เหตุผลว่าเพราะสามีเป็นคนดี รักและเข้าใจภรรยา ช่วยทำมาหากิน ไม่เคยทำร้าย ให้เกียรติ มีความสุขและอยู่กันมานาน ในขณะที่ ร้อยละ 30.7 ตอบว่าขอเปลี่ยนคนใหม่โดยให้เหตุผลว่าความคิดเห็นไม่ตรงกัน เป็นคนนิสัยไม่ดี เจ้าชู้ กินเหล้า ขี้เกียจ ไม่มีความรับผิดชอบ และอยากจะอยู่คนเดียว
8. ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยรัฐบาลนั้น ร้อยละ 36.5 คิดว่าให้ความสำคัญเรื่องนี้น้อย ร้อยละ 31.1 ให้ความสำคัญมาก ร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจและร้อยละ 9.0 ไม่ให้ความสำคัญ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
บางครั้งเมื่อเกิดความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว โดยส่วนใหญ่สามีจะเป็นผู้ลงมือทำร้ายภรรยา ผู้เป็นภรรยามีความคิดเห็นอย่างไร ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าอะไรคือสาเหตุของความรุนแรง ตลอดจนวิธีการแก้ไขความรุนแรงใน หัวข้อ “รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี” โดยทำการสอบถามเฉพาะสตรีที่ผ่านการสมรสแล้วจำนวน 1,589 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา และอายุ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 40.5 เห็นว่ามาจากปัญหาการเงิน รองลงมาร้อยละ 20.0 เกิดจากการนอกใจ ร้อยละ 18.2 เกิดจากการไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ร้อยละ 12.2 เกิดจากการไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคู่ชีวิตนอกจากนั้นเป็นปัญหามาจากการใช้สารเสพติด ปัญหาสุขภาพ
2. มีภรรยาเพียง ร้อยละ 17.4 เท่านั้น ที่เคยถูกทำร้ายโดยสามี โดยระดับความรุนแรงที่เคยถูกทำร้ายเรียงลำดับได้ดังนี้ ตบ/ตี/เตะ/ต่อย (ร้อยละ 46.9) พูดจาด่าทอ/ส่อเสียด/เหยียดหยาม (ร้อยละ 38.8) พูดจาข่มขู่ (ร้อยละ 7.7) ใช้วัสดุของแข็งทุบตี (ร้อยละ 3.7) ใช้อาวุธ/ของมีคมทำร้าย (ร้อยละ 2.9) โดยภรรยาที่เคยถูกทำร้ายนี้มีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้น ที่ได้แจ้งความดำเนินคดีโดยให้เหตุผลว่าจะได้เป็นตัวอย่าง บาดเจ็บ โมโหและน้อยใจ ส่วนที่ไม่แจ้งความนั้นให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรง กลัวสามีติดคุก เป็นเรื่องภาย-ในครอบครัว อาย ให้อภัยเพราะรัก
3. เมื่อถามถึงรูปแบบความรุนแรงที่เคยถูกทำร้ายซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ทำร้ายโดยบาดเจ็บทางกายกับทำร้ายทางวาจา พบว่าภรรยาส่วนใหญ่ที่ถูกทำร้ายทางร่างกายมีถึง ร้อยละ 52.8 โดยวิธีการที่นำมาใช้มากที่สุด คือ การตบ/ตี/เตะ/ต่อย (ร้อยละ 90.9) ใช้วัสดุของแข็งทุบตี (ร้อยละ 7.0) ใช้อาวุธ/ของมีคมทำร้าย (ร้อยละ 2.1) ส่วนภรรยาที่ถูกทำร้ายทางวาจาซึ่งมี ร้อยละ 46.5 นั้น ในจำนวนนี้พบว่าวิธีการที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด คือ การพูดจาด่าทอส่อเสียด เหยียดหยาม (ร้อยละ 83.4) การพูดจาข่มขู่ (ร้อยละ 16.5) แต่อย่างไรก็ตามาพบว่ามีถึงร้อยละ 0.7 ที่ตอบว่าไม่เคยถูกทำร้ายจากสามี
4. ในกรณีเกิดความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 50.5 คิดจะขอความช่วยเหลือโดยในจำนวนนี้นึกถึงมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นอันดับแรก (ร้อยละ 50.1) รองลงมาคือตำรวจ (ร้อยละ 19.6) องค์กรสิทธิสตรีต่างๆ (ร้อยละ 15.5) มูลนิธิเพื่อนหญิง (ร้อยละ 8.8) ศูนย์ประชาบดี 1300 (ร้อยละ 0.8) และรัฐบาล (ร้อยละ 0.7)
ส่วนอีกร้อยละ 49.5 ที่ไม่คิดขอความช่วยเหลือจากใคร ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวและคิดว่าคงจะแก้ไขปัญหานี้ได้เอง(ร้อยละ 72.8) คิดว่าเป็นเวรกรรม(ร้อยละ 12.5) และอับอาย(ร้อยละ 10.0)
5. กรณีเห็นครอบครัวอื่นโดยเฉพาะสามีกำลังทำร้ายร่างกายภรรยานั้น พบว่าร้อยละ41.0 จะแจ้งตำรวจ ในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่าเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต(ร้อยละ 85.5) ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น(ร้อยละ 7.0) นอกนั้นเพราะสงสารเนื่องจากเป็นเพศเดียวกันและเป็นเพื่อนบ้าน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 59.0 ที่ไม่แจ้งตำรวจนั้นเพราะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว (ร้อยละ 76.1) คิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ร้อยละ 13.5) ธุระไม่ใช่ (ร้อย-ละ 10.5)
6. เมื่อสอบถามถึงสิ่งยึดเหนี่ยวให้ครอบครัวอยู่ตลอดไปนั้น พบว่าร้อยละ 61.2 เห็นว่าลูกเป็นสาเหตุสำคัญ และถึงแม้ตนเองจะมีปัญหาชีวิตคู่ ร้อยละ 92.9 ตอบว่าไม่เคยคิดจะฆ่าตัวตาย
7. และเมื่อถามต่อไปว่าถ้าย้อนเวลาได้จะเลือกสามีคนเดิมอยู่หรือไม่นั้น ร้อยละ 69.3 ตอบว่ายังคงเลือกคนเดิม โดยให้เหตุผลว่าเพราะสามีเป็นคนดี รักและเข้าใจภรรยา ช่วยทำมาหากิน ไม่เคยทำร้าย ให้เกียรติ มีความสุขและอยู่กันมานาน ในขณะที่ ร้อยละ 30.7 ตอบว่าขอเปลี่ยนคนใหม่โดยให้เหตุผลว่าความคิดเห็นไม่ตรงกัน เป็นคนนิสัยไม่ดี เจ้าชู้ กินเหล้า ขี้เกียจ ไม่มีความรับผิดชอบ และอยากจะอยู่คนเดียว
8. ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยรัฐบาลนั้น ร้อยละ 36.5 คิดว่าให้ความสำคัญเรื่องนี้น้อย ร้อยละ 31.1 ให้ความสำคัญมาก ร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจและร้อยละ 9.0 ไม่ให้ความสำคัญ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-