ครูส่วนใหญ่ปรามาสรัฐบาลชุดนี้ว่ายากที่จะแก้ปัญหาการเก็บแป๊ะเจี๊ยะและเด็กฝากได้สำเร็จภายใน 1 ปี
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นครู-อาจารย์ และบุคคลในแวดวงการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เข้ามาร่วมสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นใจ และปัญหาการศึกษาของประเทศ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ผู้แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 41.9 สังกัดหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ร้อยละ 24.5 สังกัดการอุดมศึกษาของเอกชน ร้อยละ 11.0 สังกัดการอุดมศึกษาของรัฐ ร้อยละ 5.8 สังกัดการอาชีวศึกษาเอกชน และที่เหลืออีกร้อยละ 11.6 สังกัดสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ข้าราชการบำนาญ และประชาชนทั่วไป โดยร้อยละ 74.0 มีประสบการณ์ในวงการศึกษา 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.7 มีประสบการณ์ 10-15 ปี ร้อยละ 8.4 มีประสบการณ์ 5-10 ปี และร้อยละ 7.8 มีประสบการณ์ไม่เกิน 5 ปี และนอกจากนั้น ร้อยละ 98.1 เป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า
2. ผู้อยู่ในวงการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการที่คุณภาพการศึกษาของประเทศตกต่ำนั้น ผู้ที่รับผิดชอบมากที่สุดนั้น ร้อยละ 81.1 เห็นว่าควรเป็นรัฐบาล ร้อยละ 9.4 ควรเป็นโรงเรียน สถาบันการศึกษา ร้อยละ 3.8 เท่ากันควรเป็นครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง และร้อยละ 1.9 ควรเป็นนักเรียน / นักศึกษา
3. เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาระหว่างปัจจุบันกับ 10 ปีที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 50.3 คิดว่าด้อยกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 32.9 ดีกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และร้อยละ 16.8 ดีพอๆ กับ 10 ปีที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อคุณภาพการศึกษาระดับต่างๆ นั้น พบว่าในระดับประถมศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 47.7 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับต่ำ ร้อยละ 39.9 ปานกลาง ร้อยละ 12.4 ระดับสูง ระดับมัธยมศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 57.6 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 29.1 ระดับต่ำ ร้อยละ 13.2 ระดับสูง ระดับอาชีวศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 57.9 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 32.2 ระดับต่ำ ร้อยละ 9.9 ระดับสูง ระดับปริญญาตรี ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 58.3 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 23.1 ระดับสูง ร้อยละ 18.6 ระดับต่ำ ระดับปริญญาโท ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 51.0 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 32.4 ระดับสูง และร้อยละ 16.5 ระดับต่ำ
4. สำหรับความเห็นต่อกรณีมีนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการศึกษาของชาตินั้น ร้อยละ 85.5 คิดว่ามีแน่นอน ร้อยละ 7.9 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6.6 ไม่มี และเมื่อสอบถามต่อไปถึงผลกระทบต่อเรื่องนี้ ร้อยละ 55.0 คิดว่าจะทำคุณภาพการศึกษาด้อยลง ร้อยละ 23.2 มีโอกาสดีขึ้น และร้อยละ 21.9 ไม่แน่ใจ
5. เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของรัฐบาลชุดนี้ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการศึกษา พบว่า
5.1 การเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะ ร้อยละ 56.6 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.9 คิดว่าสำเร็จ
5.2 การฝากเด็ก ร้อยละ 67.3 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 26.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.5 คิดว่าสำเร็จ
5.3 ความผิดพลาดและล่าช้าของผลการสอบแอ็ดมิชชั่น ร้อยละ 5.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 32.5 คิดว่าทำสำเร็จ ร้อยละ 13.9 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.4 หนี้สินของครู ร้อยละ 57.6 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 30.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 11.8 คิดว่าสำเร็จ
5.5 การเพิ่มรายได้ของครู ร้อยละ 45.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.8 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 24.2 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.6 คุณภาพของครู ร้อยละ 51.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 27.6 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 21.1 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.7 เด็กนักเรียนตีกัน ร้อยละ 46.7 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 40.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 12.6 คิดว่าสำเร็จ
