ความเป็นมาของโพลล์
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่น่าจับตามองกลุ่มหนึ่งของสังคมไทย แนวโน้มในอนาคตจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากสัดส่วนการลดลงของ
อัตราการเกิดในกลุ่มประชากร ดังเช่นประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ความคิดเห็นของผู้สูงอายุซึ่งถูกจัดว่าเป็นคนรุ่นเก่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมที่กำลัง
มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไปสู่ยุคของคนรุ่นใหม่ โดยผ่านกลไกหลักคือ สถาบันครอบครัว ความรู้สึกที่มีต่อการถูกยอมรับ การปฏิบัติจากสังคมและอื่น ๆ
จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในสังคม
ไทยว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อบทบาทและสถานภาพของตน รวมทั้งทัศนคติเกี่ยวกับ กฏระเบียบปฏิบัติบางประการของสังคม โดยได้ทำการจัดส่ง
อาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ที่กำหนด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักระเบียบวิธีการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุในสังคมไทยเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย
การสุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลสวนสาธารณะ บ้านพักคนชรา และย่านชุมชน ระหว่างวันที่
13-20 มกราคม 2545 จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 936 ราย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปแจกแบบ
สอบถามและสัมภาษณ์โดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุชายจำนวน426 คน และหญิงจำนวน 510 คนที่อาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร ปรากฏผลดังนี้
- อาชีพเดิมของผู้สูงอายุชายและหญิงส่วนใหญ่ คือ ทำงานส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 43.9 และ 38.8 รองลงมาคือ รับราชการ/รัฐ
วิสาหกิจ ร้อยละ 29.6 สำหรับผู้สูงอายุชาย และแม่บ้าน ร้อยละ 33.7 สำหรับผู้สูงอายุหญิง
- ความรู้สึกที่เกิดบ่อยครั้งที่สุดเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุชาย คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 34.6) รองลงมาคือ ความวิตก
กังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 33.6) สำหรับผู้สูงอายุหญิงกลับมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพมากที่สุด (ร้อยละ 33.5) รองลงมาคือ
การยอมรับความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 24.5) ผู้สูงอายุชายและหญิงส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองยังคงได้รับการปฏิบัติจากครอบครัวเหมือนเดิม (ร้อยละ
46.7 และ 39.8) ส่วนที่ได้รับการปฏิบัติในระดับที่ดีกว่าเดิม มีร้อยละ 25.8 และ 23.9 ตามลำดับ
- รายได้หลักปัจจุบันของผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่มาจากการทำงานในปัจจุบัน (ร้อยละ 32.9)
- รองลงมามีรายได้จากครอบครัว (ร้อยละ 23.7) ซึ่งต่างจากผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีรายได้หลักปัจจุบันมาจากครอบครัว (ร้อยละ
45.3) รองลงมามีรายได้จากการทำงานในปัจจุบัน (ร้อยละ 23.3) ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่ารายได้ดังกล่าวเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ใน
จำนวนรายได้ข้างต้นผู้สูงอายุชายและหญิง จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 36.2 และ 40.2
- ผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่นิยมพักผ่อนอยู่กับบ้านและทำงานอดิเรกหรือเล่นกีฬา (ร้อยละ 35.4)
- รองลงมาคือ การใช้ชีวิตอย่างสงบ (ร้อยละ 24.9) และหันเข้าปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ (ร้อยละ 15.0) สำหรับผู้สูงอายุหญิง
ส่วนใหญ่นิยมการใช้ชีวิตอย่างสงบมากที่สุด (ร้อยละ 26.5) รองลงมาคือ นิยมพักผ่อนอยู่กับบ้านและทำงานอดิเรกหรือเล่นกีฬา (ร้อยละ 24.5) และ
การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน (ร้อยละ 21.8)
- สำหรับความทรงจำที่ประทับใจมากที่สุดของผู้สูงอายุชายและหญิงคล้ายคลึงกัน คือความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาและการทำ
งาน (ร้อยละ 35.2 และ 42.4) รองลงมาคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับคู่ชีวิตหรือลูก (ร้อยละ 23.7 และ 27.3)
- สำหรับสิ่งที่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่าเลวร้ายที่สุด ไม่ใช่การจากไปของบุคคลในครอบครัวหรือคู่ชีวิต (ร้อยละ 6.6 และร้อยละ
9.4) แต่เป็นความทุกข์ทรมานเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บไข้ได้ป่วย (ร้อยละ 46.0 และร้อยละ 41.2)
- สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ การที่ผู้สูงอายุชายและหญิงต่างเห็นด้วยกับกฎหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือได้รับ
ความทรมานจากการเจ็บป่วย (ร้อยละ 47.7และ 46.1) สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่เห็นด้วยมีร้อยละ 37.1 และ 34.5 ส่วนผู้สูงอายุที่มีไม่แน่ใจร้อยละ
15.0 และ 18.2 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือ
ได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ร้อยละ
เห็นด้วย 47
ไม่เห็นด้วย 36
ไม่แน่ใจ 17
รวม 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามเพศและความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือ
ได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ชาย หญิง
เห็นด้วย 48 47
ไม่เห็นด้วย 37 35
ไม่แน่ใจ 15 18
รวม 100 100
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความทรงจำที่ประทับใจที่สุด
ความคิดเห็นเกี่ยวกับความทรงจำที่ประทับใจที่สุด ร้อยละ
ความสำเร็จในด้านการศึกษา หน้าที่การงานหรืออาชีพ 15
ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับคู่ชีวิตและลูก 26
ความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาหรือการทำงาน 39
การได้รับความยกย่องจากสังคม 8
อื่น ๆ 11
