ความหมาย
การกู้เงินรายย่อยนอกระบบ หมายถึง การกู้เงินจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ สถาบันที่ตั้งขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการ
ให้เงินกู้ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท
หลักการและเหตุผล
ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยขาดโอกาสในการกู้เงินในระบบ อาทิ เช่น ธนาคารพาณิชย์ เพราะมีหลักเกณฑ์ในการกู้อย่าง
รอบคอบ ครั้นจะไปขอกู้จากโรงรับจำนำ บางครั้งก็อาจจะได้รับเงินน้อย เพราะขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักทรัพย์ ดังนั้นแหล่งเงินกู้ที่พอจะช่วยเหลือแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องใช้เงินได้ก็คือ การกู้เงินจากนอกระบบ จึงเป็นที่มาของธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ในเรื่องการกู้เงินรายย่อยนอกระบบ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาสาเหตุ และวัตถุประสงค์ของการกู้เงินนอกระบบ
2. เพื่อต้องการทราบวงเงินกู้ วิธีการคิดดอกเบี้ย และความสามารถในการผ่อนชำระ
3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิจัยต่อไป
ระเบียบวิธีการวิจัย
ตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่เคย หรือ กำลังกู้เงินนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,089 ตัวอย่าง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ
โดยมอบให้นักศึกษาภายใต้การควบคุมของ Supervisor ออกไปสัมภาษณ์ตัวอย่างตามสถานที่กำหนดในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-7
มกราคม 2545
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
หนึ่งในสี่ของผู้กู้ที่ผิดเวลาชำระหนี้เงินกู้จากนายทุนนอกระบบจะถูกขู่ทำร้าย
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,089 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องการกู้เงิน
ย่อยนอกระบบ ซึ่งเป็นการกู้เงินจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้เงินกู้ ในวงเงินครั้งละไม่เกิน
30,000 บาท พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 27กู้ยืมจากญาติพี่น้อง ร้อยละ 26 เล่นแชร์ในระหว่างเพื่อนฝูง ร้อยละ 23 กู้ยืมจากเพื่อน และอีกร้อยละ 20
เป็นการกู้ยืมจากนายทุนรายย่อยนอกระบบ
- เพศหญิงนิยมเล่นแชร์มากกว่าชาย โดยเพศหญิงเล่นแชร์ร้อยละ 8 และเพศชายเล่นแชร์ร้อยละ 14 ผู้มีอาชีพส่วนตัว เช่น ขายของ
ชำ แม่ค้าในตลาดสด รถเข็นขายผลไม้ ส้มตำ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ นิยมเล่นแชร์ถึงร้อยละ 29 รองลงมาคือ อาชีพลูกจ้างเอกชน และรับ
ราชการ ซึ่งเล่นแชร์ ร้อยละ 24 และ 21 ตามลำดับ
- สาเหตุสำคัญที่สุดที่มีการกู้ยืมเงินนอกระบบซึ่งมีถึงร้อยละ 31 เพราะการกู้ยืมไม่ยุ่งยาก รองลงมาคือ ร้อยละ 28 กู้เพราะได้เงินกู้
เร็ว และอีกร้อยละ 26 กู้เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
- วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินนอกระบบพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 85 นำไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของตน
และครอบครัว เช่น ซื้ออาหาร ซื้อของใช้ จ่ายค่าเล่าเรียนบุตร นำไปลงทุน และจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ยังมีผู้กู้อีกร้อยละ 7 ไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำ
เป็น เช่น เล่นการพนัน ซื้อยาเสพติด สุรา นำไปใช้หนี้เงินกู้ และไปเที่ยว
