จุฬาลงกรณ์เป็นมหาวิทยาลัยที่นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ อยากเข้าศึกษาต่อมากที่สุด และเห็นว่าคณะที่จบการศึกษาแล้วมีรายได้สูงคือแพทย์ศาสตร์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “ความนิยมในมหาวิทยาลัยและอาชีพของนักเรียน ม.ปลาย” โดยสอบถามจากนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ และศิลป์-ภาษา จำนวน 1,376 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยของรัฐที่นักเรียน ม.ปลายในกรุงเทพฯ นิยมและอยากเข้าเรียนมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ (ร้อยละ 37.7) ธรรมศาสตร์ (ร้อยละ 25.5) เกษตรศาสตร์ (ร้อยละ 15.7) มหิดล (ร้อยละ 7.3) เชียงใหม่ (ร้อยละ 2.9) ศิลปากร (ร้อยละ 2.3) เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (ร้อยละ 1.7) เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ร้อยละ 1.6) ศรีนครินทรวิโรฒ (ร้อยละ 1.2) และขอนแก่น (ร้อยละ 1.1)
2. ในกรณีสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้ นักเรียน ม.ปลายในกรุงเทพฯ ร้อยละ 26.8 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 23.1 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเปิดและมหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 3.6 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 1.7 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏกับมหาวิทยาลัยเปิด ร้อยละ 1.6 จะสมัครเรียนในกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และร้อยละ 12.8 จะสมัครเรียนมหาวิทยาลัยเปิด
3. คณะที่นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ อยากเรียนมากที่สุด 5 ลำดับแรกในแต่ละสายคือ
3.1 สายวิทย์-คณิต นักเรียนอยากเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 22.5) รองลงมา ได้แก่ แพทยศาสตร์ (ร้อยละ 21.4) นิเทศศาสตร์ (ร้อยละ 6.4) เภสัชศาสตร์ (ร้อยละ 6.1) และสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ร้อยละ 4.9)
3.2 สายศิลป์-คำนวณ นักเรียนอยากเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 16.8) รองลงมาได้แก่ นิติศาสตร์ (ร้อยละ 12.5) บริหารธุรกิจ (ร้อยละ 12.1) บัญชี (ร้อยละ 9.3) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 4.3)
3.3 สายศิลป์-ภาษา นักเรียนอยากเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 20.7) รองลงมาได้แก่ นิติศาสตร์ (ร้อยละ 13.8) บริหารธุรกิจ (ร้อยละ 10.1) อักษรศาสตร์ (ร้อยละ 7.8) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 4.1)
4. คณะที่นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ เห็นว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะได้เงินเดือนมากเรียงตามลำดับ คือ คณะแพทยศาสตร์ (ร้อยละ 39.1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ร้อยละ 19.7) คณะนิติศาสตร์ (ร้อยละ 7.3) คณะบัญชี (ร้อยละ 6.8) และคณะบริหารธุรกิจ (ร้อยละ 5.8)
5. นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 86.2 เห็นว่าการกวดวิชามีความจำเป็น เนื่องจากสร้างความมั่นใจในการสอบ อาจารย์สอนเก่ง ได้ความรู้ความเข้าใจมากกว่าในห้องเรียนปกติ และได้ทราบแนวข้อสอบแปลกๆ ส่วนนักเรียนอีกร้อยละ 13.8 ที่เห็นว่าการกวดวิชาไม่จำเป็น เนื่องจากการหมั่นทบทวนความรู้สม่ำเสมอก็สามารถสอบได้ การศึกษาในห้องเรียนมีความเพียงพอแล้ว และเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
สำหรับการรับตรงโดยมหาวิทยาลัยแทนการสอบจากส่วนกลาง นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 93.1 เห็นด้วย และร้อยละ 6.9 ไม่เห็นด้วย
6. นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงาน คือ ความรับผิดชอบ (ร้อยละ 23.2) ความรู้ (ร้อยละ 19.4) ความซื่อสัตย์ (ร้อยละ 18.6) ความขยัน (ร้อยละ 10.2) มนุษยสัมพันธ์ (ร้อยละ 8.7) ความอดทน (ร้อยละ 8.3) ความอ่อนน้อมถ่อมตน / สัมมาคารวะ (ร้อยละ 4.7) ความกล้าในการแสดงออก (ร้อยละ 3.8) และความเฉลียวฉลาด (ร้อยละ 3.1 )
