ร้อยละ 47 ของคนกรุงเทพฯ เห็นว่าการไม่ยอมลาออกของ กกต. เป็นการไม่ตอบสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ไขวิกฤตของชาติ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,797 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา เพศและอายุในหัวข้อ "ความคิดเห็นเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกต่อการเมืองไทยยุคช่องว่างการเลือกตั้ง" เมื่อวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
สำหรับคำกล่าวที่ว่า การไม่ลาออกของ กกต. เท่ากับเป็นการไม่ตอบสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ไขวิกฤติของชาติ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.5 เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ ร้อยละ 28.0 ไม่มีความคิดเห็น และร้อยละ 25.0 ไม่เห็นด้วย และเมื่อสอบถามต่อไปว่าคณะกรรมการ การเลือกตั้ง ( 3 คน ) ชุดนี้ควรลาออกหรือไม่นั้น ร้อยละ 45.6 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 38.6 ควรลาออก และร้อยละ 15.8 ไม่ควรลาออก
สำหรับความคิดเห็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 คนไม่ยอมลาออกว่ามีสาเหตุใด ทั้งๆ ที่ประธานองค์กร 3 ศาล ได้เสนอแนะทางออกหลายวิธีการให้แก่ กกต. แล้วนั้น ร้อยละ 29.2 คิดว่าสาเหตุเพราะ กกต. ต้องการยื้อเวลาเพื่อสะสางสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาดอาจสะท้อนถึงตนในภายหน้า ร้อยละ 28.9 คิดว่า กกต. ยังมีภารกิจที่ต้องสะสางคดีอยู่ ร้อยละ 22.6 คิดว่า กกต. ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และ ร้อยละ 14.8 คิดว่าต้องการช่วยพรรคการเมืองบางพรรค และร้อยละ 4.5 ไม่มีความคิดเห็น
ส่วนกรณีที่ฝ่ายตุลาการได้เข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยครั้งนี้ ร้อยละ 67.7 เห็นด้วย ร้อยละ 10.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 21.8 ไม่มีความคิดเห็น
สำหรับความรู้สึกที่มีต่อการเมืองไทยในยุคช่องว่างการเลือกตั้งขณะนี้ พบว่าร้อยละ 88.3 รู้สึก เบื่อหน่าย ร้อยละ 12.7 ไม่เบื่อ โดยร้อยละ 67.7 เบื่อหน่ายมาก ร้อยละ 30.6 เบื่อหน่ายปานกลาง และร้อยละ 1.7 เบื่อหน่ายน้อย และเมื่อสอบถามถึงการให้ความสำคัญระหว่างปัญหาการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.6 ตอบว่ามีความสำคัญพอๆ กัน ร้อยละ 29.8 ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญกว่า และร้อยละ 14.6 ปัญหาการเมืองสำคัญกว่า
ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปถ้ามีคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนกรณี กกต. ชุดปัจจุบันลาออก ร้อยละ 53.0 มีความเชื่อมั่นปานกลางว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ร้อยละ 21.3 เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 17.7 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 8.0 เชื่อมั่นมาก
กรณีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เป็นเรื่องเหมาะสม สมควรจะกระทำหรือไม่นั้น ร้อยละ 78.3 เห็นว่าไม่เหมาะสม และร้อยละ 21.7 เหมาะสม ส่วนการเรียกร้องให้ ทหาร ควรจะออกมามีบทบาทเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ ร้อยละ 46.5 เห็นว่าไม่สมควร ร้อยละ 30.3 ไม่มีความคิดเห็น และร้อยละ 23.2 เห็นว่าสมควร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมพร อภิชนาพงศ์ ผู้รับผิดชอบธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ได้ให้ข้อสังเกตว่า ขณะนี้ความอดทนของประชาชนต่อปัญหาบ้านเมืองได้ถึงจุดที่น่าเป็นห่วงแล้ว โดยสังเกตได้จากการสอบถามถึงการเข้ามามีบทบาทของทหาร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์'49 มีถึงร้อยละ 73.3 ที่ตอบว่าทหารไม่สมควรเข้ามายุ่ง แต่ผลการสำรวจปัจจุบันตัวเลขกลับลดลงโดยมีเพียงร้อยละ 46.5 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,797 คน จากทุกอาชีพ การศึกษา เพศและอายุในหัวข้อ "ความคิดเห็นเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกต่อการเมืองไทยยุคช่องว่างการเลือกตั้ง" เมื่อวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