5.8 การควบคุมไม่ให้มีร้านเกมส์ออนไลน์ ร้านหล้า ตู้ม้า ตู้เกมส์อยู่ใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ร้อยละ 48.3 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 31.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 19.8 คิดว่าสำเร็จ
6. สำหรับความต้องการที่จะให้รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 1 ปีนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ พัฒนาคุณภาพครูผู้สอน (ร้อยละ 23.0) สร้างคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ 15.9) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (ร้อยละ 13.6) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยเป็นสากลโดยไม่ลืมความเป็นไทย (ร้อยละ 13.6) ปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (ร้อยละ 13.2) ยกฐานะความเป็นอยู่ของครูให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน (ร้อยละ 11.5) โอนโรงเรียนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 1.0)
7. ส่วนความกังวลใจที่ผู้ปกครองมีต่อบุตรหลานนั้น พบว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นความกังวลลำดับแรก (ร้อยละ 15.1) รองลงมาได้แก่ มีสิ่งอบายมุขเกลื่อนเมือง (ร้อยละ 14.7) การติดเกมส์ออนไลน์ (ร้อยละ 12.0) การติดยาเสพติด (ร้อยละ 10.6) จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ (ร้อยละ 10.6) การหาง่ายของหนังโป๊ ของลามก (ร้อยละ 7.7) สื่อโทรทัศน์มีละครไม่เหมาะสมในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (ร้อยละ 6.8) ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา (ร้อยละ 6.2) การหนีเรียน (ร้อยละ 2.3) การเบี่ยงเบนทางเพศ (ร้อยละ 1.7) การติดการพนัน (ร้อยละ 1.2)
8. เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นว่าปัจจุบันนี้ครูยังคงเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถืออยู่หรือไม่ ร้อยละ 61.5 คิดว่าเป็น ร้อยละ 29.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 9.5 คิดว่าไม่เป็น ส่วนความเห็นกรณีจะให้บุตรหลานทำงานอาชีพครูนั้น ร้อยละ 53.6 ต้องการให้เป็นครู เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ส่วนร้อยละ 47.6 ไม่ต้องการให้บุตรหลานประกอบอาชีพนี้เพราะคิดว่าเป็นงานหนัก รายได้น้อย และความก้าวหน้าในการงานมีน้อย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นครู-อาจารย์ และบุคคลในแวดวงการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เข้ามาร่วมสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นใจ และปัญหาการศึกษาของประเทศ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ผู้แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 41.9 สังกัดหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ร้อยละ 24.5 สังกัดการอุดมศึกษาของเอกชน ร้อยละ 11.0 สังกัดการอุดมศึกษาของรัฐ ร้อยละ 5.8 สังกัดการอาชีวศึกษาเอกชน และที่เหลืออีกร้อยละ 11.6 สังกัดสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ข้าราชการบำนาญ และประชาชนทั่วไป โดยร้อยละ 74.0 มีประสบการณ์ในวงการศึกษา 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.7 มีประสบการณ์ 10-15 ปี ร้อยละ 8.4 มีประสบการณ์ 5-10 ปี และร้อยละ 7.8 มีประสบการณ์ไม่เกิน 5 ปี และนอกจากนั้น ร้อยละ 98.1 เป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า
2. ผู้อยู่ในวงการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการที่คุณภาพการศึกษาของประเทศตกต่ำนั้น ผู้ที่รับผิดชอบมากที่สุดนั้น ร้อยละ 81.1 เห็นว่าควรเป็นรัฐบาล ร้อยละ 9.4 ควรเป็นโรงเรียน สถาบันการศึกษา ร้อยละ 3.8 เท่ากันควรเป็นครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง และร้อยละ 1.9 ควรเป็นนักเรียน / นักศึกษา
3. เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาระหว่างปัจจุบันกับ 10 ปีที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 50.3 คิดว่าด้อยกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 32.9 ดีกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และร้อยละ 16.8 ดีพอๆ กับ 10 ปีที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อคุณภาพการศึกษาระดับต่างๆ นั้น พบว่าในระดับประถมศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 47.7 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับต่ำ ร้อยละ 39.9 ปานกลาง ร้อยละ 12.4 ระดับสูง ระดับมัธยมศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 57.6 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 29.1 ระดับต่ำ ร้อยละ 13.2 ระดับสูง ระดับอาชีวศึกษา ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 57.9 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 32.2 ระดับต่ำ ร้อยละ 9.9 ระดับสูง ระดับปริญญาตรี ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 58.3 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 23.1 ระดับสูง ร้อยละ 18.6 ระดับต่ำ ระดับปริญญาโท ผู้อยู่ในวงการศึกษาร้อยละ 51.0 มั่นใจคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง ร้อยละ 32.4 ระดับสูง และร้อยละ 16.5 ระดับต่ำ
