1. ความสำคัญของปัญหา
ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญยิ่งของความเจริญอย่างยั่งยืนของประเทศ การที่คน 2 คน จากต่างสถานที่ ต่างอาชีพ ต่างวัยวุฒิ มาอยู่ร่วม
กัน นับเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และเป็นบ่อเกิดของทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อ ๆ ไป อย่างไม่หมดสิ้น การอยู่รวมกันไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก ปู่
ย่า ตายาย เป็นครอบครัวเดียวหรือครอบครัวขยาย ต่างก็ต้องอาศัยศิลปะของการอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น โพลล์เพื่อสังคมไทยจึงอยากจะทราบ
ความคิดเห็นของครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวว่าเป็นอย่างอย่างไร
2.. วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
2.1 เพื่อสำรวจและลำดับความสำคัญ พฤติกรรมการใช้ชีวิตคู่ ตลอดจนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและวิธีแก้ไข
2.2 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการอธิบายพฤติกรรมของครอบครัว
3. ระเบียบวิธีวิจัย
ตัวอย่างได้แก่คู่ชีวิตที่ร่วมกันเป็นครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 727 ตัวอย่าง จำแนกตามอยุและระดับการศึกษาโดยมอบให้นัก
ศึกษาภายใต้การควบคุมของ Supervisor ออกไปสัมภาษณ์ตัวอย่างตามสถานที่ ที่กำหนดในวันที่ 19-20 สิงหาคม 2544
4. ผลการสำรวจ
4.1 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า เป็นชายและหญิงเท่ากันร้อยละ 50 ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยม ร้อยละ 61 มัธยมศึกษาและปวช.
ร้อยละ 24 อนุปริญญาและปวส. ร้อยละ 7 ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 8 โดยมีเวลาอยู่ด้วยกันไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 18 ระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 23
ระหว่าง 11-15 ปี ร้อยละ 16 ระหว่าง 16-20 ปี ร้อยละ 11 และ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ 32 และบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว ได้ระบุว่าอยู่กัน
ระหว่างสามีภรรยา ร้อยละ 19 อยู่รวมกันระหว่างสามี — ภรรยา และบุตร ร้อยละ 50 อยู่รวมกันระหว่างสามี — ภรรยา บุตร และญาติพี่น้อง ร้อย
ละ 24 อยู่รวมกันระหว่างสามี - ภรรยา และญาติพี่น้องร้อยละ 6 และนอกจากนั้นยังระบุว่าประกอบอาชีพ 2 คน ร้อยละ 75 และประกอบอาชีพเพียง
คนเดียวร้อยละ 25
4.2 ในเรื่องพฤติกรรมของครอบครัวในแต่ละวัน พบว่า ส่วนใหญ่ดูทีวีร่วมกัน รองลงมาได้แก่ ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหารรับประทาน
กัน คุยกับเพื่อนบ้าน ซื้อของ ปลูกต้นไม้-ดอกไม้ และดูภาพยนตร์ ตามลำดับ
4.3 เมื่ออยู่ร่วมกันสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความขัดแย้งหรือการทะเลาะกัน จากการสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่การแสดงของข้อขัดแย้งจะ
มีปากเสียงธรรมดาและไม่พูดกัน ร้อยละ 58 ไม่พูดกัน ร้อยละ 29 ส่วนสาเหตุของการขัดแย้งจะเป็นข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ
51 และรองลงมาเป็นข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากบ่อยครั้ง ร้อยละ 19 และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยใดที่เป็นเหตุในการขัดแย้ง พบว่า รายได้ไม่พอกับราย