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “ความนิยมในมหาวิทยาลัยและอาชีพของนักเรียน ม.ปลาย” โดยสอบถามจากนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ และศิลป์-ภาษา จำนวน 1,376 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยของรัฐที่นักเรียน ม.ปลายในกรุงเทพฯ นิยมและอยากเข้าเรียนมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ (ร้อยละ 37.7) ธรรมศาสตร์ (ร้อยละ 25.5) เกษตรศาสตร์ (ร้อยละ 15.7) มหิดล (ร้อยละ 7.3) เชียงใหม่ (ร้อยละ 2.9) ศิลปากร (ร้อยละ 2.3) เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (ร้อยละ 1.7) เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ร้อยละ 1.6) ศรีนครินทรวิโรฒ (ร้อยละ 1.2) และขอนแก่น (ร้อยละ 1.1)
2. ในกรณีสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้ นักเรียน ม.ปลายในกรุงเทพฯ ร้อยละ 26.8 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 23.1 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเปิดและมหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 3.6 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยละ 1.7 จะสมัครเรียนทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏกับมหาวิทยาลัยเปิด ร้อยละ 1.6 จะสมัครเรียนในกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และร้อยละ 12.8 จะสมัครเรียนมหาวิทยาลัยเปิด
3. คณะที่นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ อยากเรียนมากที่สุด 5 ลำดับแรกในแต่ละสายคือ
3.1 สายวิทย์-คณิต นักเรียนอยากเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 22.5) รองลงมา ได้แก่ แพทยศาสตร์ (ร้อยละ 21.4) นิเทศศาสตร์ (ร้อยละ 6.4) เภสัชศาสตร์ (ร้อยละ 6.1) และสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ร้อยละ 4.9)
3.2 สายศิลป์-คำนวณ นักเรียนอยากเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 16.8) รองลงมาได้แก่ นิติศาสตร์ (ร้อยละ 12.5) บริหารธุรกิจ (ร้อยละ 12.1) บัญชี (ร้อยละ 9.3) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 4.3)
3.3 สายศิลป์-ภาษา นักเรียนอยากเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มากที่สุด (ร้อยละ 20.7) รองลงมาได้แก่ นิติศาสตร์ (ร้อยละ 13.8) บริหารธุรกิจ (ร้อยละ 10.1) อักษรศาสตร์ (ร้อยละ 7.8) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 4.1)
4. คณะที่นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ เห็นว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะได้เงินเดือนมากเรียงตามลำดับ คือ คณะแพทยศาสตร์ (ร้อยละ 39.1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ร้อยละ 19.7) คณะนิติศาสตร์ (ร้อยละ 7.3) คณะบัญชี (ร้อยละ 6.8) และคณะบริหารธุรกิจ (ร้อยละ 5.8)
5. นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 86.2 เห็นว่าการกวดวิชามีความจำเป็น เนื่องจากสร้างความมั่นใจในการสอบ อาจารย์สอนเก่ง ได้ความรู้ความเข้าใจมากกว่าในห้องเรียนปกติ และได้ทราบแนวข้อสอบแปลกๆ ส่วนนักเรียนอีกร้อยละ 13.8 ที่เห็นว่าการกวดวิชาไม่จำเป็น เนื่องจากการหมั่นทบทวนความรู้สม่ำเสมอก็สามารถสอบได้ การศึกษาในห้องเรียนมีความเพียงพอแล้ว และเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
สำหรับการรับตรงโดยมหาวิทยาลัยแทนการสอบจากส่วนกลาง นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 93.1 เห็นด้วย และร้อยละ 6.9 ไม่เห็นด้วย
6. นักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพฯ เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงาน คือ ความรับผิดชอบ (ร้อยละ 23.2) ความรู้ (ร้อยละ 19.4) ความซื่อสัตย์ (ร้อยละ 18.6) ความขยัน (ร้อยละ 10.2) มนุษยสัมพันธ์ (ร้อยละ 8.7) ความอดทน (ร้อยละ 8.3) ความอ่อนน้อมถ่อมตน / สัมมาคารวะ (ร้อยละ 4.7) ความกล้าในการแสดงออก (ร้อยละ 3.8) และความเฉลียวฉลาด (ร้อยละ 3.1 )
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-