แท็ก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
พิพิธภัณฑ์เด็ก
บล.ไทยพาณิชย์
วันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง(ก่อนวันลอยกระทง) : ร้อยละ 76 เห็นว่าการลอยกระทงเป็นการสืบทอดประเพณี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงของชาวกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 — 10 พฤศจิกายน 2545 จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มาจากทุกเพศ อายุ อาชีพ และการศึกษา จำนวน 1,321 ราย
ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
คนกรุงเทพฯ ที่ตอบว่าจะลอยกระทงในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีจำนวนร้อยละ 80 โดยส่วนใหญ่จะลอยใน กทม. ร้อยละ 90 และไปลอยต่างจังหวัด ร้อยละ 10 เมื่อจำแนกตามอายุพบว่าผู้มีอายุช่วง 20 — 29 ปี จะลอยกระทงเป็นจำนวนร้อยละ 86 และผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะไปลอยกระทงเพียงร้อยละ 71
สถานที่คนกรุงเทพฯ คิดว่าจะไปลอยกระทงส่วนใหญ่ร้อยละ 44 จะไปลอยในบริเวณบ้านหรือสถานที่ใกล้เคียง และอีกร้อยละ 29 จะไปลอยที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และอีกร้อยละ 13 จะไปลอยในสถานที่ที่ทางราชการจัดงานลอยกระทง
ในด้านค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในวันลอยกระทง อาทิเช่น ค่ากระทง ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ พบว่าผู้ที่จะลอยกระทงในกรุงเทพฯ จะเตรียมเงินสำหรับจะเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 124 บาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 95 บาท ส่วนคนกรุงเทพฯ ที่ไปลอยกระทงต่างจังหวัด เตรียมเงินค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 756 บาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 505 บาท
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้วัสดุที่จะทำเป็นกระทงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 94 สนับสนุนการใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ และคิดว่าจะใช้กระทงที่ทำจากโฟมมีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น
ในด้านวัตถุประสงค์ในการลอยกระทงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 76 เห็นว่าการลอยกระทงเป็นการสืบทอดประเพณี ส่วนอีกร้อยละ 22 เป็นการลอยกระทงเพื่อความสนุกสนานและบันเทิง
ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงของคนกรุงเทพฯ พบว่าร้อยละ 57 เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาพระแม่คงคา และอีกร้อยละ 20 เชื่อว่าเป็นการนำเอาความโชคร้ายลอยไปกับกระทง โดยสิ่งของที่นิยมใส่ลงไปในกระทงเพิ่มเติมนอกจากธูปเทียน ได้แก่ เงิน เล็บ และเส้นผม
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มีความกังวลใจว่าหลังวันลอยกระทงจะมีขยะที่เก็บไม่หมด และอีกร้อยละ 32 มีความกังวลใจจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในวันลอยกระทง และอีกร้อยละ 7 มีความกังวลใจเกี่ยวกับคนที่ไปงานลอยกระทงจะไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของงานลอยกระทง
ด้านความคิดเห็นในเรื่องที่รัฐบาลควรจะมีมาตรการเกี่ยวกับการจุดประทัดและดอกไม้ไฟ พบว่าร้อยละ 57 เห็นว่ารัฐบาลควรผ่อนปรนบางช่วงเวลาและบางสถานที่ ส่วนอีกร้อยละ 36 เห็นว่าควรห้ามจุดประทัดและดอกไม้ไฟอย่างเด็ดขาด และร้อยละ 5 เห็นว่าควรปล่อยให้จุดประทัดและดอกไม้ไฟอย่างเสรี
ด้านความสะดวกในวันลอยกระทงพบว่า ร้อยละ 53 เห็นว่าควรจัดการเกี่ยวกับการจราจร และร้อยละ 33 เห็นว่าควรจัดหาสถานที่ที่จะลอยกระทงได้อย่างเหมาะสม
