จากการที่ประเทศไทยจะได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค (APEC) ในเดือนตุลาคม 2546 นี้ ซึ่งเป็นวาระที่คนไทยทุกคนมี
ความภูมิใจและยินดีต้อนรับแขกเมืองด้วยความเต็มใจ รัฐบาลมีการตระเตรียมงานล่วงหน้า มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบอย่างทั่วถึงในทุกๆ สื่อ
ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจ-บัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหัวข้อ "คนไทยคิดอย่างไร
กับการประชุมเอเปค" จากคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,255 คน ทุกระดับอายุ อาชีพ และการศึกษา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546 และได้ผลสรุปดังนี้
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 95 ได้ยินข่าวประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคในเดือนตุลาคมนี้ โดยทราบข่าวจากโทรทัศน์เป็นอันดับ
หนึ่งร้อยละ 52 รองลงมาจากวิทยุร้อยละ 20 จากหนังสือพิมพ์ร้อยละ 18 และจากประกาศร้อยละ 6
เมื่อถามถึงความหมายของเอเปค พบว่าร้อยละ 64 ตอบได้ถูกต้องว่าเป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบทวีปเอเชีย
แปซิฟิก และที่เหลือมีความเข้าใจผิดพลาด โดยร้อยละ 29 คิดว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ และอีกร้อยละ 7
คิดว่าเป็นองค์กรค้าน้ำมันโลก (OPEC)
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยว่าจะได้รับอะไรจากการประชุมครั้งนี้ ร้อยละ 55 ตอบว่า ประเทศไทยจะได้มีโอกาสดีๆ ใน
การลงทุนระหว่างประเทศ ร้อยละ 23 ตอบว่าประเทศไทยจะมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ร้อยละ 22 ตอบว่าประเทศไทยจะมีอำนาจต่อ
รองทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ส่วนความคิดเห็นว่าการประชุมครั้งนี้จะทำให้ตัวเองมีความกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่นั้น ร้อยละ 42 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 30 คิดว่าเหมือน
เดิม และร้อยละ 28 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนั้นได้สอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในระหว่างการประชุม
เอเปค ร้อยละ 76 ไม่มีความกังวลใจ โดยให้เหตุผลว่ามีความเชื่อมั่นในระบบการป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 82) และประเทศไทย
เป็นเมืองพุทธ (ร้อยละ 11)
ส่วนอีกร้อยละ 24 ของผู้ที่กังวลใจว่าอาจจะเกิดเหตุร้ายในระหว่างการประชุมเอเปค ให้เหตุผลว่ากลุ่มก่อการร้ายสามารถพลีชีพต่างๆ
ที่เหนือความคิดของคนธรรมดา (ร้อยละ 42) ผู้นำประเทศที่เป็นคู่อริกับกลุ่มก่อการร้าย เช่น สหรัฐอเมริกามาประชุม (ร้อยละ 29) และไม่เชื่อมั่น
ในระบบการป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 21)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ความภูมิใจและยินดีต้อนรับแขกเมืองด้วยความเต็มใจ รัฐบาลมีการตระเตรียมงานล่วงหน้า มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบอย่างทั่วถึงในทุกๆ สื่อ
ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจ-บัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหัวข้อ "คนไทยคิดอย่างไร
กับการประชุมเอเปค" จากคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,255 คน ทุกระดับอายุ อาชีพ และการศึกษา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546 และได้ผลสรุปดังนี้
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 95 ได้ยินข่าวประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคในเดือนตุลาคมนี้ โดยทราบข่าวจากโทรทัศน์เป็นอันดับ
หนึ่งร้อยละ 52 รองลงมาจากวิทยุร้อยละ 20 จากหนังสือพิมพ์ร้อยละ 18 และจากประกาศร้อยละ 6
เมื่อถามถึงความหมายของเอเปค พบว่าร้อยละ 64 ตอบได้ถูกต้องว่าเป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบทวีปเอเชีย
แปซิฟิก และที่เหลือมีความเข้าใจผิดพลาด โดยร้อยละ 29 คิดว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ และอีกร้อยละ 7
คิดว่าเป็นองค์กรค้าน้ำมันโลก (OPEC)
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยว่าจะได้รับอะไรจากการประชุมครั้งนี้ ร้อยละ 55 ตอบว่า ประเทศไทยจะได้มีโอกาสดีๆ ใน
การลงทุนระหว่างประเทศ ร้อยละ 23 ตอบว่าประเทศไทยจะมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ร้อยละ 22 ตอบว่าประเทศไทยจะมีอำนาจต่อ
รองทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ส่วนความคิดเห็นว่าการประชุมครั้งนี้จะทำให้ตัวเองมีความกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่นั้น ร้อยละ 42 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 30 คิดว่าเหมือน
เดิม และร้อยละ 28 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนั้นได้สอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในระหว่างการประชุม
เอเปค ร้อยละ 76 ไม่มีความกังวลใจ โดยให้เหตุผลว่ามีความเชื่อมั่นในระบบการป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 82) และประเทศไทย
เป็นเมืองพุทธ (ร้อยละ 11)
ส่วนอีกร้อยละ 24 ของผู้ที่กังวลใจว่าอาจจะเกิดเหตุร้ายในระหว่างการประชุมเอเปค ให้เหตุผลว่ากลุ่มก่อการร้ายสามารถพลีชีพต่างๆ
ที่เหนือความคิดของคนธรรมดา (ร้อยละ 42) ผู้นำประเทศที่เป็นคู่อริกับกลุ่มก่อการร้าย เช่น สหรัฐอเมริกามาประชุม (ร้อยละ 29) และไม่เชื่อมั่น
ในระบบการป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 21)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-