จากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้สิ้นซากอย่างเด็ดขาดภายในเวลา 3 เดือน ซึ่งบัดนี้ได้ผ่านพ้นมาแล้ว 1
เดือน ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด เมื่อวันที่
27 กุมภาพันธ์ 2546 จากจำนวนตัวอย่าง 1,121 คน ในเขตกรุงเทพมหานครทุกระดับการศึกษาและอาชีพ ซึ่งมีผลการสำรวจดังนี้
ในเรื่องนโยบายการปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาดของรัฐบาล ผู้ตอบร้อยละ 68 เห็นด้วยอย่างยิ่ง และอีกร้อยละ 28 เห็นด้วยต่อ
นโยบายนี้ ส่วนความเห็นเกี่ยวกับวิธีการปราบปรามโดยวิสามัญฆาตกรรม ร้อยละ 36 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 37 เห็นด้วย และที่ไม่เห็นด้วยมีร้อย
ละ 9
ที่กล่าวกันว่าในการปราบปรามอาจจะมีผู้บริสุทธิ์รวมอยู่ในการฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาบ้าด้วยกัน ร้อยละ 28 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 38 เห็น
ด้วย และไม่แน่ใจ ร้อยละ 22 ส่วนการเปิดเผยรายชื่อผู้ค้ายาเสพติดในบัญชีดำของฝ่ายปราบปราม ร้อยละ 34 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 35 เห็น
ด้วย ร้อยละ 13 ไม่เห็นด้วย
เมื่อถามต่อไปว่ามาตรการปราบปรามลักษณะนี้จะทำให้ยาบ้าหมดไปหรือไม่ ร้อยละ 32 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 28 เห็นด้วย ร้อยละ
30 ไม่แน่ใจ แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้เห็นว่ายาบ้าจะลดลง ร้อยละ 72 และที่ไม่แน่ใจมีร้อยละ 21
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปราบปรามในขณะนี้ยังไปไม่ถึงผู้ผลิตและผู้ค้ารายใหญ่ ร้อยละ 55 ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 31
เห็นด้วย และร้อยละ 11 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 68 ยังมีความคิดเห็นต่อไปว่าถึงแม้ยาบ้าจะหมดไป แต่ก็จะมียาเสพติดชนิดอื่นเข้ามาแทน
ส่วนข้อเสนอของผู้เกี่ยวข้องในกรณีที่จับของกลางเป็นเงินสด และศาลได้พิพากษาให้สิ้นสุดแล้ว ผู้นำจับควรจะได้รับรางวัลส่วนแบ่งด้วย
นั้น ร้อยละ 37 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 38 เห็นด้วย ร้อยละ 17 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 10 ไม่เห็นด้วย สำหรับความเห็นที่ว่าการแจ้งเบาะแสผู้ค้า
ยาเสพติดผ่าน ตู้ ปณ.1234 จะเป็นช่องทางกลั่นแกล้งผู้สุจริตได้ ร้อยละ 25 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 27 เห็นด้วย และร้อยละ 34 ไม่แน่ใจ
กรณีการฆ่าตัดตอนที่มีข่าวครึกโครมในขณะนี้ ร้อยละ 38 คิดว่าเป็นฝีมือพ่อค้ายาบ้า ร้อยละ 28 คิดว่าเป็นฝีมือตำรวจ ร้อยละ 18 คิดว่า
เป็นคู่กรณีที่ไม่ใช่พ่อค้ายาบ้า แต่ทำการสวมรอยไม่แน่ใจ และไม่ทราบมีร้อยละ 16
สำหรับข่าวที่หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติเข้ามาสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของไทยในการปราบปรามครั้งนี้ ร้อยละ
42 เห็นว่าควรจะรับฟังความคิดเห็นขององค์การระหว่างประเทศ ส่วนร้อยละ 27 เห็นว่าเป็นสิทธิของเราที่จะดำเนินการได้โดยต้องไม่สนใจผู้อื่น
ร้อยละ 16 เห็นว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ และร้อยละ 13 เห็นว่าเป็นเรื่องน่าอับอายในระดับนานาชาติ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
