50% ชนชั้นกลางร้อง ปีนี้ความเป็นอยู่เลวลงกว่าปีที่แล้ว
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ชี้คนชนชั้นกลาง กทม. มากกว่า 50% เห็นว่าความเป็นอยู่ในปี 2547 เลวลงกว่าปี 2546 มีเพียง 6 เปอร์เซ็นต์เท่า
นั้นที่คิดว่าดีขึ้น ขณะที่เกือบ 85 เปอร์เซ็นต์กังวลใจของขึ้นราคา
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แถลงว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของคน
กรุงเทพฯ ระดับกลาง จำนวน 755 คน จากทุกระดับ อายุ การศึกษา อาชีพ และเพศ ในหัวข้อ “ความกังวลใจและความเดือดร้อนด้านความเป็น
อยู่” พบว่า ร้อยละ 50.4 คิดว่าความเป็นอยู่ของตนเองโดยรวมในปี 2547 เปรียบเทียบกับปี 2546 เลวลง ร้อยละ 37.8 คิดว่าเหมือนเดิม และ
ร้อยละ 6.7 คิดว่าดีขึ้น
จากการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 84.8 มีความกังวลใจเกี่ยวกับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ร้อยละ 60 เดือดร้อน
จากราคาที่สูงขึ้น สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ดีดตัวสูงขึ้นนั้น พบว่า ร้อยละ 75.2 มีความกังวลในเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่ในจำนวนนี้ร้อยละ 56.6
เดือดร้อนเกี่ยวกับราคาน้ำมันมาก และร้อยละ 29.9 เดือดร้อนปานกลาง
ในด้านการทำมาหากินโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำ ร้อยละ 72.9 กังวลใจเกี่ยวกับเงินเดือนและค่าจ้าง ร้อยละ 62.6 กังวลใจ
เกี่ยวกับโบนัสและผลตอบแทนอื่น ๆ ที่อาจจะลดลง และร้อยละ 67.7 กังวลใจต่อความมั่นคงในอาชีพ ในการสำรวจประเด็นความเดือดร้อนร้อยละ
48.4 เดือนร้อนมาก ในเรื่องเงินเดือนและค่าจ้าง ร้อยละ 45.5 เดือดร้อนมากในเรื่องโบนัส และร้อยละ 50.6 เดือดร้อนมากในความมั่นคงของ
อาชีพที่ทำอยู่
ในเรื่องความกังวลใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ พบว่า ร้อยละ 37.4 เดือดร้อนจากอัตราดอกเบี้ย- เงินกู้มาก ร้อยละ 29.4 เดือด
ร้อนปานกลาง และในส่วนของพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการธุรกิจ พบว่า ร้อยละ 63.6 กังวลในเรื่องต้นทุน ในจำนวนนี้ร้อยละ 55.5 เดือดร้อน
จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าที่ผลิตหรือจำหน่ายมาก
ตารางสรุปเกี่ยวกับความกังวลใจและความเดือดร้อนด้านความเป็นอยู่
ตารางที่ 1 ร้อยละของคุณลักษณะของผู้ตอบ (จำนวน 755 ตัวอย่าง)
คุณลักษณะ ร้อยละ
เพศ
ชาย 52.2
หญิง 44.9
อายุ (ปี)
15 — 19 ปี 5.1
20 — 24 ปี 23.8
25 — 29 ปี 25.8
30 — 39 ปี 26.3
40 — 49 ปี 14.7
50 — 59 ปี 3.4
60 ปีขึ้นไป 0.8
สถานภาพสมรส
โสด 63.1
แต่งงานแล้ว 36.9
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา / ต่ำกว่า 9
มัธยมศึกษา 29
อนุปริญญา / ปวส. 18.8
ปริญญาตรี / สูงกว่า 43.2
อาชีพ
รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 15.8
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 41.7
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 26.4
ตัวแทนขายสินค้า 4.4
เกษตรกร 0.8
แม่บ้าน 4.5
ว่างงาน 4
