นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและเป็นคนดีของพ่อแม่เนื่องในวันเข้าพรรษานี้แต่พบว่าใจของวัยโจ๋อยากให้วันวาเลนไทน์หมุนเวียนกลับเร็วกว่าวันสำคัญทางศาสนา
เนื่องในวาระที่วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาได้เวียนบรรจบครบรอบอีก 1 ปี ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงทำการสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของวัยรุ่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยสอบถามนักเรียน นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,420 คน ที่มีอายุระหว่าง 13 — 25 ปี ในวันที่ 16 — 17 กรกฎาคม 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ เพื่อคุณพ่อคุณแม่ในวันเข้าพรรษาและตลอดเวลา 3 เดือนนับจากนี้ พบว่าร้อยละ 33.6 จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ร้อยละ 32.6 เป็นคนดี ร้อยละ 18.2 ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ร้อยละ 4.9 เลิกดื่มเหล้า ร้อยละ 4.5 เลิกเที่ยวเตร่ตอนกลางคืน ร้อยละ 3.7 เลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 2.5 ไม่ทำอะไร
และเมื่อมีโอกาสไปทำบุญที่วัดไม่ว่าจะเป็นวาระใดก็ตามมีลักษณะการทำบุญต่างๆ กัน โดยพบว่า ร้อยละ 59.9 จะทำสังฆทาน ร้อยละ 11.5 ถวายหลวงพ่อโดยตรง ร้อยละ 10.3 ทำบุญเลี้ยงพระ ร้อยละ 9.0 สมทบสร้างหรือซ่อมแซมโบสถ์ กุฏิ ร้อยละ 8.7 บริจาคเข้ากองทุนธรรมะ แต่กรณีถ้าพบพระเอ่ยปากชวนทำบุญนั้นร้อยละ 75.6 ตอบว่ายินดี ร้อยละ 18.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6.0 ไม่ยินดี
สำหรับกรณีมีเงินก้อนหนึ่งและต้องการจะทำประโยชน์แก่ส่วนรวมนั้น ร้อยละ 54.3 จะนำเงินไปทำบุญกับวัดร้อยละ 15.9 จะบริจาคให้โรงพยาบาล ร้อยละ 15.3 จะบริจาคให้หน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ร้อยละ 14.5 จะบริจาคให้โรงเรียน
ส่วนพฤติกรรมในทางบวกที่นักเรียน นักศึกษาได้กระทำในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา 3 ลำดับ พบว่าอันดับแรกคือการสวดมนต์ไหว้พระที่บ้าน โดยร้อยละ 34.2 ทำเสมอๆ ร้อยละ 45.6 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 20.3 ไม่ได้ทำเลย อันดับสองคือการทำบุญใส่บาตร โดยร้อยละ 12.9 ทำเสมอๆ ร้อยละ 67.8 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 19.3 ไม่ได้ทำเลย ส่วนอันดับที่สามได้แก่การไปวัดทำบุญ โดยร้อยละ 11.7 ทำเสมอๆ ร้อยละ 69.7 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 19.3 ไม่ได้ทำเลย
สำหรับพฤติกรรมในทางลบได้แก่การผิดศีล 5 นั้น พบว่าการพูดปดเป็นเรื่องที่นักเรียน นักศึกษาทำผิดมากกว่าศีลข้ออื่น คือ ร้อยละ 16.2 ทำเสมอๆ ร้อยละ 73.3 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 10.5 ไม่ได้ทำเลย ส่วนศีลข้ออื่นๆ คือ การดื่มสุราและการลักขโมยสิ่งของผู้อื่นๆ นั้น นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเป็นเด็กดี กล่าวคือ ร้อยละ 61.6 และ 92.5 ตอบว่าไม่ได้ทำเลย ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความต้องการที่จะให้วันใดเวียนกลับเร็วที่สุดในรอบ 1 ปี ทั้งที่เป็นวันสำคัญที่มีความสุข สนุกสนาน วันสำคัญทางศาสนาที่ต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงการทำความดี พบว่านักเรียน/นักศึกษานึกถึงวันสำคัญที่สนุกสนานมากกว่าวันทางศาสนา โดยต้องการให้วันสงกรานต์เวียนกลับมาเร็วที่สุดเป็นลำดับแรก (ร้อยละ 20.0) รองลงมาคือวันปีใหม่ (ร้อยละ 19.4) วันเกิดของตนเอง (ร้อยละ 13.0) วันลอยกระทง (ร้อยละ 9.9) วันวาเลนไทน์ (ร้อยละ 8.2) วันตรุษจีน (ร้อยละ 8.2) วันคริสต์มาส (ร้อยละ 6.7) วันวิสาขบูชา (ร้อยละ 5.7) วันมาฆบูชา (ร้อยละ 4.6) และสุดท้ายคือวันอาสาฬหบูชา (ร้อยละ 4.2)
ตารางสรุปการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง วัยรุ่นกับพฤติกรรมเรื่องต่าง ๆ ทางศาสนา
คุณลักษณะของผู้ตอบ
คุณลักษณะของผู้ตอบ ร้อยละ
เพศ
ชาย 33.9
หญิง 66.1
อายุ (ปี)
13 — 14 ปี 9.3
15 — 17 ปี 26.6
18 — 20 ปี 39.1
21 — 23 ปี 19.8
24 — 25 ปี 5.2
ภูมิลำเนา
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 71.2
ต่างจังหวัด 28.5
ลักษณะการอยู่อาศัย
อยู่กับบิดา มารดา / ญาติพี่น้อง 70
อยู่หอพัก / เช่าอยู่ 30
วันสำคัญที่ต้องการให้หมุนเวียนกลับมาเร็วที่สุด
ลำดับที่ วันสำคัญ ร้อยละ
1 วันสงกรานต์ 20
2 วันปีใหม่ 19.4
3 วันเกิดของตนเอง 13
4 วันลอยกระทง 9.9
5 วันวาเลนไทน์ 8.2
6 วันตรุษจีน 8.2
7 วันคริสต์มาส 6.7
8 วันวิสาขบูชา 5.7
9 วันมาฆบูชา 4.6
10 วันอาสาฬหบูชา 4.2
ความถี่ของกิจกรรมทางศาสนาที่ได้กระทำในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม ทำเสมอ ๆ ทำนาน ๆ ครั้ง ไม่ได้ทำเลย
สวดมนต์ไหว้พระที่บ้าน 34.2 45.6 20.3
ทำบุญใส่บาตร 12.9 67.8 19.3
ไปวัดทำบุญ 11.7 69.7 18.6
นั่งสมาธิ 8.3 54.4 37.3
อ่านหนังสือธรรมะ 5.6 43.6 50.8
พูดปด 16.2 73.3 10.5
ดื่มสุรา 6.4 32 61.6
ลักขโมยสิ่งของผู้อื่น 0.5 7 92.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
เนื่องในวาระที่วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาได้เวียนบรรจบครบรอบอีก 1 ปี ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงทำการสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของวัยรุ่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยสอบถามนักเรียน นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,420 คน ที่มีอายุระหว่าง 13 — 25 ปี ในวันที่ 16 — 17 กรกฎาคม 2548 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ เพื่อคุณพ่อคุณแม่ในวันเข้าพรรษาและตลอดเวลา 3 เดือนนับจากนี้ พบว่าร้อยละ 33.6 จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ร้อยละ 32.6 เป็นคนดี ร้อยละ 18.2 ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ร้อยละ 4.9 เลิกดื่มเหล้า ร้อยละ 4.5 เลิกเที่ยวเตร่ตอนกลางคืน ร้อยละ 3.7 เลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 2.5 ไม่ทำอะไร
และเมื่อมีโอกาสไปทำบุญที่วัดไม่ว่าจะเป็นวาระใดก็ตามมีลักษณะการทำบุญต่างๆ กัน โดยพบว่า ร้อยละ 59.9 จะทำสังฆทาน ร้อยละ 11.5 ถวายหลวงพ่อโดยตรง ร้อยละ 10.3 ทำบุญเลี้ยงพระ ร้อยละ 9.0 สมทบสร้างหรือซ่อมแซมโบสถ์ กุฏิ ร้อยละ 8.7 บริจาคเข้ากองทุนธรรมะ แต่กรณีถ้าพบพระเอ่ยปากชวนทำบุญนั้นร้อยละ 75.6 ตอบว่ายินดี ร้อยละ 18.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6.0 ไม่ยินดี