เดือน ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด เมื่อวันที่
27 กุมภาพันธ์ 2546 จากจำนวนตัวอย่าง 1,121 คน ในเขตกรุงเทพมหานครทุกระดับการศึกษาและอาชีพ ซึ่งมีผลการสำรวจดังนี้
ในเรื่องนโยบายการปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาดของรัฐบาล ผู้ตอบร้อยละ 68 เห็นด้วยอย่างยิ่ง และอีกร้อยละ 28 เห็นด้วยต่อ
นโยบายนี้ ส่วนความเห็นเกี่ยวกับวิธีการปราบปรามโดยวิสามัญฆาตกรรม ร้อยละ 36 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 37 เห็นด้วย และที่ไม่เห็นด้วยมีร้อย
ละ 9
ที่กล่าวกันว่าในการปราบปรามอาจจะมีผู้บริสุทธิ์รวมอยู่ในการฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาบ้าด้วยกัน ร้อยละ 28 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 38 เห็น
ด้วย และไม่แน่ใจ ร้อยละ 22 ส่วนการเปิดเผยรายชื่อผู้ค้ายาเสพติดในบัญชีดำของฝ่ายปราบปราม ร้อยละ 34 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 35 เห็น
ด้วย ร้อยละ 13 ไม่เห็นด้วย
เมื่อถามต่อไปว่ามาตรการปราบปรามลักษณะนี้จะทำให้ยาบ้าหมดไปหรือไม่ ร้อยละ 32 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 28 เห็นด้วย ร้อยละ
30 ไม่แน่ใจ แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้เห็นว่ายาบ้าจะลดลง ร้อยละ 72 และที่ไม่แน่ใจมีร้อยละ 21
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปราบปรามในขณะนี้ยังไปไม่ถึงผู้ผลิตและผู้ค้ารายใหญ่ ร้อยละ 55 ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 31
เห็นด้วย และร้อยละ 11 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 68 ยังมีความคิดเห็นต่อไปว่าถึงแม้ยาบ้าจะหมดไป แต่ก็จะมียาเสพติดชนิดอื่นเข้ามาแทน
ส่วนข้อเสนอของผู้เกี่ยวข้องในกรณีที่จับของกลางเป็นเงินสด และศาลได้พิพากษาให้สิ้นสุดแล้ว ผู้นำจับควรจะได้รับรางวัลส่วนแบ่งด้วย
นั้น ร้อยละ 37 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 38 เห็นด้วย ร้อยละ 17 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 10 ไม่เห็นด้วย สำหรับความเห็นที่ว่าการแจ้งเบาะแสผู้ค้า
ยาเสพติดผ่าน ตู้ ปณ.1234 จะเป็นช่องทางกลั่นแกล้งผู้สุจริตได้ ร้อยละ 25 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 27 เห็นด้วย และร้อยละ 34 ไม่แน่ใจ
กรณีการฆ่าตัดตอนที่มีข่าวครึกโครมในขณะนี้ ร้อยละ 38 คิดว่าเป็นฝีมือพ่อค้ายาบ้า ร้อยละ 28 คิดว่าเป็นฝีมือตำรวจ ร้อยละ 18 คิดว่า
เป็นคู่กรณีที่ไม่ใช่พ่อค้ายาบ้า แต่ทำการสวมรอยไม่แน่ใจ และไม่ทราบมีร้อยละ 16
สำหรับข่าวที่หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติเข้ามาสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของไทยในการปราบปรามครั้งนี้ ร้อยละ
42 เห็นว่าควรจะรับฟังความคิดเห็นขององค์การระหว่างประเทศ ส่วนร้อยละ 27 เห็นว่าเป็นสิทธิของเราที่จะดำเนินการได้โดยต้องไม่สนใจผู้อื่น
ร้อยละ 16 เห็นว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ และร้อยละ 13 เห็นว่าเป็นเรื่องน่าอับอายในระดับนานาชาติ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-