อื่น ๆ 2.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ชี้คนชนชั้นกลาง กทม. มากกว่า 50% เห็นว่าความเป็นอยู่ในปี 2547 เลวลงกว่าปี 2546 มีเพียง 6 เปอร์เซ็นต์เท่า
นั้นที่คิดว่าดีขึ้น ขณะที่เกือบ 85 เปอร์เซ็นต์กังวลใจของขึ้นราคา
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แถลงว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของคน
กรุงเทพฯ ระดับกลาง จำนวน 755 คน จากทุกระดับ อายุ การศึกษา อาชีพ และเพศ ในหัวข้อ “ความกังวลใจและความเดือดร้อนด้านความเป็น
อยู่” พบว่า ร้อยละ 50.4 คิดว่าความเป็นอยู่ของตนเองโดยรวมในปี 2547 เปรียบเทียบกับปี 2546 เลวลง ร้อยละ 37.8 คิดว่าเหมือนเดิม และ
ร้อยละ 6.7 คิดว่าดีขึ้น
จากการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 84.8 มีความกังวลใจเกี่ยวกับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ร้อยละ 60 เดือดร้อน
จากราคาที่สูงขึ้น สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ดีดตัวสูงขึ้นนั้น พบว่า ร้อยละ 75.2 มีความกังวลในเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่ในจำนวนนี้ร้อยละ 56.6
เดือดร้อนเกี่ยวกับราคาน้ำมันมาก และร้อยละ 29.9 เดือดร้อนปานกลาง
ในด้านการทำมาหากินโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำ ร้อยละ 72.9 กังวลใจเกี่ยวกับเงินเดือนและค่าจ้าง ร้อยละ 62.6 กังวลใจ
เกี่ยวกับโบนัสและผลตอบแทนอื่น ๆ ที่อาจจะลดลง และร้อยละ 67.7 กังวลใจต่อความมั่นคงในอาชีพ ในการสำรวจประเด็นความเดือดร้อนร้อยละ
48.4 เดือนร้อนมาก ในเรื่องเงินเดือนและค่าจ้าง ร้อยละ 45.5 เดือดร้อนมากในเรื่องโบนัส และร้อยละ 50.6 เดือดร้อนมากในความมั่นคงของ
อาชีพที่ทำอยู่
ในเรื่องความกังวลใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ พบว่า ร้อยละ 37.4 เดือดร้อนจากอัตราดอกเบี้ย- เงินกู้มาก ร้อยละ 29.4 เดือด
ร้อนปานกลาง และในส่วนของพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการธุรกิจ พบว่า ร้อยละ 63.6 กังวลในเรื่องต้นทุน ในจำนวนนี้ร้อยละ 55.5 เดือดร้อน
จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าที่ผลิตหรือจำหน่ายมาก
ตารางสรุปเกี่ยวกับความกังวลใจและความเดือดร้อนด้านความเป็นอยู่
ตารางที่ 1 ร้อยละของคุณลักษณะของผู้ตอบ (จำนวน 755 ตัวอย่าง)
คุณลักษณะ ร้อยละ
เพศ
ชาย 52.2
หญิง 44.9
อายุ (ปี)
15 — 19 ปี 5.1
20 — 24 ปี 23.8
25 — 29 ปี 25.8
30 — 39 ปี 26.3
40 — 49 ปี 14.7
50 — 59 ปี 3.4
60 ปีขึ้นไป 0.8
สถานภาพสมรส
โสด 63.1
แต่งงานแล้ว 36.9
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา / ต่ำกว่า 9
มัธยมศึกษา 29
อนุปริญญา / ปวส. 18.8
ปริญญาตรี / สูงกว่า 43.2
อาชีพ
รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 15.8
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 41.7
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 26.4
ตัวแทนขายสินค้า 4.4
เกษตรกร 0.8
แม่บ้าน 4.5
ว่างงาน 4
อื่น ๆ 2.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-