- วงเงินกู้ยืมที่กู้กันทั่วไปอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท กู้ระยะเวลาที่กู้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15-30 วัน ซึ่งดอกเบี้ยจ่ายพร้อมเงิน
ต้นเป็นรายเดือน หรือดอกเบี้ยจ่ายพร้อมเงินต้นเป็นรายวัน คิดเป็นร้อยละ 46 และ 14 ตามลำดับ ผู้กู้ส่วนใหญ่ร้อยละ 84 จะได้เงินต้นเต็มจำนวนโดย
ไม่มีการหักดอกเบี้ยก่อน
- ในการกู้เงินโดยไม่ต้องมีอะไรมาค้ำประกันมีถึงร้อยละ 68 และที่ใช้บุคคลค้ำประกันมีร้อยละ 14 โดยผู้กู้ส่วนใหญ่ร้อยละ 51 สามารถ
ชำระเงินกู้ตรงตามสัญญา ในจำนวนนี้ชำระครั้งเดียวหมดมีถึงร้อยละ 33
- เมื่อผู้กู้ผิดชำระหนี้พบว่าร้อยละ 46 สามารถเจรจากับนายทุนให้ยอมผ่อนผันได้โดยการเสียดอกเบี้ยเพิ่ม ร้อยละ 18 จะถูกยึดสิ่งของที่
นำมาค้ำประกัน และอีกร้อยละ 25 จะถูกขู่ทำร้าย
ตารางที่ 1 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามเพศ
เพศ ร้อยละ
ชาย 45.1
หญิง 54.9
รวม 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามอายุ
อายุ ร้อยละ
20-24 ปี 25.3
25-29 ปี 19.7
30-39 ปี 32.2
40 ปีขึ้นไป 22.2
ไม่ระบุ 0.6
รวม 100.0
ตารางที่ 3 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพสมรส
สถานภาพสมรส ร้อยละ
สมรส 46.5
โสด 46.9
อื่นๆ (หย่า, หม้าย) 0.7
ไม่ระบุ 5.9
รวม 100.0
ตารางที่ 4 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา ร้อยละ
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 26.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 32.4
อนุปริญญา/ปริญญาตรี หรือสูงกว่า 40.6
ไม่ระบุ 0.8
รวม 100.0
ตารางที่ 5 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามอาชีพ
อาชีพ ร้อยละ
รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 16.7
ลูกจ้างเอกชน 22.5
แม่บ้าน 6.6
ทำงานส่วนตัว 27.3
ช่วยธุรกิจครอบครัว 3.4
นักศึกษา 15.5
อื่น ๆ 3.2
ไม่ระบุ 4.8
รวม 100.0
ตารางที่ 6 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามแหล่งเงินกู้
แหล่งเงินกู้ ร้อยละ
เล่นแชร์ 25.5
กู้ยืมจากนายทุนรายย่อย 18.9
กู้ยืมญาติพี่น้อง 27.3
กู้ยืมจากเพื่อน 22.7
อื่นๆ 3.3
ไม่ระบุ 2.3
รวม 100.0
ตารางที่ 7 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการกู้
เหตุผลการกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
กู้ยืมไม่ยุ่งยากและสะดวก 30.7
ได้เงินกู้เร็ว 27.5
หาแหล่งเงินกู้ได้ง่าย 9.0
ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน 26.0
อื่นๆ 4.7
ไม่ระบุ 2.3
รวม 100.0
ตารางที่ 8 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามสาเหตุการกู้เงินนอกระบบ
สาเหตุการกู้เงินนอกระบบ ร้อยละ
ใช้จ่ายซื้ออาหารและสิ่งจำเป็น 37.2
การศึกษาของบุตร 10.4
นำไปลงทุน 30.8
นำไปใช้หนี้เงินกู้ที่อื่น 4.9
รักษาพยาบาล 3.1
นำไปออกกู้ต่อ 1.3
เล่นการพนัน 1.2
ซื้อยาเสพติด 0.2
ไปเที่ยว 2.9
ซื้อสุรา 0.3
อื่น ๆ 5.9
ไม่ระบุ 1.7
รวม 100.0
ตารางที่ 9 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการจ่ายดอกเบี้ย
ลักษณะการจ่ายดอกเบี้ย ร้อยละ
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายวัน 13.7
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายสัปดาห์ 3.9
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นราย ๑๕ วัน 6.5
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายเดือน 46.2
อื่น ๆ 24.00
ไม่ระบุ 5.7
