อย่างละครึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงใน กทม. เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับประกาศของ กกต.ที่ห้ามทำโพลล์ผู้ว่าฯ
จากประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดประกาศโฆษณาหรือกระทำการใดให้เข้าใจว่าผู้สมัครเลือกตั้งคนใด
ได้รับคะแนนเท่าใดในการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยมีระยะเวลาห้ามถึง 60 วัน ก่อนครบวาระตำแหน่งจนไปถึงเวลา 15.00 น. ของวันลงคะแนนเลือก
ตั้งนั้น ซึ่งหมายความว่าในการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม.ในเดือนสิงหาคมนี้ สำนักโพลล์ต่าง ๆจะต้องหยุดทำการสำรวจ หรือทำการสำรวจได้แต่ต้องไม่มีการ
เผยแพร่ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ถึง 29 สิงหาคม 2547 นั้น เนื่องจากประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ กกต. อาจจะนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการ
เลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศที่จะมีเร็ว ๆ นี้อีกก็ได้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
จำนวน 2,884 คน ซึ่งประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 51 เห็นด้วยต่อประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ในการห้ามรายงานผลการสำรวจตามข้อคิดเห็น
ของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. แต่อีกร้อยละ 49 ไม่เห็นด้วย โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าควรให้ทำได้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้คุณ
ให้โทษกับผู้สมัคร และควรจะห้ามรายงานผลการสำรวจหลังวันปิดรับสมัครผู้ว่าฯ ไม่ใช่ห้ามตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก การรายงานผล
การสำรวจทุกระยะจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัด
สิทธิเสรีภาพ และการรับรู้ของประชาชน
ส่วนความเห็นที่ว่าผลจากการทำโพลล์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครเปลี่ยนไปจากที่ตั้งใจไว้เดิมหรือไม่ ส่วน
ใหญ่คือ ร้อยละ 85.5 ตอบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเพราะ เชื่อมั่นในความคิดและเหตุผลในการเลือกผู้สมัครของตนเอง ไม่จำเป็น
ต้องไปตามความคิดเห็นของคนอื่น ที่เหลืออีกร้อยละ 14.5 ตอบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของตนเองได้โดยให้เหตุผลว่าตนเองมีการศึกษา
น้อยจึงอยากเลือกตามกระแสของคนส่วนใหญ่ หรือได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครจากการทำโพลล์มากขึ้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
จากประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดประกาศโฆษณาหรือกระทำการใดให้เข้าใจว่าผู้สมัครเลือกตั้งคนใด
ได้รับคะแนนเท่าใดในการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยมีระยะเวลาห้ามถึง 60 วัน ก่อนครบวาระตำแหน่งจนไปถึงเวลา 15.00 น. ของวันลงคะแนนเลือก
ตั้งนั้น ซึ่งหมายความว่าในการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม.ในเดือนสิงหาคมนี้ สำนักโพลล์ต่าง ๆจะต้องหยุดทำการสำรวจ หรือทำการสำรวจได้แต่ต้องไม่มีการ
เผยแพร่ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ถึง 29 สิงหาคม 2547 นั้น เนื่องจากประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ กกต. อาจจะนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการ
เลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศที่จะมีเร็ว ๆ นี้อีกก็ได้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
จำนวน 2,884 คน ซึ่งประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆ ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 51 เห็นด้วยต่อประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ในการห้ามรายงานผลการสำรวจตามข้อคิดเห็น
ของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. แต่อีกร้อยละ 49 ไม่เห็นด้วย โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าควรให้ทำได้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้คุณ
ให้โทษกับผู้สมัคร และควรจะห้ามรายงานผลการสำรวจหลังวันปิดรับสมัครผู้ว่าฯ ไม่ใช่ห้ามตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก การรายงานผล
การสำรวจทุกระยะจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัด
สิทธิเสรีภาพ และการรับรู้ของประชาชน
ส่วนความเห็นที่ว่าผลจากการทำโพลล์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครเปลี่ยนไปจากที่ตั้งใจไว้เดิมหรือไม่ ส่วน
ใหญ่คือ ร้อยละ 85.5 ตอบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเพราะ เชื่อมั่นในความคิดและเหตุผลในการเลือกผู้สมัครของตนเอง ไม่จำเป็น
ต้องไปตามความคิดเห็นของคนอื่น ที่เหลืออีกร้อยละ 14.5 ตอบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของตนเองได้โดยให้เหตุผลว่าตนเองมีการศึกษา
น้อยจึงอยากเลือกตามกระแสของคนส่วนใหญ่ หรือได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครจากการทำโพลล์มากขึ้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-