แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
สุขภัณฑ์กะรัต
โรงแรมคอนราด
สหรัฐอเมริกา
ก่อการร้าย
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพ ทุกระดับอายุ อาชีพ และเพศ จำนวน 1,316 ราย ระหว่าง
วันที่ 26 — 27 พฤศจิกายน 2545 ภายใต้โครงการ “ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” เกี่ยวกับการก่อการร้าย ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากข้อพิพาทระหว่างประเทศ
สหรัฐอเมริกากับประเทศอิรัก
ผลการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 60 ไม่กังวลใจในเรื่องที่จะเกิดการก่อการร้ายในประเทศไทย เพราะ มีความมั่นใจใน
มาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และประเทศไทยไม่ใช่ เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามว่าถ้าหาก
จะมีการก่อการร้ายขึ้น สถานที่ใดจะเสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรมมากที่สุด คนกรุงเทพฯ เห็นว่าน่าจะเกิดในสถานบันเทิงร้อยละ 26 เมืองท่องเที่ยว
และพื้นที่ชายแดน เท่ากันร้อยละ 25 และห้างสรรพสินค้าร้อยละ 21 วิธีป้องกันการก่อการร้ายที่ชาวกรุงเทพฯ เห็นว่าดีที่สุดคือ การเพิ่มกำลังรักษา
ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการส่งเสริมให้คนไทยมีความสามัคคี โดยมีผู้เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าวถึงร้อยละ 42 และ 28 ตามลำดับ
เมื่อถามถึงกรณีการวางระเบิดที่เกาะบาหลีว่าจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศหรือไม่ พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 53 เห็น
ว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยน้อยลง เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย แต่ร้อยละ 22 เห็นว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยมาก
ขึ้น ส่วนกรณีที่ผู้สื่อข่าว ต่างประเทศระบุว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของการก่อการร้าย ร้อยละ 50 เห็นว่าข่าวนี้จะทำให้ นักท่องเที่ยวมาเที่ยว
ประเทศไทยลดลง ร้อยละ 32 เห็นว่าการลงทุนจากต่างประเทศจะลดลง และร้อยละ 6 เห็นว่าคนไทยที่ร่ำรวยจะหนีไปอยู่ต่างประเทศที่คิดว่า
ปลอดภัยกว่า
ส่วนคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศอิรักหรือไม่นั้น พบว่าร้อยละ 57 เห็นว่า ไม่เกิด
แต่ถ้าจะเกิดสงครามคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 51 และร้อยละ 47 สหรัฐ-อเมริกาต้องการก่อสงครามกับอิรักอยู่แล้ว และประเทศอิรักไม่ยอมรับมติของสห
ประชาชาติ ตามลำดับ
ประเทศไทยจะต้องเตรียมการอย่างไร กรณีที่เกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 47 เห็นว่าประเทศไทย
ควรเตรียมกำลังทหารเพื่อป้องกันประเทศ ร้อยละ 28 ให้สำรองปริมาณ น้ำมันให้เพียงพอ ร้อยละ 19 ให้สำรองปริมาณอาหารให้เพียงพอ และร้อย
ละ 3 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเตรียมอะไรเป็นพิเศษ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
วันที่ 26 — 27 พฤศจิกายน 2545 ภายใต้โครงการ “ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์” เกี่ยวกับการก่อการร้าย ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากข้อพิพาทระหว่างประเทศ
สหรัฐอเมริกากับประเทศอิรัก
ผลการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 60 ไม่กังวลใจในเรื่องที่จะเกิดการก่อการร้ายในประเทศไทย เพราะ มีความมั่นใจใน
มาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และประเทศไทยไม่ใช่ เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามว่าถ้าหาก
จะมีการก่อการร้ายขึ้น สถานที่ใดจะเสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรมมากที่สุด คนกรุงเทพฯ เห็นว่าน่าจะเกิดในสถานบันเทิงร้อยละ 26 เมืองท่องเที่ยว
และพื้นที่ชายแดน เท่ากันร้อยละ 25 และห้างสรรพสินค้าร้อยละ 21 วิธีป้องกันการก่อการร้ายที่ชาวกรุงเทพฯ เห็นว่าดีที่สุดคือ การเพิ่มกำลังรักษา
ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการส่งเสริมให้คนไทยมีความสามัคคี โดยมีผู้เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าวถึงร้อยละ 42 และ 28 ตามลำดับ
เมื่อถามถึงกรณีการวางระเบิดที่เกาะบาหลีว่าจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศหรือไม่ พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 53 เห็น
ว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยน้อยลง เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย แต่ร้อยละ 22 เห็นว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยมาก
ขึ้น ส่วนกรณีที่ผู้สื่อข่าว ต่างประเทศระบุว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของการก่อการร้าย ร้อยละ 50 เห็นว่าข่าวนี้จะทำให้ นักท่องเที่ยวมาเที่ยว
ประเทศไทยลดลง ร้อยละ 32 เห็นว่าการลงทุนจากต่างประเทศจะลดลง และร้อยละ 6 เห็นว่าคนไทยที่ร่ำรวยจะหนีไปอยู่ต่างประเทศที่คิดว่า
ปลอดภัยกว่า
ส่วนคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศอิรักหรือไม่นั้น พบว่าร้อยละ 57 เห็นว่า ไม่เกิด
แต่ถ้าจะเกิดสงครามคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 51 และร้อยละ 47 สหรัฐ-อเมริกาต้องการก่อสงครามกับอิรักอยู่แล้ว และประเทศอิรักไม่ยอมรับมติของสห
ประชาชาติ ตามลำดับ
ประเทศไทยจะต้องเตรียมการอย่างไร กรณีที่เกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 47 เห็นว่าประเทศไทย
ควรเตรียมกำลังทหารเพื่อป้องกันประเทศ ร้อยละ 28 ให้สำรองปริมาณ น้ำมันให้เพียงพอ ร้อยละ 19 ให้สำรองปริมาณอาหารให้เพียงพอ และร้อย
ละ 3 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเตรียมอะไรเป็นพิเศษ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-