แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
เอบิโก้ โฮลดิ้งส์
กรมสุขภาพจิต
วันสงกรานต์
รดน้ำดำหัว
ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าครอบครัวจะอยู่อย่างราบรื่นได้ต้องมีความรัก ความเข้าอกเข้าใจ และความ
ซื่อสัตย์ต่อกัน
ในวันสงกรานต์คนไทยส่วนใหญ่นอกจากจะเล่นสาดน้ำแล้ว กิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งคือการรดน้ำดำหัวขอพรจาก ผู้สูงอายุ เพื่อความเป็น
ศิริมงคล ดังนั้นศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกันสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี
ขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในหัวข้อ “แลหลังวันวาน วัยหวาน 60” โดยสอบถามผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ
812 คน และในเชียงใหม่ 529 คน จากทุกระดับการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจมีดังนี้
ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 อยู่ด้วยกันกับคู่ชีวิตมากกว่า 20 ปีขึ้นไป รองลงมา ร้อยละ 11 อยู่ด้วยกัน 16-20 ปี ส่วนผู้
สูงอายุในเชียงใหม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 91 อยู่ด้วยกันกับคู่ชีวิตมากกว่า 20 ปีขึ้นไป รองลงมาร้อยละ 5 อยู่ด้วยกัน 16-20 ปี
จากการที่ผู้สูงอายุอยู่ร่วมชีวิตกันมายาวนาน เมื่อถามถึงวันที่มีความหมายมากที่สุดในการอยู่ร่วมกัน พบว่าผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพฯ และใน
เชียงใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเห็นคล้ายๆ กัน คือ ทุกวัน (ร้อยละ 65 และร้อยละ 48) รองลงมาไม่มีวันใด (ร้อยละ 24 และร้อยละ 18) ส่วนความ
หมายของการมีชีวิตคู่นั้นพบว่าผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่ ส่วนมากให้ความหมายไม่แตกต่างกัน คือ การเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข (ร้อย
ละ 31 และร้อยละ 24) รองลงมา คือ การพึ่งพาช่วยเหลือกันยามชรา (ร้อยละ 17 และร้อยละ 23)
เมื่อถามถึงความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยนี้ ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ตอบเหมือนกันว่าไม่จำเป็น (ร้อย
ละ 49 และร้อยละ 67) สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และใจเชียงใหม่ที่ตอบว่าปานกลาง มีร้อยละ 31 และ ร้อยละ 25
ส่วนปัจจัยที่ทำให้ชีวิตคู่อยู่อย่างราบรื่นตลอดไปนั้น ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน คือลำดับแรกจะ
ต้องมีความรักและความเข้าอกเข้าใจกัน (ร้อยละ 35 และร้อยละ 41) ลำดับที่สองคือความซื่อสัตย์ต่อกัน (ร้อยละ 23 และร้อยละ 20) และลำดับที่
สามคือการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (ร้อยละ 19 และร้อยละ 20)
เมื่อให้ผู้สูงอายุมองย้อนเวลากลับไป ก่อนที่จะมีชีวิตคู่และก่อนที่จะมีลูก หากเลือกได้ยังคิดจะมีคู่หรือมีลูกอีกหรือไม่นั้น พบว่าผู้สูงอายุใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 57 ตอบว่าอยากจะมีชีวิตคู่อีก และในจำนวนนี้ร้อยละ 67 ยังประสงค์จะมีลูกเหมือนเดิม ในขณะที่ผู้สูงอายุในเชียงใหม่ ร้อยละ
62 ยังต้องการจะมีชีวิตคู่เหมือนเดิม และในจำนวนนี้ร้อยละ 58 ยังประสงค์จะมีลูกเหมือนเดิมเช่นกัน
เมื่อถามต่อไปว่าถ้าคู่ชีวิตจากไปไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม จะทำอย่างไรต่อไป ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ร้อยละ 74 และในเชียงใหม่ ร้อยละ
76 ตอบว่าจะอยู่ตามลำพังตลอดไป มีผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ เพียงร้อยละ 5 ผู้สูงอายุในเชียงใหม่ ร้อยละ 2 เท่านั้นที่ตอบว่า จะเลือกชีวิตคู่คนใหม่ที่มี
