ศูนย์วิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2545 ภายใต้ โครงการ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ” โดยเลือกตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,330 ตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,330 ตัวอย่าง
โดยเลือกตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,330 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชากรถึงร้อยละ 79 เชื่อว่าในประเทศไทยมีผู้ต้องหามิได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแต่ถูกศาลตัดสินให้ถูกจำคุก โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการทำงานของตำรวจสูงถึงร้อยละ 55 รองลงมาร้อยละ 13 เชื่อว่าเป็นความบกพร่องของผู้พิพากษา
ในส่วนของความคิดเห็นที่เกี่ยวกับผู้ต้องขังที่มีอิทธิพลหรือมีเงิน มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่เชื่อว่า ผู้ต้องขังเหล่านี้จะถูกขังในเรือนจำจริงตามที่ศาลสั่งตลอดเวลา ในขณะที่ร้อยละ 68 เชื่อว่าผู้ต้องขังเหล่านี้จะได้รับอภิสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องให้ออกมาภายนอกเรือนจำบ้างในบางเวลา ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ต้องขังที่ได้รับอนุญาตให้ออกมาบำเพ็ญประโยชน์
ผลการสำรวจยังระบุอีกว่า ประชากรร้อยละ 39 ไม่เชื่อว่าระบบการตัดสินลดหย่อนผ่อนโทษผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นไปอย่างยุติธรรม ขณะที่ร้อยละ 28 เชื่อว่าระบบดังกล่าวยุติธรรมดีแล้ว
อีกประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจคือ ประชากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 84 เห็นควรให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย โดยร้อยละ 80 เห็นว่าองค์กรที่ควรได้รับการปฏิรูปเป็นอันดับแรก คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองลงมาร้อยละ 6 เห็นควรปฏิรูปองค์กรผู้พิพากษา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ที่มีความเห็นว่าไม่ควรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย แต่อย่างใด
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
โดยเลือกตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,330 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชากรถึงร้อยละ 79 เชื่อว่าในประเทศไทยมีผู้ต้องหามิได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแต่ถูกศาลตัดสินให้ถูกจำคุก โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการทำงานของตำรวจสูงถึงร้อยละ 55 รองลงมาร้อยละ 13 เชื่อว่าเป็นความบกพร่องของผู้พิพากษา
ในส่วนของความคิดเห็นที่เกี่ยวกับผู้ต้องขังที่มีอิทธิพลหรือมีเงิน มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่เชื่อว่า ผู้ต้องขังเหล่านี้จะถูกขังในเรือนจำจริงตามที่ศาลสั่งตลอดเวลา ในขณะที่ร้อยละ 68 เชื่อว่าผู้ต้องขังเหล่านี้จะได้รับอภิสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องให้ออกมาภายนอกเรือนจำบ้างในบางเวลา ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ต้องขังที่ได้รับอนุญาตให้ออกมาบำเพ็ญประโยชน์
ผลการสำรวจยังระบุอีกว่า ประชากรร้อยละ 39 ไม่เชื่อว่าระบบการตัดสินลดหย่อนผ่อนโทษผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นไปอย่างยุติธรรม ขณะที่ร้อยละ 28 เชื่อว่าระบบดังกล่าวยุติธรรมดีแล้ว
อีกประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจคือ ประชากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 84 เห็นควรให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย โดยร้อยละ 80 เห็นว่าองค์กรที่ควรได้รับการปฏิรูปเป็นอันดับแรก คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองลงมาร้อยละ 6 เห็นควรปฏิรูปองค์กรผู้พิพากษา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ที่มีความเห็นว่าไม่ควรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย แต่อย่างใด
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-