การตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ก. ยังคงเป็นสูตรเดิมๆ เหมือน ส.ส. คือ เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้งและได้คนดีเข้าสภา
ใกล้จะถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นครั้งแรกภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในหัวข้อ “เลือก ส.ก. ดูจากอะไร” โดยสอบถามจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 2,000 ราย จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ใน 8 เขตเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีการแข่งขันกันสูง ได้แก่ ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต วังทองหลาง หลักสี่ ห้วยขวาง บางกะปิ และบางพลัด ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ชาวกรุงเทพใน 8 เขตเลือกตั้งข้างต้น ร้อยละ 75.9 คิดว่าตนเองจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 12.0 ไม่ไปเลือกตั้ง และร้อยละ 12.2 ไม่แน่ใจ สำหรับเหตุผลของผู้ที่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ได้ให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้ง (ร้อยละ 39.6) ต้องการได้คนดีมาเป็น ส.ก. (ร้อยละ 28.1) เป็นหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 21.8) เลือกตัวแทนเข้าไปถ่วงดุลการทำงานของกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 8.3) คนรู้จัก/ญาติลงสมัคร (ร้อยละ 1.4) และอื่นๆ (ร้อยละ 0.8) ส่วนผู้ไม่ไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าติดธุระส่วนตัว (ร้อยละ 43.2) เลือกไปก็ไม่เห็นว่าจะไปทำประโยชน์อะไรได้ (ร้อยละ 42.0) ไม่มีผู้สมัครที่ถูกใจ (ร้อยละ 14.8)
2. เมื่อสอบถามถึงความสนใจของกลุ่มคนในแวดวงที่ตนเองเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงานว่ามีการพูดคุยเกี่ยวกับการเลือก ส.ก. ครั้งนี้บ้างหรือไม่ ร้อยละ 61.4 ตอบว่ามี โดยคุยกันบ้างเป็นบางวันหรือบางครั้ง ร้อยละ 87.6 ที่คุยกันทุกวัน มีร้อยละ 12.4
3. ส่วนการรับทราบบทบาท หน้าที่และการทำงานของ ส.ก. นั้น ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 61.6 ตอบว่าทราบ ที่ทราบว่ามีหน้าที่เสนอ/ใช้งบประมาณมาพัฒนาเขตพื้นที่ที่ตนเองสังกัด มีร้อยละ 48.5 ที่ทราบว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น มีร้อยละ 32.1 และที่ทราบว่าเป็นการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 14.4 สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่ทราบว่ามีหน้าที่ออกกฎหมายต่างๆ มีร้อยละ 5.0
4. สำหรับความคิดเห็นที่ว่า ส.ก. ควรจะมาจากพรรคเดียวกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.5 คิดว่าไม่ควรจะมาจากพรรคเดียวกัน ร้อยละ 32.1 คิดว่าไม่ควรสังกัดพรรคใด และร้อยละ 28.4 คิดว่าควรจะมาจากพรรคเดียวกัน
5. สำหรับผู้ที่จะไปเลือกตั้งในครั้งนี้มีเหตุผลสำคัญที่ใช้พิจารณาเลือก ส.ก. คือ ร้อยละ 57.9 เลือกผู้ที่ตนเองนิยมนับถือในผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ร้อยละ 15.7 เลือกเพราะเป็นผู้ที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ร้อยละ 10.8 เลือกเพราะเป็นผู้ที่มาจากต่างพรรคกับผู้ว่าฯ ร้อยละ 8.6 เลือกเพราะเป็นผู้ที่มาจากพรรคเดียวกับผู้ว่าฯ ร้อยละ 4.7 เลือกเพราะเป็นผู้ที่ญาติหรือคนรู้จักของร้องให้เลือก ร้อยละ 2.9 เลือกเพราะตนเองรู้จักกันเป็นการส่วนตัว
6. เมื่อถามต่อไปถึงการทำงานของ ส.ก. ชุดปัจจุบันว่าคุ้มค่าตามที่คาดหวังหรือไม่นั้น ร้อยละ 36.5 คิดว่าคุ้มค่า ร้อยละ 32.6 คิดว่าไม่คุ้มค่า ร้อยละ 30.9 ไม่เคยติดตามการทำงาน ส่วนการที่ ส.ก. ทำงานคุ้มค่ามากน้อยเพียงใดนั้น พบว่าชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.7 เห็นว่าคุ้มค่าน้อย ที่เหลืออีกร้อยละ 30.0 เห็นว่าคุ้มค่ามาก
