ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับยาเสพติด จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
จำแนกตามอาชีพและระดับการศึกษา จำนวน 772 คน ภายใต้โครงการ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2545
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 60 มีความเชื่อว่า ถ้าครอบครัวมีความอบอุ่นแล้วลูกจะไม่ติดยาเสพติด ที่ไม่แน่ใจมีร้อย
ละ 21 ในเรื่องเกี่ยวกับการทำลายยาเสพติดที่จับได้นั้น มีผู้เชื่อว่าถูกทำลายไม่หมดถึงร้อยละ 51 ที่ไม่แน่ใจมีร้อยละ 33 และที่เชื่อว่าทำลายหมดมี
เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น สำหรับข่าวที่สื่อนำเสนอว่าการเสพย์ยาบ้าแต่เพียงอย่างเดียวสามารถก่อคดีอุกฉกรรจ์ได้นั้น มีผู้เชื่อร้อยละ 62 และไม่เชื่อ
ร้อยละ 25
ส่วนคำถามที่ว่าปัญหายาเสพติดสามารถแก้ไขได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 58 ตอบว่าสามารถแก้ไขได้ โดยมองว่าอุปสรรคสำคัญในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติด ได้แก่ การปราบปรามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่จริงจัง (ร้อยละ22) ผู้ค้าเป็นผู้ที่มีเงินและอิทธิพล (ร้อยละ21) ผู้มีอำนาจรัฐเกี่ยว
โยงกับผู้ค้า (ร้อยละ 18) และค่านิยมผิด ๆ ของผู้เสพย์ (ร้อยละ 16)
ในเรื่องการติดยาเสพติด ผู้ตอบเห็นว่ามีสาเหตุสำคัญเรียงลำดับดังนี้ อิทธิพลจากเพื่อน (ร้อยละ 27) ความอยากสนุกอยากทดลอง
(ร้อยละ 24) อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่ตั้งของที่พักอาศัย (ร้อยละ 17) ค่านิยมโก้เก๋ (ร้อยละ 12) การขาดความอบอุ่น (ร้อยละ 11)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความร้ายแรงของยาเสพติดชนิดต่าง ๆ พบว่าผู้ตอบทุกระดับการศึกษาและอาชีพมากกว่าร้อยละ 60
เห็นว่า ยาเสพติดมีความร้ายแรงมากน้อยเรียงตามลำดับ ดังนี้เฮโรอีน ยาบ้า โคเคน ยาอี ยาเค ส่วนมอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ กัญชา คนส่วนใหญ่มี
ความเห็นว่ามีความร้ายแรงลำดับปานกลาง ส่วนบุหรี่และยานอนหลับ มีความร้ายแรงน้อย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
จำแนกตามอาชีพและระดับการศึกษา จำนวน 772 คน ภายใต้โครงการ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2545
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 60 มีความเชื่อว่า ถ้าครอบครัวมีความอบอุ่นแล้วลูกจะไม่ติดยาเสพติด ที่ไม่แน่ใจมีร้อย
ละ 21 ในเรื่องเกี่ยวกับการทำลายยาเสพติดที่จับได้นั้น มีผู้เชื่อว่าถูกทำลายไม่หมดถึงร้อยละ 51 ที่ไม่แน่ใจมีร้อยละ 33 และที่เชื่อว่าทำลายหมดมี
เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น สำหรับข่าวที่สื่อนำเสนอว่าการเสพย์ยาบ้าแต่เพียงอย่างเดียวสามารถก่อคดีอุกฉกรรจ์ได้นั้น มีผู้เชื่อร้อยละ 62 และไม่เชื่อ
ร้อยละ 25
ส่วนคำถามที่ว่าปัญหายาเสพติดสามารถแก้ไขได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 58 ตอบว่าสามารถแก้ไขได้ โดยมองว่าอุปสรรคสำคัญในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติด ได้แก่ การปราบปรามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่จริงจัง (ร้อยละ22) ผู้ค้าเป็นผู้ที่มีเงินและอิทธิพล (ร้อยละ21) ผู้มีอำนาจรัฐเกี่ยว
โยงกับผู้ค้า (ร้อยละ 18) และค่านิยมผิด ๆ ของผู้เสพย์ (ร้อยละ 16)
ในเรื่องการติดยาเสพติด ผู้ตอบเห็นว่ามีสาเหตุสำคัญเรียงลำดับดังนี้ อิทธิพลจากเพื่อน (ร้อยละ 27) ความอยากสนุกอยากทดลอง
(ร้อยละ 24) อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่ตั้งของที่พักอาศัย (ร้อยละ 17) ค่านิยมโก้เก๋ (ร้อยละ 12) การขาดความอบอุ่น (ร้อยละ 11)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความร้ายแรงของยาเสพติดชนิดต่าง ๆ พบว่าผู้ตอบทุกระดับการศึกษาและอาชีพมากกว่าร้อยละ 60
เห็นว่า ยาเสพติดมีความร้ายแรงมากน้อยเรียงตามลำดับ ดังนี้เฮโรอีน ยาบ้า โคเคน ยาอี ยาเค ส่วนมอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ กัญชา คนส่วนใหญ่มี
ความเห็นว่ามีความร้ายแรงลำดับปานกลาง ส่วนบุหรี่และยานอนหลับ มีความร้ายแรงน้อย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-