สำหรับกรณีมีเงินก้อนหนึ่งและต้องการจะทำประโยชน์แก่ส่วนรวมนั้น ร้อยละ 54.3 จะนำเงินไปทำบุญกับวัดร้อยละ 15.9 จะบริจาคให้โรงพยาบาล ร้อยละ 15.3 จะบริจาคให้หน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ร้อยละ 14.5 จะบริจาคให้โรงเรียน
ส่วนพฤติกรรมในทางบวกที่นักเรียน นักศึกษาได้กระทำในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา 3 ลำดับ พบว่าอันดับแรกคือการสวดมนต์ไหว้พระที่บ้าน โดยร้อยละ 34.2 ทำเสมอๆ ร้อยละ 45.6 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 20.3 ไม่ได้ทำเลย อันดับสองคือการทำบุญใส่บาตร โดยร้อยละ 12.9 ทำเสมอๆ ร้อยละ 67.8 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 19.3 ไม่ได้ทำเลย ส่วนอันดับที่สามได้แก่การไปวัดทำบุญ โดยร้อยละ 11.7 ทำเสมอๆ ร้อยละ 69.7 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 19.3 ไม่ได้ทำเลย
สำหรับพฤติกรรมในทางลบได้แก่การผิดศีล 5 นั้น พบว่าการพูดปดเป็นเรื่องที่นักเรียน นักศึกษาทำผิดมากกว่าศีลข้ออื่น คือ ร้อยละ 16.2 ทำเสมอๆ ร้อยละ 73.3 ทำนานๆ ครั้ง และร้อยละ 10.5 ไม่ได้ทำเลย ส่วนศีลข้ออื่นๆ คือ การดื่มสุราและการลักขโมยสิ่งของผู้อื่นๆ นั้น นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเป็นเด็กดี กล่าวคือ ร้อยละ 61.6 และ 92.5 ตอบว่าไม่ได้ทำเลย ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความต้องการที่จะให้วันใดเวียนกลับเร็วที่สุดในรอบ 1 ปี ทั้งที่เป็นวันสำคัญที่มีความสุข สนุกสนาน วันสำคัญทางศาสนาที่ต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงการทำความดี พบว่านักเรียน/นักศึกษานึกถึงวันสำคัญที่สนุกสนานมากกว่าวันทางศาสนา โดยต้องการให้วันสงกรานต์เวียนกลับมาเร็วที่สุดเป็นลำดับแรก (ร้อยละ 20.0) รองลงมาคือวันปีใหม่ (ร้อยละ 19.4) วันเกิดของตนเอง (ร้อยละ 13.0) วันลอยกระทง (ร้อยละ 9.9) วันวาเลนไทน์ (ร้อยละ 8.2) วันตรุษจีน (ร้อยละ 8.2) วันคริสต์มาส (ร้อยละ 6.7) วันวิสาขบูชา (ร้อยละ 5.7) วันมาฆบูชา (ร้อยละ 4.6) และสุดท้ายคือวันอาสาฬหบูชา (ร้อยละ 4.2)
ตารางสรุปการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง วัยรุ่นกับพฤติกรรมเรื่องต่าง ๆ ทางศาสนา
คุณลักษณะของผู้ตอบ
คุณลักษณะของผู้ตอบ ร้อยละ
เพศ
ชาย 33.9
หญิง 66.1
อายุ (ปี)
13 — 14 ปี 9.3
15 — 17 ปี 26.6
18 — 20 ปี 39.1
21 — 23 ปี 19.8
24 — 25 ปี 5.2
ภูมิลำเนา
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 71.2
ต่างจังหวัด 28.5
ลักษณะการอยู่อาศัย
อยู่กับบิดา มารดา / ญาติพี่น้อง 70
อยู่หอพัก / เช่าอยู่ 30
วันสำคัญที่ต้องการให้หมุนเวียนกลับมาเร็วที่สุด
ลำดับที่ วันสำคัญ ร้อยละ
1 วันสงกรานต์ 20
2 วันปีใหม่ 19.4
3 วันเกิดของตนเอง 13
4 วันลอยกระทง 9.9
5 วันวาเลนไทน์ 8.2
6 วันตรุษจีน 8.2
7 วันคริสต์มาส 6.7
8 วันวิสาขบูชา 5.7
9 วันมาฆบูชา 4.6
10 วันอาสาฬหบูชา 4.2
ความถี่ของกิจกรรมทางศาสนาที่ได้กระทำในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม ทำเสมอ ๆ ทำนาน ๆ ครั้ง ไม่ได้ทำเลย
สวดมนต์ไหว้พระที่บ้าน 34.2 45.6 20.3
ทำบุญใส่บาตร 12.9 67.8 19.3
ไปวัดทำบุญ 11.7 69.7 18.6
นั่งสมาธิ 8.3 54.4 37.3
อ่านหนังสือธรรมะ 5.6 43.6 50.8
พูดปด 16.2 73.3 10.5
ดื่มสุรา 6.4 32 61.6
ลักขโมยสิ่งของผู้อื่น 0.5 7 92.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-