จ่ายสูงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก รองลงมาเรื่องลูก ปัญหาเรื่องงาน และความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ตามลำดับ
4.4 วิธีหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 35 จะเดินหนีจากเหตุการณ์นั้นจนบรรยากาศดีขึ้นจึงเริ่มต้นใหม่ ร้อยละ 31 จะ
พยายามอธิบายเหตุผลให้เข้าใจอย่างใจเย็น และร้อยละ 20 จะอดกลั้นไม่โต้ตอบ
ตารางแสดงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่ชีวิตและครอบครัวที่มีภูมิลำเนา
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของเพศผู้ตอบ
เพศ จำนวน ร้อยละ
ชาย 364 50
หญิง 363 50
รวม 727 100
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของการศึกษา
ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ
ต่ำกว่ามัธยม 454 61
มัธยม / ปวช. 176 24
ปวส. / อนุปริญญา 51 7
ปริญญาตรีขึ้นไป 58 8
รวม 739 100
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของเวลาในการอยู่ร่วมกัน
เวลา จำนวน ร้อยละ
ไม่เกิน5 ปี 132 18
6-10 ปี 172 23
11-15 ปี 115 16
16-20 ปี 79 11
20ปีขึ้นไป 237 32
รวม 735 100
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของลักษณะการอยู่ร่วมกัน
ลักษณะการอยู่ร่วมกัน จำนวน ร้อยละ
ท่านและคู่ชีวิตเท่านั้น 138 19
ท่าน — คู่ชีวิตและบุตร 365 49
ท่าน — คู่ชีวิต บุตรและญาติพี่น้อง 179 24
ท่าน — คู่ชีวิตและญาติพี่น้อง 42 6
อื่น ๆ 13 2
รวม 737 100
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของการประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพ จำนวน ร้อยละ
ประกอบอาชีพทั้ง ๒ คน 547 75
ประกอบอาชีพคนเดียว 183 25
รวม 730 100
ตารางที่ 6 ประเภทกิจกรรมที่ครอบครัวมักร่วมกันทำเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 7 ลำดับแรก
ลำดับ ประเภทกิจกรรม
1 ดูทีวีร่วมกัน
2 ทำความสะอาดบ้าน
3 ทำอาหารรับประทานกัน
4 คุยกับเพื่อนบ้าน
5 ซื้อของ
6 ปลูกต้นไม้-ดอกไม้
7 ดูภาพยนตร์
ตารางที่ 7 ลักษณะการแสดงออก
ลักษณะการแสดงออกข้อขัดแย้ง ร้อยละ
มีปากเสียงธรรมดา 58
ไม่พูดกัน 13
มีปากเสียงส่งเสียงดัง 45
รวม 100
ตารางที่ 8 ลักษณะข้อขัดแย้ง
ลักษณะข้อขัดแย้ง ร้อยละ
ข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องนาน ๆ ครั้ง 51
ข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากบ่อยครั้ง 19
ข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากนาน ๆ ครั้ง 15
ข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องบ่อยครั้ง 15
รวม 100
ตารางที่ 9 สาเหตุสำคัญของการขัดแย้ง 10 อันดับแรก
ลำดับ สาเหตุสำคัญของการขัดแย้ง
1 รายได้ไม่พอรายจ่าย
2 เรื่องลูก
3 ปัญหาเรื่องงาน
4 ความคิดตัวเองเป็นใหญ่
5 เมาสุรา
6 ญาติพี่น้อง
7 หึงหวง
8 การพนัน
9 สุขภาพ
10 ความไว้วางใจ
ตารางที่ 10 การแก้ไขข้อขัดแย้ง
วิธีการ ร้อยละ
เดินหนีจากเหตุการณ์นั้นจนบรรยากาศดีขึ้นจึงเริ่มต้นใหม่ 35
พยายามอธิบายเหตุผลให้เข้าใจอย่างใจเย็น 31
อดกลั้นไม่โต้ตอบ 20
แสดงข้อถกเถียงเพื่อจะให้คู่กรณีได้ทราบความรู้สึกของเรา 11