สำหรับคำกล่าวที่ว่า การไม่ลาออกของ กกต. เท่ากับเป็นการไม่ตอบสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ไขวิกฤติของชาติ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.5 เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ ร้อยละ 28.0 ไม่มีความคิดเห็น และร้อยละ 25.0 ไม่เห็นด้วย และเมื่อสอบถามต่อไปว่าคณะกรรมการ การเลือกตั้ง ( 3 คน ) ชุดนี้ควรลาออกหรือไม่นั้น ร้อยละ 45.6 ไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 38.6 ควรลาออก และร้อยละ 15.8 ไม่ควรลาออก
สำหรับความคิดเห็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 คนไม่ยอมลาออกว่ามีสาเหตุใด ทั้งๆ ที่ประธานองค์กร 3 ศาล ได้เสนอแนะทางออกหลายวิธีการให้แก่ กกต. แล้วนั้น ร้อยละ 29.2 คิดว่าสาเหตุเพราะ กกต. ต้องการยื้อเวลาเพื่อสะสางสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาดอาจสะท้อนถึงตนในภายหน้า ร้อยละ 28.9 คิดว่า กกต. ยังมีภารกิจที่ต้องสะสางคดีอยู่ ร้อยละ 22.6 คิดว่า กกต. ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และ ร้อยละ 14.8 คิดว่าต้องการช่วยพรรคการเมืองบางพรรค และร้อยละ 4.5 ไม่มีความคิดเห็น
ส่วนกรณีที่ฝ่ายตุลาการได้เข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยครั้งนี้ ร้อยละ 67.7 เห็นด้วย ร้อยละ 10.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 21.8 ไม่มีความคิดเห็น
สำหรับความรู้สึกที่มีต่อการเมืองไทยในยุคช่องว่างการเลือกตั้งขณะนี้ พบว่าร้อยละ 88.3 รู้สึก เบื่อหน่าย ร้อยละ 12.7 ไม่เบื่อ โดยร้อยละ 67.7 เบื่อหน่ายมาก ร้อยละ 30.6 เบื่อหน่ายปานกลาง และร้อยละ 1.7 เบื่อหน่ายน้อย และเมื่อสอบถามถึงการให้ความสำคัญระหว่างปัญหาการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.6 ตอบว่ามีความสำคัญพอๆ กัน ร้อยละ 29.8 ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญกว่า และร้อยละ 14.6 ปัญหาการเมืองสำคัญกว่า
ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปถ้ามีคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนกรณี กกต. ชุดปัจจุบันลาออก ร้อยละ 53.0 มีความเชื่อมั่นปานกลางว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ร้อยละ 21.3 เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 17.7 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 8.0 เชื่อมั่นมาก
กรณีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เป็นเรื่องเหมาะสม สมควรจะกระทำหรือไม่นั้น ร้อยละ 78.3 เห็นว่าไม่เหมาะสม และร้อยละ 21.7 เหมาะสม ส่วนการเรียกร้องให้ ทหาร ควรจะออกมามีบทบาทเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ ร้อยละ 46.5 เห็นว่าไม่สมควร ร้อยละ 30.3 ไม่มีความคิดเห็น และร้อยละ 23.2 เห็นว่าสมควร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมพร อภิชนาพงศ์ ผู้รับผิดชอบธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ได้ให้ข้อสังเกตว่า ขณะนี้ความอดทนของประชาชนต่อปัญหาบ้านเมืองได้ถึงจุดที่น่าเป็นห่วงแล้ว โดยสังเกตได้จากการสอบถามถึงการเข้ามามีบทบาทของทหาร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์'49 มีถึงร้อยละ 73.3 ที่ตอบว่าทหารไม่สมควรเข้ามายุ่ง แต่ผลการสำรวจปัจจุบันตัวเลขกลับลดลงโดยมีเพียงร้อยละ 46.5 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-