รวม 100.0
ตารางที่ 10 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการได้รับเงินกู้
ลักษณะการได้รับเงินกู้ ร้อยละ
รับเงินต้นเต็มจำนวน 83.8
รับเงินต้นไม่เต็มจำนวน 11.6
อื่น ๆ 3.0
ไม่ระบุ 1.6
รวม 100.0
ตารางที่ 11 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการคิดดอกเบี้ย
ลักษณะการคิดดอกเบี้ย ร้อยละ
หักดอกเบี้ยพร้อมต้น 52.9
หักต้นก่อน 11.3
อื่น ๆ 29.5
ไม่ระบุ 6.3
รวม 100.0
ตารางที่ 12 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามสิ่งที่นำมาใช้ในการค้ำประกัน
สิ่งที่นำมาใช้ในการค้ำประกัน ร้อยละ
ไม่ต้องใช้ 67.9
บุคคลค้ำประกัน 13.4
เครื่องใช้ไฟฟ้า 1.3
ยานพาหนะ 1.0
เอกสารที่ดิน 3.9
เครื่องประดับราคาแพง 1.0
เช็ค 0.7
อื่น ๆ 8.9
ไม่ระบุ 1.9
รวม 100.0
ตารางที่ 13 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามความสามารถการชำระหนี้
ความสามารถการชำระหนี้ ร้อยละ
ชำระครั้งเดียวหมด 33.0
ชำระตรงตามสัญญา 51.3
ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา 3.0
ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาแต่ได้รับการผ่อนผัน 11.7
ไม่ระบุ 1.0
รวม 100.0
ตารางที่ 14 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามผลที่ได้รับจากการผิดนัดชำระหนี้
ผลที่ได้รับจากการผิดเวลาชำระหนี้ ร้อยละ
ถูกยึดสิ่งที่นำมาค้ำประกัน 17.6
ผ่อนผันได้แต่ต้องเสียดอกเบี้ย 45.8
ถูกขู่ทำร้ายทันทีที่ผิดนัดครั้งแรก 7.7
ถูกขู่ทำร้ายหลังจากผิดนัดชำระหนี้มาหลายครั้ง 10.6
ถูกทำร้ายร่างกายทันทีที่ผิดนัดครั้งแรก 2.0
ถูกทำร้ายร่างกายเมื่อผิดนัดชำระหนี้หลายครั้ง 5.0
ถูกตำรวจจับดำเนินคดี 1.6
อื่น ๆ 9.7
รวม 100.0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
การกู้เงินรายย่อยนอกระบบ หมายถึง การกู้เงินจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ สถาบันที่ตั้งขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการ
ให้เงินกู้ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท
หลักการและเหตุผล
ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยขาดโอกาสในการกู้เงินในระบบ อาทิ เช่น ธนาคารพาณิชย์ เพราะมีหลักเกณฑ์ในการกู้อย่าง
รอบคอบ ครั้นจะไปขอกู้จากโรงรับจำนำ บางครั้งก็อาจจะได้รับเงินน้อย เพราะขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักทรัพย์ ดังนั้นแหล่งเงินกู้ที่พอจะช่วยเหลือแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องใช้เงินได้ก็คือ การกู้เงินจากนอกระบบ จึงเป็นที่มาของธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ในเรื่องการกู้เงินรายย่อยนอกระบบ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาสาเหตุ และวัตถุประสงค์ของการกู้เงินนอกระบบ
2. เพื่อต้องการทราบวงเงินกู้ วิธีการคิดดอกเบี้ย และความสามารถในการผ่อนชำระ
3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิจัยต่อไป
ระเบียบวิธีการวิจัย
ตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่เคย หรือ กำลังกู้เงินนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,089 ตัวอย่าง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ
โดยมอบให้นักศึกษาภายใต้การควบคุมของ Supervisor ออกไปสัมภาษณ์ตัวอย่างตามสถานที่กำหนดในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-7
มกราคม 2545
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