หาคนกลาง / ญาติผู้ใหญ่ไกล่เกลี่ย 2
อื่น ๆ 1
รวม 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญยิ่งของความเจริญอย่างยั่งยืนของประเทศ การที่คน 2 คน จากต่างสถานที่ ต่างอาชีพ ต่างวัยวุฒิ มาอยู่ร่วม
กัน นับเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และเป็นบ่อเกิดของทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อ ๆ ไป อย่างไม่หมดสิ้น การอยู่รวมกันไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก ปู่
ย่า ตายาย เป็นครอบครัวเดียวหรือครอบครัวขยาย ต่างก็ต้องอาศัยศิลปะของการอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น โพลล์เพื่อสังคมไทยจึงอยากจะทราบ
ความคิดเห็นของครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวว่าเป็นอย่างอย่างไร
2.. วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
2.1 เพื่อสำรวจและลำดับความสำคัญ พฤติกรรมการใช้ชีวิตคู่ ตลอดจนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและวิธีแก้ไข
2.2 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการอธิบายพฤติกรรมของครอบครัว
3. ระเบียบวิธีวิจัย
ตัวอย่างได้แก่คู่ชีวิตที่ร่วมกันเป็นครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 727 ตัวอย่าง จำแนกตามอยุและระดับการศึกษาโดยมอบให้นัก
ศึกษาภายใต้การควบคุมของ Supervisor ออกไปสัมภาษณ์ตัวอย่างตามสถานที่ ที่กำหนดในวันที่ 19-20 สิงหาคม 2544
4. ผลการสำรวจ
4.1 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า เป็นชายและหญิงเท่ากันร้อยละ 50 ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยม ร้อยละ 61 มัธยมศึกษาและปวช.
ร้อยละ 24 อนุปริญญาและปวส. ร้อยละ 7 ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 8 โดยมีเวลาอยู่ด้วยกันไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 18 ระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 23
ระหว่าง 11-15 ปี ร้อยละ 16 ระหว่าง 16-20 ปี ร้อยละ 11 และ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ 32 และบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว ได้ระบุว่าอยู่กัน
ระหว่างสามีภรรยา ร้อยละ 19 อยู่รวมกันระหว่างสามี — ภรรยา และบุตร ร้อยละ 50 อยู่รวมกันระหว่างสามี — ภรรยา บุตร และญาติพี่น้อง ร้อย
ละ 24 อยู่รวมกันระหว่างสามี - ภรรยา และญาติพี่น้องร้อยละ 6 และนอกจากนั้นยังระบุว่าประกอบอาชีพ 2 คน ร้อยละ 75 และประกอบอาชีพเพียง
คนเดียวร้อยละ 25
4.2 ในเรื่องพฤติกรรมของครอบครัวในแต่ละวัน พบว่า ส่วนใหญ่ดูทีวีร่วมกัน รองลงมาได้แก่ ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหารรับประทาน
กัน คุยกับเพื่อนบ้าน ซื้อของ ปลูกต้นไม้-ดอกไม้ และดูภาพยนตร์ ตามลำดับ
4.3 เมื่ออยู่ร่วมกันสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความขัดแย้งหรือการทะเลาะกัน จากการสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่การแสดงของข้อขัดแย้งจะ
มีปากเสียงธรรมดาและไม่พูดกัน ร้อยละ 58 ไม่พูดกัน ร้อยละ 29 ส่วนสาเหตุของการขัดแย้งจะเป็นข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ
51 และรองลงมาเป็นข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากบ่อยครั้ง ร้อยละ 19 และเมื่อสอบถามถึงปัจจัยใดที่เป็นเหตุในการขัดแย้ง พบว่า รายได้ไม่พอกับราย
