แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
ภาวะเศรษฐกิจ
กรมอนามัย
ครอบครัว
คนไทยส่วนใหญ่ทุกภาคไม่ว่าจะยากดีมีจนต่างมองว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองและภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นทั้งปีนี้และปีหน้า
ในวาระใกล้จะขึ้นปีใหม่ 2547 นี้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วประเทศเกี่ยวกับภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสอบถามจากชาวไทยจำนวน 1,600 คน จาก
ทุกระดับอาชีพ รายได้และเพศ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ภาวะความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวตนเองในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 93 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 7 คิด
ว่าเลวลง ชาวภาคกลางร้อยละ 92 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 8 ตอบว่าเลวลง ชาวภาคเหนือร้อยละ 95 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 5 คิดว่าเลวลง ชาวภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือร้อยละ 84 คิดว่าดีขึ้น และร้อยละ 18 คิดว่าเลวลง ส่วนชาวภาคใต้ร้อยละ 92 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 8 คิดว่าเลวลง รายละเอียดความ
คิดเห็นของชาวไทยจำแนกตามภาคเป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองในรอบปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น
และภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 12 46 35 6 1
กลาง 11 45 36 7 1
เหนือ 9 55 32 5 -
ตะวันออกเฉียงเหนือ 8 45 31 16 -
ใต้ 14 54 24 7 1
ความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวตนเองในปีหน้า เมื่อเทียบกับปีปัจจุบัน ชาวไทยทั่วทุกภาคส่วนใหญ่มองในแง่ดี
กล่าวคือ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 97 ชาวภาคกลางร้อยละ 97 ชาวภาคเหนือร้อยละ 96 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 98 และชาวภาคใต้ร้อย
ละ 98 ต่างมีความเห็นตรงกันว่าปีหน้าความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวของตนเองคาดว่าจะดีขึ้น รายละเอียดของความคิดเห็นของชาวไทยจำแนก
ตามภูมิภาคเป็นไปตาม ตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีปัจจุบัน
และภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 27 52 18 2 1
กลาง 22 28 17 3 0
เหนือ 21 62 13 4 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 27 58 13 2 0
ใต้ 25 59 14 2 0
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้เมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 90 ชาวภาคกลางร้อยละ 85 ชาวภาคเหนือร้อยละ
92 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 82 และชาวภาคใต้ร้อยละ 83 ต่างมีความเห็นสอดคล้องว่าภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ดีกว่าเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ราย
ละเอียดของความคิดเห็นของประชาชนจำแนกตามภาคเป็นไปตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในรอบปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน
หน้านั้นและภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 27 63 9 1 0
กลาง 29 56 11 3 1
เหนือ 29 63 7 1 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 35 47 16 2 0
ใต้ 25 58 14 2 1
ส่วนความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าจะเป็นอย่างไรเปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน พบว่า ชาวไทยส่วนใหญ่ต่างมองในแง่ดี
กล่าวคือ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 83 ชาวภาคกลางร้อยละ 79 ชาวภาคเหนือร้อยละ 87 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 93 และชาวภาคใต้ร้อย
ละ 77 ต่างมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจปีหน้าคาดว่าจะดีขึ้นกว่าปีปัจจุบัน รายละเอียดความคิดเห็นของชาวไทยเมื่อจำแนกตามภาคเป็นไปตามตาราง
ที่ 4
ตารางที่ 4 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีปัจจุบันและภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 21 62 15 2 0
กลาง 22 57 19 1 1
เหนือ 27 60 12 1 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 26 67 7 0 0
ใต้ 16 61 21 2 0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ในวาระใกล้จะขึ้นปีใหม่ 2547 นี้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วประเทศเกี่ยวกับภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสอบถามจากชาวไทยจำนวน 1,600 คน จาก
ทุกระดับอาชีพ รายได้และเพศ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ภาวะความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวตนเองในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 93 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 7 คิด
ว่าเลวลง ชาวภาคกลางร้อยละ 92 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 8 ตอบว่าเลวลง ชาวภาคเหนือร้อยละ 95 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 5 คิดว่าเลวลง ชาวภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือร้อยละ 84 คิดว่าดีขึ้น และร้อยละ 18 คิดว่าเลวลง ส่วนชาวภาคใต้ร้อยละ 92 คิดว่าดีขึ้น ร้อยละ 8 คิดว่าเลวลง รายละเอียดความ
คิดเห็นของชาวไทยจำแนกตามภาคเป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองในรอบปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น
และภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 12 46 35 6 1
กลาง 11 45 36 7 1
เหนือ 9 55 32 5 -
ตะวันออกเฉียงเหนือ 8 45 31 16 -
ใต้ 14 54 24 7 1
ความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวตนเองในปีหน้า เมื่อเทียบกับปีปัจจุบัน ชาวไทยทั่วทุกภาคส่วนใหญ่มองในแง่ดี
กล่าวคือ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 97 ชาวภาคกลางร้อยละ 97 ชาวภาคเหนือร้อยละ 96 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 98 และชาวภาคใต้ร้อย
ละ 98 ต่างมีความเห็นตรงกันว่าปีหน้าความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัวของตนเองคาดว่าจะดีขึ้น รายละเอียดของความคิดเห็นของชาวไทยจำแนก
ตามภูมิภาคเป็นไปตาม ตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีปัจจุบัน
และภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 27 52 18 2 1
กลาง 22 28 17 3 0
เหนือ 21 62 13 4 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 27 58 13 2 0
ใต้ 25 59 14 2 0
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้เมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 90 ชาวภาคกลางร้อยละ 85 ชาวภาคเหนือร้อยละ
92 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 82 และชาวภาคใต้ร้อยละ 83 ต่างมีความเห็นสอดคล้องว่าภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ดีกว่าเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ราย
ละเอียดของความคิดเห็นของประชาชนจำแนกตามภาคเป็นไปตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในรอบปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน
หน้านั้นและภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 27 63 9 1 0
กลาง 29 56 11 3 1
เหนือ 29 63 7 1 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 35 47 16 2 0
ใต้ 25 58 14 2 1
ส่วนความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าจะเป็นอย่างไรเปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน พบว่า ชาวไทยส่วนใหญ่ต่างมองในแง่ดี
กล่าวคือ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 83 ชาวภาคกลางร้อยละ 79 ชาวภาคเหนือร้อยละ 87 ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 93 และชาวภาคใต้ร้อย
ละ 77 ต่างมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจปีหน้าคาดว่าจะดีขึ้นกว่าปีปัจจุบัน รายละเอียดความคิดเห็นของชาวไทยเมื่อจำแนกตามภาคเป็นไปตามตาราง
ที่ 4
ตารางที่ 4 : ร้อยละของชาวไทยจำแนกตามความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีปัจจุบันและภาค
ภาค ดีขึ้นมาก ดีขึ้นบ้าง ดีพอๆ กัน เลวลงบ้าง เลวลงมาก
กรุงเทพฯ 21 62 15 2 0
กลาง 22 57 19 1 1
เหนือ 27 60 12 1 0
ตะวันออกเฉียงเหนือ 26 67 7 0 0
ใต้ 16 61 21 2 0
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-