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ใกล้จะถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นครั้งแรกภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในหัวข้อ “เลือก ส.ก. ดูจากอะไร” โดยสอบถามจากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 2,000 ราย จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ใน 8 เขตเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีการแข่งขันกันสูง ได้แก่ ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต วังทองหลาง หลักสี่ ห้วยขวาง บางกะปิ และบางพลัด ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. ชาวกรุงเทพใน 8 เขตเลือกตั้งข้างต้น ร้อยละ 75.9 คิดว่าตนเองจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 12.0 ไม่ไปเลือกตั้ง และร้อยละ 12.2 ไม่แน่ใจ สำหรับเหตุผลของผู้ที่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ได้ให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้ง (ร้อยละ 39.6) ต้องการได้คนดีมาเป็น ส.ก. (ร้อยละ 28.1) เป็นหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 21.8) เลือกตัวแทนเข้าไปถ่วงดุลการทำงานของกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 8.3) คนรู้จัก/ญาติลงสมัคร (ร้อยละ 1.4) และอื่นๆ (ร้อยละ 0.8) ส่วนผู้ไม่ไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าติดธุระส่วนตัว (ร้อยละ 43.2) เลือกไปก็ไม่เห็นว่าจะไปทำประโยชน์อะไรได้ (ร้อยละ 42.0) ไม่มีผู้สมัครที่ถูกใจ (ร้อยละ 14.8)
2. เมื่อสอบถามถึงความสนใจของกลุ่มคนในแวดวงที่ตนเองเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงานว่ามีการพูดคุยเกี่ยวกับการเลือก ส.ก. ครั้งนี้บ้างหรือไม่ ร้อยละ 61.4 ตอบว่ามี โดยคุยกันบ้างเป็นบางวันหรือบางครั้ง ร้อยละ 87.6 ที่คุยกันทุกวัน มีร้อยละ 12.4
3. ส่วนการรับทราบบทบาท หน้าที่และการทำงานของ ส.ก. นั้น ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 61.6 ตอบว่าทราบ ที่ทราบว่ามีหน้าที่เสนอ/ใช้งบประมาณมาพัฒนาเขตพื้นที่ที่ตนเองสังกัด มีร้อยละ 48.5 ที่ทราบว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น มีร้อยละ 32.1 และที่ทราบว่าเป็นการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 14.4 สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่ทราบว่ามีหน้าที่ออกกฎหมายต่างๆ มีร้อยละ 5.0
4. สำหรับความคิดเห็นที่ว่า ส.ก. ควรจะมาจากพรรคเดียวกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่นั้น ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.5 คิดว่าไม่ควรจะมาจากพรรคเดียวกัน ร้อยละ 32.1 คิดว่าไม่ควรสังกัดพรรคใด และร้อยละ 28.4 คิดว่าควรจะมาจากพรรคเดียวกัน
5. สำหรับผู้ที่จะไปเลือกตั้งในครั้งนี้มีเหตุผลสำคัญที่ใช้พิจารณาเลือก ส.ก. คือ ร้อยละ 57.9 เลือกผู้ที่ตนเองนิยมนับถือในผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ร้อยละ 15.7 เลือกเพราะเป็นผู้ที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ร้อยละ 10.8 เลือกเพราะเป็นผู้ที่มาจากต่างพรรคกับผู้ว่าฯ ร้อยละ 8.6 เลือกเพราะเป็นผู้ที่มาจากพรรคเดียวกับผู้ว่าฯ ร้อยละ 4.7 เลือกเพราะเป็นผู้ที่ญาติหรือคนรู้จักของร้องให้เลือก ร้อยละ 2.9 เลือกเพราะตนเองรู้จักกันเป็นการส่วนตัว
6. เมื่อถามต่อไปถึงการทำงานของ ส.ก. ชุดปัจจุบันว่าคุ้มค่าตามที่คาดหวังหรือไม่นั้น ร้อยละ 36.5 คิดว่าคุ้มค่า ร้อยละ 32.6 คิดว่าไม่คุ้มค่า ร้อยละ 30.9 ไม่เคยติดตามการทำงาน ส่วนการที่ ส.ก. ทำงานคุ้มค่ามากน้อยเพียงใดนั้น พบว่าชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.7 เห็นว่าคุ้มค่าน้อย ที่เหลืออีกร้อยละ 30.0 เห็นว่าคุ้มค่ามาก
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-