จ่ายสูงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก รองลงมาเรื่องลูก ปัญหาเรื่องงาน และความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ตามลำดับ
4.4 วิธีหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 35 จะเดินหนีจากเหตุการณ์นั้นจนบรรยากาศดีขึ้นจึงเริ่มต้นใหม่ ร้อยละ 31 จะ
พยายามอธิบายเหตุผลให้เข้าใจอย่างใจเย็น และร้อยละ 20 จะอดกลั้นไม่โต้ตอบ
ตารางแสดงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่ชีวิตและครอบครัวที่มีภูมิลำเนา
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของเพศผู้ตอบ
เพศ จำนวน ร้อยละ
ชาย 364 50
หญิง 363 50
รวม 727 100
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของการศึกษา
ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ
ต่ำกว่ามัธยม 454 61
มัธยม / ปวช. 176 24
ปวส. / อนุปริญญา 51 7
ปริญญาตรีขึ้นไป 58 8
รวม 739 100
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของเวลาในการอยู่ร่วมกัน
เวลา จำนวน ร้อยละ
ไม่เกิน5 ปี 132 18
6-10 ปี 172 23
11-15 ปี 115 16
16-20 ปี 79 11
20ปีขึ้นไป 237 32
รวม 735 100
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของลักษณะการอยู่ร่วมกัน
ลักษณะการอยู่ร่วมกัน จำนวน ร้อยละ
ท่านและคู่ชีวิตเท่านั้น 138 19
ท่าน — คู่ชีวิตและบุตร 365 49
ท่าน — คู่ชีวิต บุตรและญาติพี่น้อง 179 24
ท่าน — คู่ชีวิตและญาติพี่น้อง 42 6
อื่น ๆ 13 2
รวม 737 100
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของการประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพ จำนวน ร้อยละ
ประกอบอาชีพทั้ง ๒ คน 547 75
ประกอบอาชีพคนเดียว 183 25
รวม 730 100
ตารางที่ 6 ประเภทกิจกรรมที่ครอบครัวมักร่วมกันทำเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 7 ลำดับแรก
ลำดับ ประเภทกิจกรรม
1 ดูทีวีร่วมกัน
2 ทำความสะอาดบ้าน
3 ทำอาหารรับประทานกัน
4 คุยกับเพื่อนบ้าน
5 ซื้อของ
6 ปลูกต้นไม้-ดอกไม้
7 ดูภาพยนตร์
ตารางที่ 7 ลักษณะการแสดงออก
ลักษณะการแสดงออกข้อขัดแย้ง ร้อยละ
มีปากเสียงธรรมดา 58
ไม่พูดกัน 13
มีปากเสียงส่งเสียงดัง 45
รวม 100
ตารางที่ 8 ลักษณะข้อขัดแย้ง
ลักษณะข้อขัดแย้ง ร้อยละ
ข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องนาน ๆ ครั้ง 51
ข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากบ่อยครั้ง 19
ข้อขัดแย้งเรื่องเดียวซ้ำซากนาน ๆ ครั้ง 15
ข้อขัดแย้งเฉพาะบางเรื่องบ่อยครั้ง 15
รวม 100
ตารางที่ 9 สาเหตุสำคัญของการขัดแย้ง 10 อันดับแรก
ลำดับ สาเหตุสำคัญของการขัดแย้ง
1 รายได้ไม่พอรายจ่าย
2 เรื่องลูก
3 ปัญหาเรื่องงาน
4 ความคิดตัวเองเป็นใหญ่
5 เมาสุรา
6 ญาติพี่น้อง
7 หึงหวง
8 การพนัน
9 สุขภาพ
10 ความไว้วางใจ
ตารางที่ 10 การแก้ไขข้อขัดแย้ง
วิธีการ ร้อยละ
เดินหนีจากเหตุการณ์นั้นจนบรรยากาศดีขึ้นจึงเริ่มต้นใหม่ 35
พยายามอธิบายเหตุผลให้เข้าใจอย่างใจเย็น 31
อดกลั้นไม่โต้ตอบ 20
แสดงข้อถกเถียงเพื่อจะให้คู่กรณีได้ทราบความรู้สึกของเรา 11
หาคนกลาง / ญาติผู้ใหญ่ไกล่เกลี่ย 2
อื่น ๆ 1
รวม 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-