แท็ก
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
บล.ไซรัส จำกัด (มหาชน)
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
มหาวิทยาลัย
นิติศาสตร์
นักเรียน ม.ปลาย ทั้งสายวิทย์และศิลป์ ฝันเหมือนกันว่าโตขึ้นอยากเป็นเจ้าของธุรกิจมากกว่าการรับราชการ และคณะยอดนิยมของนักเรียนในปีนี้ ได้แก่ วิศวะ และ นิติศาสตร์
ใกล้จะถึงวันสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนชั้นมัธยมปลายต่างก็มีความรู้สึกกังวลใจต่ออนาคตของ ตนเอง เพราะหลายคนคิดว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หมายถึงความสำเร็จของตนเอง ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจเด็กนักเรียนชั้น ม.4 — ม.6 จำนวน 1,117 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “อนาคตและการสอบของเด็กวัยใส” ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
นักเรียนสายวิทย์ ร้อยละ 18 ฝันจะทำธุรกิจของตัวเอง ร้อยละ 15 ฝันจะเป็นวิศวกร ร้อยละ 12 เท่า ๆ กันฝันจะเป็น นักธุรกิจ และ นักวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 11 ฝันจะเป็นข้าราชการ และ ร้อยละ 9 ฝันจะเป็นแพทย์ ในขณะที่ นักเรียนสายศิลป์ ร้อยละ 35 ฝันจะทำธุรกิจตัวเอง ร้อยละ 21 ฝันจะเป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 13 ฝันจะเป็นนักกฎหมาย ร้อยละ 8 ฝันจะเป็นข้าราชการ ร้อยละ 4 ฝันจะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4 ฝันจะเป็นครู
มหาวิทยาลัยยอดนิยม 6 ลำดับแรกของนักเรียนมัธยมปลาย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนคณะยอดนิยม 6 ลำดับแรกของนักเรียนสายวิทย์ คือ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเภสัชศาสตร์ ส่วนคณะยอดนิยมของนักเรียนสายศิลป์ ได้แก่ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปศาสตร์
ในเรื่องการจะนำ GPA ร้อยละ 10 เข้ามาพิจารณาในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของปีนี้นั้น นักเรียนร้อยละ 50 เห็นด้วย ร้อยละ 33 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17 ไม่มีความคิดเห็น และหากมีการนำ GPA ดังกล่าวนี้มาใช้จริง นักเรียนถึง ร้อยละ 53 จะให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียนมากกว่าเดิม
ส่วนเรื่องการเรียนในห้องเรียนแล้วนักเรียนได้ความรู้เพียงพอหรือไม่ มีนักเรียนถึงร้อยละ 61 เห็นว่า ไม่เพียงพอ ร้อยละ 24 เห็นว่าเพียงพอ และร้อยละ 15 ไม่แน่ใจ ในปัจจุบันมีนักเรียนถึงร้อยละ 65 ไปกวดวิชา และหากมีการนำผล GPA เข้ามาพิจารณาในการสอดคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มีนักเรียนที่ไปกวดวิชาอยู่แล้วถึงร้อยละ 57 จะไปกวดวิชาเพิ่มขึ้นอีก
สำหรับในอนาคตถ้ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะรับสมัครและคัดเลือกผู้สมัครเองโดยตรง มีนักเรียนถึง ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 46 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 19 เฉย ๆ ร้อยละ 8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2 ไม่- เห็นด้วยอย่างมาก ส่วนความกังวลใจของนักเรียนในอนาคต ร้อยละ 60 กังวลใจ และที่เหลืออีกร้อยละ 40 ไม่กังวลใจเลย โดยพบว่าเรื่องที่กังวลใจมากที่สุดคือ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมีถึงร้อยละ 82 รองลงมาคือ การทำงาน ร้อยละ 14
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ใกล้จะถึงวันสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนชั้นมัธยมปลายต่างก็มีความรู้สึกกังวลใจต่ออนาคตของ ตนเอง เพราะหลายคนคิดว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หมายถึงความสำเร็จของตนเอง ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจเด็กนักเรียนชั้น ม.4 — ม.6 จำนวน 1,117 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “อนาคตและการสอบของเด็กวัยใส” ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
นักเรียนสายวิทย์ ร้อยละ 18 ฝันจะทำธุรกิจของตัวเอง ร้อยละ 15 ฝันจะเป็นวิศวกร ร้อยละ 12 เท่า ๆ กันฝันจะเป็น นักธุรกิจ และ นักวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 11 ฝันจะเป็นข้าราชการ และ ร้อยละ 9 ฝันจะเป็นแพทย์ ในขณะที่ นักเรียนสายศิลป์ ร้อยละ 35 ฝันจะทำธุรกิจตัวเอง ร้อยละ 21 ฝันจะเป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 13 ฝันจะเป็นนักกฎหมาย ร้อยละ 8 ฝันจะเป็นข้าราชการ ร้อยละ 4 ฝันจะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4 ฝันจะเป็นครู
มหาวิทยาลัยยอดนิยม 6 ลำดับแรกของนักเรียนมัธยมปลาย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนคณะยอดนิยม 6 ลำดับแรกของนักเรียนสายวิทย์ คือ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเภสัชศาสตร์ ส่วนคณะยอดนิยมของนักเรียนสายศิลป์ ได้แก่ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปศาสตร์
ในเรื่องการจะนำ GPA ร้อยละ 10 เข้ามาพิจารณาในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของปีนี้นั้น นักเรียนร้อยละ 50 เห็นด้วย ร้อยละ 33 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17 ไม่มีความคิดเห็น และหากมีการนำ GPA ดังกล่าวนี้มาใช้จริง นักเรียนถึง ร้อยละ 53 จะให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียนมากกว่าเดิม
ส่วนเรื่องการเรียนในห้องเรียนแล้วนักเรียนได้ความรู้เพียงพอหรือไม่ มีนักเรียนถึงร้อยละ 61 เห็นว่า ไม่เพียงพอ ร้อยละ 24 เห็นว่าเพียงพอ และร้อยละ 15 ไม่แน่ใจ ในปัจจุบันมีนักเรียนถึงร้อยละ 65 ไปกวดวิชา และหากมีการนำผล GPA เข้ามาพิจารณาในการสอดคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มีนักเรียนที่ไปกวดวิชาอยู่แล้วถึงร้อยละ 57 จะไปกวดวิชาเพิ่มขึ้นอีก
สำหรับในอนาคตถ้ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะรับสมัครและคัดเลือกผู้สมัครเองโดยตรง มีนักเรียนถึง ร้อยละ 25 เห็นด้วย ร้อยละ 46 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 19 เฉย ๆ ร้อยละ 8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2 ไม่- เห็นด้วยอย่างมาก ส่วนความกังวลใจของนักเรียนในอนาคต ร้อยละ 60 กังวลใจ และที่เหลืออีกร้อยละ 40 ไม่กังวลใจเลย โดยพบว่าเรื่องที่กังวลใจมากที่สุดคือ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมีถึงร้อยละ 82 รองลงมาคือ การทำงาน ร้อยละ 14
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-