แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
โรงแรมคอนราด
ข้าราชการ
โอวัลติน
ความเป็นมาของโพลล์
คอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ในใจของคนไทย ดังเห็นได้จากปฏิกิริยาของประชาชนในด้านลบที่มีต่อเรื่องอื้อฉาวของนักการเมืองและข้าราชการ
และโพลล์สำรวจทัศนคติและความพอใจที่มีต่อนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในเรื่องคอรัปชั่น
อย่างไรก็ดีไม่เป็นที่แน่ชัดว่าประชาชนเข้าใจว่าคอรัปชั่นมีความหมายอย่างไร เช่นหมายถึง
เฉพาะการฉ้อฉลของข้าราชการ และ/หรือ นักการเมืองเท่านั้น การฉ้อฉลคดโกงของสมาชิกอบต. เทศบาล สก. และสข. เข้าข่าย
คอรัปชั่นหรือไม่ “ตามน้ำ” ถือได้หรือไม่ว่าเป็นคอรัปชั่นลักษณะหนึ่ง ฯลฯ
การเข้าใจความหมายของคอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน จะช่วยทำให้การแก้ไขปัญหา
คอรัปชั่นกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เห็นความสำคัญของประเด็นนี้ จึงได้ออกสำรวจความเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายของ
คอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน โดยได้จัดส่งอาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ที่กำหนดเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักระเบียบวิธีวิจัย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายของคอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน
เพื่อเป็นฐานไปสู่การศึกษาในเรื่องคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจภาคสนามของโพลล์นี้ ทำในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ถึง 6 สิงหาคม 2544
โดยมีกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาต่างๆ กันรวมจำนวนทั้งสิ้น
1,039 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปสัมภาษณ์ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดระบุเป็นหญิง
ร้อยละ 48 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50 ระบุอายุระหว่าง 25-44 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 31 ระบุอายุระหว่าง 20-24 ปี
ร้อยละ 12 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ ร้อยละ 7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
รองลงมาคือร้อยละ 24 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 21 สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 12 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 35 ระบุเป็นลูกจ้างเอกชน
รองลงมาคือร้อยละ 29 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26 ระบุเป็นนักศึกษาและแม่บ้าน
ในขณะที่ร้อยละ 14 ระบุเป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 5 ระบุเป็นผู้ว่างงาน ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯนี้มีความเข้าใจว่าคอรัปชั่นคือการประพฤติมิชอบของนักการเมือง ข้าราชการ โดยเกี่ยวพันกับ
กิจกรรมของรัฐและสาธารณชน
คอรัปชั่นมิได้มีขอบเขตอยู่ในเฉพาะความฉ้อฉลของนักการเมืองและข้าราชการเท่านั้น หาก
ครอบคลุมถึงการฉ้อฉลของนักธุรกิจเอกชนด้วยในเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิการของประชาชน (ร้อยละ 63 เชื่อว่าการ ”ฮั้ว” เป็นคอรัปชั่น
อย่างหนึ่ง)
(ค) ถึงแม้คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่เชื่อว่าการ “ตามน้ำ” เป็นคอรัปชั่น และก็มีถึงร้อยละ 27 ที่เห็นว่าไม่ใช่คอรัปชั่น เมื่อพิจารณาในราย
ละเอียดของผู้ที่ไม่คิดว่าเป็นคอรัปชั่นก็พบว่าข้าราชการ / ลูกจ้าง
รัฐบาล ลูกจ้างเอกชน ธุรกิจส่วนตัวต่างก็มีสัดส่วนความเชื่อว่า “ตามน้ำ” มิใช่คอรัปชั่นใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 28
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือมีคนกรุงเทพฯถึงร้อยละ 29 เห็นว่าการใช้เวลาราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัวมิใช่คอรัปชั่น (ส่วนใหญ่ร้อยละ 52
เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น) และร้อยละ 35 เห็นว่าการที่ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินให้สมาคมผู้ปกครองเพื่อให้ได้เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลมิใช่คอรัปชั่น ในขณะที่
ร้อยละ 47 เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น
ในลักษณะคล้ายกันมีคนกรุงเทพฯถึงร้อยละ 36 เห็นว่าการที่นักการเมืองและข้าราชการช่วยเหลือญาติเข้าทำงานในภาคเอกชนที่มีธุรกิจ
เกี่ยวข้องกับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่มิใช่คอรัปชั่น (ร้อยละ 47 เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น)
ข้อมูลสนับสนุน รายละเอียดเพิ่มเติม ปรากฏในตารางต่อไปนี้
สัดส่วนของความเห็นเกี่ยวกับความเข้าใจความหมายคอรัปชั่น (ร้อยละ)
สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เป็นคอรัปชั่น ใช่ ไม่ใช่ ไม่แน่ใจ รวม
การ “ตามน้ำ” 58 27 14 100
การ “ฮั้ว” ของธุรกิจเอกชนในการประมูลงานราชการ 63 19 18 100
การใช้เวลาราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัว 52 29 20 100
โรงเรียนรัฐบาลให้ผู้ปกครองจ่ายเงินให้สมาคมผู้ปกครองเพื่อรับลูกหลานเข้าเรียนเป็นพิเศษ 47 35 19 100
นักการเมืองและข้าราชการช่วยเหลือญาติเข้าทำงานในภาคเอกชนที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับกับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ 47 36 17 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
คอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ในใจของคนไทย ดังเห็นได้จากปฏิกิริยาของประชาชนในด้านลบที่มีต่อเรื่องอื้อฉาวของนักการเมืองและข้าราชการ
และโพลล์สำรวจทัศนคติและความพอใจที่มีต่อนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในเรื่องคอรัปชั่น
อย่างไรก็ดีไม่เป็นที่แน่ชัดว่าประชาชนเข้าใจว่าคอรัปชั่นมีความหมายอย่างไร เช่นหมายถึง
เฉพาะการฉ้อฉลของข้าราชการ และ/หรือ นักการเมืองเท่านั้น การฉ้อฉลคดโกงของสมาชิกอบต. เทศบาล สก. และสข. เข้าข่าย
คอรัปชั่นหรือไม่ “ตามน้ำ” ถือได้หรือไม่ว่าเป็นคอรัปชั่นลักษณะหนึ่ง ฯลฯ
การเข้าใจความหมายของคอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน จะช่วยทำให้การแก้ไขปัญหา
คอรัปชั่นกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เห็นความสำคัญของประเด็นนี้ จึงได้ออกสำรวจความเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายของ
คอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน โดยได้จัดส่งอาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ที่กำหนดเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักระเบียบวิธีวิจัย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายของคอรัปชั่นในทรรศนะของประชาชน
เพื่อเป็นฐานไปสู่การศึกษาในเรื่องคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจภาคสนามของโพลล์นี้ ทำในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ถึง 6 สิงหาคม 2544
โดยมีกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาต่างๆ กันรวมจำนวนทั้งสิ้น
1,039 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปสัมภาษณ์ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดระบุเป็นหญิง
ร้อยละ 48 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50 ระบุอายุระหว่าง 25-44 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 31 ระบุอายุระหว่าง 20-24 ปี
ร้อยละ 12 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ ร้อยละ 7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
รองลงมาคือร้อยละ 24 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 21 สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 12 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 35 ระบุเป็นลูกจ้างเอกชน
รองลงมาคือร้อยละ 29 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26 ระบุเป็นนักศึกษาและแม่บ้าน
ในขณะที่ร้อยละ 14 ระบุเป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 5 ระบุเป็นผู้ว่างงาน ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯนี้มีความเข้าใจว่าคอรัปชั่นคือการประพฤติมิชอบของนักการเมือง ข้าราชการ โดยเกี่ยวพันกับ
กิจกรรมของรัฐและสาธารณชน
คอรัปชั่นมิได้มีขอบเขตอยู่ในเฉพาะความฉ้อฉลของนักการเมืองและข้าราชการเท่านั้น หาก
ครอบคลุมถึงการฉ้อฉลของนักธุรกิจเอกชนด้วยในเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิการของประชาชน (ร้อยละ 63 เชื่อว่าการ ”ฮั้ว” เป็นคอรัปชั่น
อย่างหนึ่ง)
(ค) ถึงแม้คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่เชื่อว่าการ “ตามน้ำ” เป็นคอรัปชั่น และก็มีถึงร้อยละ 27 ที่เห็นว่าไม่ใช่คอรัปชั่น เมื่อพิจารณาในราย
ละเอียดของผู้ที่ไม่คิดว่าเป็นคอรัปชั่นก็พบว่าข้าราชการ / ลูกจ้าง
รัฐบาล ลูกจ้างเอกชน ธุรกิจส่วนตัวต่างก็มีสัดส่วนความเชื่อว่า “ตามน้ำ” มิใช่คอรัปชั่นใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 28
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือมีคนกรุงเทพฯถึงร้อยละ 29 เห็นว่าการใช้เวลาราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัวมิใช่คอรัปชั่น (ส่วนใหญ่ร้อยละ 52
เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น) และร้อยละ 35 เห็นว่าการที่ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินให้สมาคมผู้ปกครองเพื่อให้ได้เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลมิใช่คอรัปชั่น ในขณะที่
ร้อยละ 47 เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น
ในลักษณะคล้ายกันมีคนกรุงเทพฯถึงร้อยละ 36 เห็นว่าการที่นักการเมืองและข้าราชการช่วยเหลือญาติเข้าทำงานในภาคเอกชนที่มีธุรกิจ
เกี่ยวข้องกับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่มิใช่คอรัปชั่น (ร้อยละ 47 เห็นว่าเป็นคอรัปชั่น)
ข้อมูลสนับสนุน รายละเอียดเพิ่มเติม ปรากฏในตารางต่อไปนี้
สัดส่วนของความเห็นเกี่ยวกับความเข้าใจความหมายคอรัปชั่น (ร้อยละ)
สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เป็นคอรัปชั่น ใช่ ไม่ใช่ ไม่แน่ใจ รวม
การ “ตามน้ำ” 58 27 14 100
การ “ฮั้ว” ของธุรกิจเอกชนในการประมูลงานราชการ 63 19 18 100
การใช้เวลาราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัว 52 29 20 100
โรงเรียนรัฐบาลให้ผู้ปกครองจ่ายเงินให้สมาคมผู้ปกครองเพื่อรับลูกหลานเข้าเรียนเป็นพิเศษ 47 35 19 100
นักการเมืองและข้าราชการช่วยเหลือญาติเข้าทำงานในภาคเอกชนที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับกับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ 47 36 17 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-