ลักษณะใกล้เคียงคนเดิม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ซื่อสัตย์ต่อกัน
ในวันสงกรานต์คนไทยส่วนใหญ่นอกจากจะเล่นสาดน้ำแล้ว กิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งคือการรดน้ำดำหัวขอพรจาก ผู้สูงอายุ เพื่อความเป็น
ศิริมงคล ดังนั้นศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกันสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี
ขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในหัวข้อ “แลหลังวันวาน วัยหวาน 60” โดยสอบถามผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ
812 คน และในเชียงใหม่ 529 คน จากทุกระดับการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจมีดังนี้
ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 อยู่ด้วยกันกับคู่ชีวิตมากกว่า 20 ปีขึ้นไป รองลงมา ร้อยละ 11 อยู่ด้วยกัน 16-20 ปี ส่วนผู้
สูงอายุในเชียงใหม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 91 อยู่ด้วยกันกับคู่ชีวิตมากกว่า 20 ปีขึ้นไป รองลงมาร้อยละ 5 อยู่ด้วยกัน 16-20 ปี
จากการที่ผู้สูงอายุอยู่ร่วมชีวิตกันมายาวนาน เมื่อถามถึงวันที่มีความหมายมากที่สุดในการอยู่ร่วมกัน พบว่าผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพฯ และใน
เชียงใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเห็นคล้ายๆ กัน คือ ทุกวัน (ร้อยละ 65 และร้อยละ 48) รองลงมาไม่มีวันใด (ร้อยละ 24 และร้อยละ 18) ส่วนความ
หมายของการมีชีวิตคู่นั้นพบว่าผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่ ส่วนมากให้ความหมายไม่แตกต่างกัน คือ การเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข (ร้อย
ละ 31 และร้อยละ 24) รองลงมา คือ การพึ่งพาช่วยเหลือกันยามชรา (ร้อยละ 17 และร้อยละ 23)
เมื่อถามถึงความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยนี้ ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ตอบเหมือนกันว่าไม่จำเป็น (ร้อย
ละ 49 และร้อยละ 67) สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และใจเชียงใหม่ที่ตอบว่าปานกลาง มีร้อยละ 31 และ ร้อยละ 25
ส่วนปัจจัยที่ทำให้ชีวิตคู่อยู่อย่างราบรื่นตลอดไปนั้น ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ และในเชียงใหม่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน คือลำดับแรกจะ
ต้องมีความรักและความเข้าอกเข้าใจกัน (ร้อยละ 35 และร้อยละ 41) ลำดับที่สองคือความซื่อสัตย์ต่อกัน (ร้อยละ 23 และร้อยละ 20) และลำดับที่
สามคือการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (ร้อยละ 19 และร้อยละ 20)
เมื่อให้ผู้สูงอายุมองย้อนเวลากลับไป ก่อนที่จะมีชีวิตคู่และก่อนที่จะมีลูก หากเลือกได้ยังคิดจะมีคู่หรือมีลูกอีกหรือไม่นั้น พบว่าผู้สูงอายุใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 57 ตอบว่าอยากจะมีชีวิตคู่อีก และในจำนวนนี้ร้อยละ 67 ยังประสงค์จะมีลูกเหมือนเดิม ในขณะที่ผู้สูงอายุในเชียงใหม่ ร้อยละ
62 ยังต้องการจะมีชีวิตคู่เหมือนเดิม และในจำนวนนี้ร้อยละ 58 ยังประสงค์จะมีลูกเหมือนเดิมเช่นกัน
เมื่อถามต่อไปว่าถ้าคู่ชีวิตจากไปไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม จะทำอย่างไรต่อไป ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ร้อยละ 74 และในเชียงใหม่ ร้อยละ
76 ตอบว่าจะอยู่ตามลำพังตลอดไป มีผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ เพียงร้อยละ 5 ผู้สูงอายุในเชียงใหม่ ร้อยละ 2 เท่านั้นที่ตอบว่า จะเลือกชีวิตคู่คนใหม่ที่มี
ลักษณะใกล้เคียงคนเดิม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-