หนึ่งในสี่ของผู้กู้ที่ผิดเวลาชำระหนี้เงินกู้จากนายทุนนอกระบบจะถูกขู่ทำร้าย
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,089 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องการกู้เงิน
ย่อยนอกระบบ ซึ่งเป็นการกู้เงินจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้เงินกู้ ในวงเงินครั้งละไม่เกิน
30,000 บาท พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 27กู้ยืมจากญาติพี่น้อง ร้อยละ 26 เล่นแชร์ในระหว่างเพื่อนฝูง ร้อยละ 23 กู้ยืมจากเพื่อน และอีกร้อยละ 20
เป็นการกู้ยืมจากนายทุนรายย่อยนอกระบบ
- เพศหญิงนิยมเล่นแชร์มากกว่าชาย โดยเพศหญิงเล่นแชร์ร้อยละ 8 และเพศชายเล่นแชร์ร้อยละ 14 ผู้มีอาชีพส่วนตัว เช่น ขายของ
ชำ แม่ค้าในตลาดสด รถเข็นขายผลไม้ ส้มตำ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ นิยมเล่นแชร์ถึงร้อยละ 29 รองลงมาคือ อาชีพลูกจ้างเอกชน และรับ
ราชการ ซึ่งเล่นแชร์ ร้อยละ 24 และ 21 ตามลำดับ
- สาเหตุสำคัญที่สุดที่มีการกู้ยืมเงินนอกระบบซึ่งมีถึงร้อยละ 31 เพราะการกู้ยืมไม่ยุ่งยาก รองลงมาคือ ร้อยละ 28 กู้เพราะได้เงินกู้
เร็ว และอีกร้อยละ 26 กู้เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
- วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินนอกระบบพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 85 นำไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของตน
และครอบครัว เช่น ซื้ออาหาร ซื้อของใช้ จ่ายค่าเล่าเรียนบุตร นำไปลงทุน และจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ยังมีผู้กู้อีกร้อยละ 7 ไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำ
เป็น เช่น เล่นการพนัน ซื้อยาเสพติด สุรา นำไปใช้หนี้เงินกู้ และไปเที่ยว
- วงเงินกู้ยืมที่กู้กันทั่วไปอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท กู้ระยะเวลาที่กู้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15-30 วัน ซึ่งดอกเบี้ยจ่ายพร้อมเงิน
ต้นเป็นรายเดือน หรือดอกเบี้ยจ่ายพร้อมเงินต้นเป็นรายวัน คิดเป็นร้อยละ 46 และ 14 ตามลำดับ ผู้กู้ส่วนใหญ่ร้อยละ 84 จะได้เงินต้นเต็มจำนวนโดย
ไม่มีการหักดอกเบี้ยก่อน
- ในการกู้เงินโดยไม่ต้องมีอะไรมาค้ำประกันมีถึงร้อยละ 68 และที่ใช้บุคคลค้ำประกันมีร้อยละ 14 โดยผู้กู้ส่วนใหญ่ร้อยละ 51 สามารถ
ชำระเงินกู้ตรงตามสัญญา ในจำนวนนี้ชำระครั้งเดียวหมดมีถึงร้อยละ 33
- เมื่อผู้กู้ผิดชำระหนี้พบว่าร้อยละ 46 สามารถเจรจากับนายทุนให้ยอมผ่อนผันได้โดยการเสียดอกเบี้ยเพิ่ม ร้อยละ 18 จะถูกยึดสิ่งของที่
นำมาค้ำประกัน และอีกร้อยละ 25 จะถูกขู่ทำร้าย
ตารางที่ 1 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามเพศ
เพศ ร้อยละ
ชาย 45.1
หญิง 54.9
รวม 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามอายุ
อายุ ร้อยละ
20-24 ปี 25.3
25-29 ปี 19.7
30-39 ปี 32.2
40 ปีขึ้นไป 22.2
ไม่ระบุ 0.6
รวม 100.0
ตารางที่ 3 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพสมรส
สถานภาพสมรส ร้อยละ
สมรส 46.5
โสด 46.9
อื่นๆ (หย่า, หม้าย) 0.7
ไม่ระบุ 5.9
รวม 100.0
ตารางที่ 4 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา ร้อยละ
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 26.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 32.4
อนุปริญญา/ปริญญาตรี หรือสูงกว่า 40.6
ไม่ระบุ 0.8
รวม 100.0
ตารางที่ 5 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามอาชีพ
อาชีพ ร้อยละ
รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 16.7
ลูกจ้างเอกชน 22.5
แม่บ้าน 6.6
ทำงานส่วนตัว 27.3
ช่วยธุรกิจครอบครัว 3.4
นักศึกษา 15.5
อื่น ๆ 3.2
ไม่ระบุ 4.8
รวม 100.0
ตารางที่ 6 ร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามแหล่งเงินกู้
แหล่งเงินกู้ ร้อยละ
เล่นแชร์ 25.5
กู้ยืมจากนายทุนรายย่อย 18.9
กู้ยืมญาติพี่น้อง 27.3
กู้ยืมจากเพื่อน 22.7
อื่นๆ 3.3
ไม่ระบุ 2.3
รวม 100.0
ตารางที่ 7 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการกู้
เหตุผลการกู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ
กู้ยืมไม่ยุ่งยากและสะดวก 30.7
ได้เงินกู้เร็ว 27.5
หาแหล่งเงินกู้ได้ง่าย 9.0
ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน 26.0
อื่นๆ 4.7
ไม่ระบุ 2.3
รวม 100.0
ตารางที่ 8 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามสาเหตุการกู้เงินนอกระบบ
สาเหตุการกู้เงินนอกระบบ ร้อยละ
ใช้จ่ายซื้ออาหารและสิ่งจำเป็น 37.2
การศึกษาของบุตร 10.4
นำไปลงทุน 30.8
นำไปใช้หนี้เงินกู้ที่อื่น 4.9
รักษาพยาบาล 3.1
นำไปออกกู้ต่อ 1.3
เล่นการพนัน 1.2
ซื้อยาเสพติด 0.2
ไปเที่ยว 2.9
ซื้อสุรา 0.3
อื่น ๆ 5.9
ไม่ระบุ 1.7
รวม 100.0
ตารางที่ 9 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการจ่ายดอกเบี้ย
ลักษณะการจ่ายดอกเบี้ย ร้อยละ
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายวัน 13.7
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายสัปดาห์ 3.9
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นราย ๑๕ วัน 6.5
จ่ายดอกเบี้ยพร้อมต้นเป็นรายเดือน 46.2
อื่น ๆ 24.00
ไม่ระบุ 5.7
รวม 100.0
ตารางที่ 10 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการได้รับเงินกู้
ลักษณะการได้รับเงินกู้ ร้อยละ
รับเงินต้นเต็มจำนวน 83.8
รับเงินต้นไม่เต็มจำนวน 11.6
อื่น ๆ 3.0
ไม่ระบุ 1.6
รวม 100.0
ตารางที่ 11 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามลักษณะการคิดดอกเบี้ย
ลักษณะการคิดดอกเบี้ย ร้อยละ
หักดอกเบี้ยพร้อมต้น 52.9
หักต้นก่อน 11.3
อื่น ๆ 29.5
ไม่ระบุ 6.3
รวม 100.0
ตารางที่ 12 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามสิ่งที่นำมาใช้ในการค้ำประกัน
สิ่งที่นำมาใช้ในการค้ำประกัน ร้อยละ
ไม่ต้องใช้ 67.9
บุคคลค้ำประกัน 13.4
เครื่องใช้ไฟฟ้า 1.3
ยานพาหนะ 1.0
เอกสารที่ดิน 3.9
เครื่องประดับราคาแพง 1.0
เช็ค 0.7
อื่น ๆ 8.9
ไม่ระบุ 1.9
รวม 100.0
ตารางที่ 13 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามความสามารถการชำระหนี้
ความสามารถการชำระหนี้ ร้อยละ
ชำระครั้งเดียวหมด 33.0
ชำระตรงตามสัญญา 51.3
ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา 3.0
ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาแต่ได้รับการผ่อนผัน 11.7
ไม่ระบุ 1.0
รวม 100.0
ตารางที่ 14 ร้อยละของผู้กู้เงินนอกระบบจำแนกตามผลที่ได้รับจากการผิดนัดชำระหนี้
ผลที่ได้รับจากการผิดเวลาชำระหนี้ ร้อยละ
ถูกยึดสิ่งที่นำมาค้ำประกัน 17.6
ผ่อนผันได้แต่ต้องเสียดอกเบี้ย 45.8
ถูกขู่ทำร้ายทันทีที่ผิดนัดครั้งแรก 7.7
ถูกขู่ทำร้ายหลังจากผิดนัดชำระหนี้มาหลายครั้ง 10.6
ถูกทำร้ายร่างกายทันทีที่ผิดนัดครั้งแรก 2.0
ถูกทำร้ายร่างกายเมื่อผิดนัดชำระหนี้หลายครั้ง 5.0
ถูกตำรวจจับดำเนินคดี 1.6
อื่น ๆ 9.7
รวม 100.0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-