ส่วนการจัดการประกวดนางนพมาศในงานวันลอยกระทงนั้นพบว่า ร้อยละ 93 เห็นว่าควรจะมีการจัดประกวดนางนพมาศ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีการประกวดนางนพมาศ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79 ก็ยังจะไปร่วมกิจกรรมในงานลอยกระทงด้วย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงของชาวกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 — 10 พฤศจิกายน 2545 จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มาจากทุกเพศ อายุ อาชีพ และการศึกษา จำนวน 1,321 ราย
ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
คนกรุงเทพฯ ที่ตอบว่าจะลอยกระทงในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีจำนวนร้อยละ 80 โดยส่วนใหญ่จะลอยใน กทม. ร้อยละ 90 และไปลอยต่างจังหวัด ร้อยละ 10 เมื่อจำแนกตามอายุพบว่าผู้มีอายุช่วง 20 — 29 ปี จะลอยกระทงเป็นจำนวนร้อยละ 86 และผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะไปลอยกระทงเพียงร้อยละ 71
สถานที่คนกรุงเทพฯ คิดว่าจะไปลอยกระทงส่วนใหญ่ร้อยละ 44 จะไปลอยในบริเวณบ้านหรือสถานที่ใกล้เคียง และอีกร้อยละ 29 จะไปลอยที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และอีกร้อยละ 13 จะไปลอยในสถานที่ที่ทางราชการจัดงานลอยกระทง
ในด้านค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในวันลอยกระทง อาทิเช่น ค่ากระทง ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ พบว่าผู้ที่จะลอยกระทงในกรุงเทพฯ จะเตรียมเงินสำหรับจะเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 124 บาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 95 บาท ส่วนคนกรุงเทพฯ ที่ไปลอยกระทงต่างจังหวัด เตรียมเงินค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 756 บาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 505 บาท
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้วัสดุที่จะทำเป็นกระทงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 94 สนับสนุนการใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ และคิดว่าจะใช้กระทงที่ทำจากโฟมมีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น
ในด้านวัตถุประสงค์ในการลอยกระทงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 76 เห็นว่าการลอยกระทงเป็นการสืบทอดประเพณี ส่วนอีกร้อยละ 22 เป็นการลอยกระทงเพื่อความสนุกสนานและบันเทิง
ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงของคนกรุงเทพฯ พบว่าร้อยละ 57 เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาพระแม่คงคา และอีกร้อยละ 20 เชื่อว่าเป็นการนำเอาความโชคร้ายลอยไปกับกระทง โดยสิ่งของที่นิยมใส่ลงไปในกระทงเพิ่มเติมนอกจากธูปเทียน ได้แก่ เงิน เล็บ และเส้นผม
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มีความกังวลใจว่าหลังวันลอยกระทงจะมีขยะที่เก็บไม่หมด และอีกร้อยละ 32 มีความกังวลใจจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในวันลอยกระทง และอีกร้อยละ 7 มีความกังวลใจเกี่ยวกับคนที่ไปงานลอยกระทงจะไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของงานลอยกระทง
ด้านความคิดเห็นในเรื่องที่รัฐบาลควรจะมีมาตรการเกี่ยวกับการจุดประทัดและดอกไม้ไฟ พบว่าร้อยละ 57 เห็นว่ารัฐบาลควรผ่อนปรนบางช่วงเวลาและบางสถานที่ ส่วนอีกร้อยละ 36 เห็นว่าควรห้ามจุดประทัดและดอกไม้ไฟอย่างเด็ดขาด และร้อยละ 5 เห็นว่าควรปล่อยให้จุดประทัดและดอกไม้ไฟอย่างเสรี
ด้านความสะดวกในวันลอยกระทงพบว่า ร้อยละ 53 เห็นว่าควรจัดการเกี่ยวกับการจราจร และร้อยละ 33 เห็นว่าควรจัดหาสถานที่ที่จะลอยกระทงได้อย่างเหมาะสม
ส่วนการจัดการประกวดนางนพมาศในงานวันลอยกระทงนั้นพบว่า ร้อยละ 93 เห็นว่าควรจะมีการจัดประกวดนางนพมาศ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีการประกวดนางนพมาศ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79 ก็ยังจะไปร่วมกิจกรรมในงานลอยกระทงด้วย
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-