รวม 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่น่าจับตามองกลุ่มหนึ่งของสังคมไทย แนวโน้มในอนาคตจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากสัดส่วนการลดลงของ
อัตราการเกิดในกลุ่มประชากร ดังเช่นประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ความคิดเห็นของผู้สูงอายุซึ่งถูกจัดว่าเป็นคนรุ่นเก่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมที่กำลัง
มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไปสู่ยุคของคนรุ่นใหม่ โดยผ่านกลไกหลักคือ สถาบันครอบครัว ความรู้สึกที่มีต่อการถูกยอมรับ การปฏิบัติจากสังคมและอื่น ๆ
จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในสังคม
ไทยว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อบทบาทและสถานภาพของตน รวมทั้งทัศนคติเกี่ยวกับ กฏระเบียบปฏิบัติบางประการของสังคม โดยได้ทำการจัดส่ง
อาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ที่กำหนด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักระเบียบวิธีการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุในสังคมไทยเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย
การสุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลสวนสาธารณะ บ้านพักคนชรา และย่านชุมชน ระหว่างวันที่
13-20 มกราคม 2545 จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 936 ราย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปแจกแบบ
สอบถามและสัมภาษณ์โดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุชายจำนวน426 คน และหญิงจำนวน 510 คนที่อาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร ปรากฏผลดังนี้
- อาชีพเดิมของผู้สูงอายุชายและหญิงส่วนใหญ่ คือ ทำงานส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 43.9 และ 38.8 รองลงมาคือ รับราชการ/รัฐ
วิสาหกิจ ร้อยละ 29.6 สำหรับผู้สูงอายุชาย และแม่บ้าน ร้อยละ 33.7 สำหรับผู้สูงอายุหญิง
- ความรู้สึกที่เกิดบ่อยครั้งที่สุดเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุชาย คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 34.6) รองลงมาคือ ความวิตก
กังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 33.6) สำหรับผู้สูงอายุหญิงกลับมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพมากที่สุด (ร้อยละ 33.5) รองลงมาคือ
การยอมรับความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 24.5) ผู้สูงอายุชายและหญิงส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองยังคงได้รับการปฏิบัติจากครอบครัวเหมือนเดิม (ร้อยละ
46.7 และ 39.8) ส่วนที่ได้รับการปฏิบัติในระดับที่ดีกว่าเดิม มีร้อยละ 25.8 และ 23.9 ตามลำดับ
- รายได้หลักปัจจุบันของผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่มาจากการทำงานในปัจจุบัน (ร้อยละ 32.9)
- รองลงมามีรายได้จากครอบครัว (ร้อยละ 23.7) ซึ่งต่างจากผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีรายได้หลักปัจจุบันมาจากครอบครัว (ร้อยละ
45.3) รองลงมามีรายได้จากการทำงานในปัจจุบัน (ร้อยละ 23.3) ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่ารายได้ดังกล่าวเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ใน
จำนวนรายได้ข้างต้นผู้สูงอายุชายและหญิง จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 36.2 และ 40.2
- ผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่นิยมพักผ่อนอยู่กับบ้านและทำงานอดิเรกหรือเล่นกีฬา (ร้อยละ 35.4)
- รองลงมาคือ การใช้ชีวิตอย่างสงบ (ร้อยละ 24.9) และหันเข้าปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ (ร้อยละ 15.0) สำหรับผู้สูงอายุหญิง
ส่วนใหญ่นิยมการใช้ชีวิตอย่างสงบมากที่สุด (ร้อยละ 26.5) รองลงมาคือ นิยมพักผ่อนอยู่กับบ้านและทำงานอดิเรกหรือเล่นกีฬา (ร้อยละ 24.5) และ
การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน (ร้อยละ 21.8)
- สำหรับความทรงจำที่ประทับใจมากที่สุดของผู้สูงอายุชายและหญิงคล้ายคลึงกัน คือความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาและการทำ
งาน (ร้อยละ 35.2 และ 42.4) รองลงมาคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับคู่ชีวิตหรือลูก (ร้อยละ 23.7 และ 27.3)
- สำหรับสิ่งที่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่าเลวร้ายที่สุด ไม่ใช่การจากไปของบุคคลในครอบครัวหรือคู่ชีวิต (ร้อยละ 6.6 และร้อยละ
9.4) แต่เป็นความทุกข์ทรมานเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บไข้ได้ป่วย (ร้อยละ 46.0 และร้อยละ 41.2)
- สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ การที่ผู้สูงอายุชายและหญิงต่างเห็นด้วยกับกฎหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือได้รับ
ความทรมานจากการเจ็บป่วย (ร้อยละ 47.7และ 46.1) สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่เห็นด้วยมีร้อยละ 37.1 และ 34.5 ส่วนผู้สูงอายุที่มีไม่แน่ใจร้อยละ
15.0 และ 18.2 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือ
ได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ร้อยละ
เห็นด้วย 47
ไม่เห็นด้วย 36
ไม่แน่ใจ 17
รวม 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามเพศและความคิดเห็นเกี่ยวกับกฏหมายยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิตผู้ป่วยหนักหรือ
ได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ชาย หญิง
เห็นด้วย 48 47
ไม่เห็นด้วย 37 35
ไม่แน่ใจ 15 18
รวม 100 100
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความทรงจำที่ประทับใจที่สุด
ความคิดเห็นเกี่ยวกับความทรงจำที่ประทับใจที่สุด ร้อยละ
ความสำเร็จในด้านการศึกษา หน้าที่การงานหรืออาชีพ 15
ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับคู่ชีวิตและลูก 26
ความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาหรือการทำงาน 39
การได้รับความยกย่องจากสังคม 8
อื่น ๆ 11
รวม 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-