4. สำหรับความเห็นต่อกรณีมีนักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการศึกษาของชาตินั้น ร้อยละ 85.5 คิดว่ามีแน่นอน ร้อยละ 7.9 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6.6 ไม่มี และเมื่อสอบถามต่อไปถึงผลกระทบต่อเรื่องนี้ ร้อยละ 55.0 คิดว่าจะทำคุณภาพการศึกษาด้อยลง ร้อยละ 23.2 มีโอกาสดีขึ้น และร้อยละ 21.9 ไม่แน่ใจ
5. เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของรัฐบาลชุดนี้ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการศึกษา พบว่า
5.1 การเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะ ร้อยละ 56.6 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.9 คิดว่าสำเร็จ
5.2 การฝากเด็ก ร้อยละ 67.3 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 26.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.5 คิดว่าสำเร็จ
5.3 ความผิดพลาดและล่าช้าของผลการสอบแอ็ดมิชชั่น ร้อยละ 5.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 32.5 คิดว่าทำสำเร็จ ร้อยละ 13.9 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.4 หนี้สินของครู ร้อยละ 57.6 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 30.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 11.8 คิดว่าสำเร็จ
5.5 การเพิ่มรายได้ของครู ร้อยละ 45.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.8 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 24.2 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.6 คุณภาพของครู ร้อยละ 51.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 27.6 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 21.1 คิดว่าไม่สำเร็จ
5.7 เด็กนักเรียนตีกัน ร้อยละ 46.7 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 40.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 12.6 คิดว่าสำเร็จ
5.8 การควบคุมไม่ให้มีร้านเกมส์ออนไลน์ ร้านหล้า ตู้ม้า ตู้เกมส์อยู่ใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ร้อยละ 48.3 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 31.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 19.8 คิดว่าสำเร็จ
6. สำหรับความต้องการที่จะให้รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 1 ปีนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ พัฒนาคุณภาพครูผู้สอน (ร้อยละ 23.0) สร้างคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ 15.9) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (ร้อยละ 13.6) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยเป็นสากลโดยไม่ลืมความเป็นไทย (ร้อยละ 13.6) ปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (ร้อยละ 13.2) ยกฐานะความเป็นอยู่ของครูให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน (ร้อยละ 11.5) โอนโรงเรียนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 1.0)
7. ส่วนความกังวลใจที่ผู้ปกครองมีต่อบุตรหลานนั้น พบว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นความกังวลลำดับแรก (ร้อยละ 15.1) รองลงมาได้แก่ มีสิ่งอบายมุขเกลื่อนเมือง (ร้อยละ 14.7) การติดเกมส์ออนไลน์ (ร้อยละ 12.0) การติดยาเสพติด (ร้อยละ 10.6) จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ (ร้อยละ 10.6) การหาง่ายของหนังโป๊ ของลามก (ร้อยละ 7.7) สื่อโทรทัศน์มีละครไม่เหมาะสมในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (ร้อยละ 6.8) ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา (ร้อยละ 6.2) การหนีเรียน (ร้อยละ 2.3) การเบี่ยงเบนทางเพศ (ร้อยละ 1.7) การติดการพนัน (ร้อยละ 1.2)
8. เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นว่าปัจจุบันนี้ครูยังคงเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถืออยู่หรือไม่ ร้อยละ 61.5 คิดว่าเป็น ร้อยละ 29.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 9.5 คิดว่าไม่เป็น ส่วนความเห็นกรณีจะให้บุตรหลานทำงานอาชีพครูนั้น ร้อยละ 53.6 ต้องการให้เป็นครู เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ส่วนร้อยละ 47.6 ไม่ต้องการให้บุตรหลานประกอบอาชีพนี้เพราะคิดว่าเป็นงานหนัก รายได้น้อย และความก้าวหน้าในการงานมีน้อย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-