ประชาชนส่วนใหญ่ให้ประหารชีวิตพ่อค้ายาเสพติด และไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการอภัยโทษแก่ผู้ที่ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
ภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์และระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อ สังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงและส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งทางบวกและทางลบ เพื่อจะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน
ว่าประชาชนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ ผลกระทบต่อสังคมไทยมีอะไรบ้าง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ควรมีบทลงโทษหรือมาตรการทางกฎหมายกับผู้
กระทำผิดในระดับใด ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวแทนของประชาชน จำนวน 1,154
คน ในระดับการศึกษา อาชีพ เพศ และ ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยต่าง ๆ กัน ระหว่างวันที่ 30 — 31 ตุลาคม 2548 ในหัวข้อ “ขันติและการใช้ความ
รุนแรง” ซึ่งผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. สาเหตุ / ผลกระทบของปัญหาสังคมที่เป็นประเด็นในปัจจุบันนี้
1.1 ยาเสพติด ร้อยละ 84.4 เห็นด้วยว่าคนขายยาเสพติด คือ พวกทรยศต่อชาติ ร้อยละ 8.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ และ
ร้อยละ 1.9 ไม่มีความคิดเห็น
1.2 การฆ่าข่มขืน ร้อยละ 54.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุการฆ่าข่มขืนส่วนใหญ่เกิดจากพวก โรคจิต ร้อยละ 24.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
18.6 ไม่แน่ใจและร้อยละ 2.9 ไม่มีความคิดเห็น
1.3 เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 65.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุสำคัญของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากความไม่จง
รักภักดีต่อชาติไทย ร้อยละ 15.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.2 ไม่มีความคิดเห็น แต่อย่างไร ก็ตาม เมื่อพิจารณาลึกลงไปถึง
ความเห็นของประชาชนแต่ละภาค พบว่าคนภาคใต้เพียงร้อยละ 39.5 เท่านั้นที่เห็นด้วย ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างอย่างมากกับคนภาคอื่นๆ ที่เห็นด้วย
เกินร้อยละ 60 ขึ้นไป และเช่นเดียวกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะเห็นด้วยเพียงร้อยละ 24.2 ซึ่งเป็นความเห็นแตกต่างอย่างมากกับคนไทยที่
นับถือศาสนาอื่นๆ ที่เห็นด้วยเกินกว่าร้อยละ 65 ขึ้นไป
1.4 นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน ร้อยละ 58.3 เห็นด้วยว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันเกิดจากการนิยมความรุนแรง
ร้อยละ 19.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.1 ไม่มีความคิดเห็น
1.5 แม่ทิ้งลูก ร้อยละ 50.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่แม่ทิ้งลูกเพราะความเห็นแก่ตัวของแม่ ร้อยละ 23.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
18.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2 ไม่มีความคิดเห็น
1.6 การเข้ามาประท้วงใน กทม. ร้อยละ 36.5 เห็นด้วยที่รัฐบาลควรหาทางสกัดกั้นไม่ให้ม็อบชาวไร่ชาวนาเข้ามาประท้วงใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 36.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.5 ไม่มีความคิดเห็น และสำหรับกรณีนี้ พบว่า ชาวกรุงเทพและปริมณฑลเห็น
ด้วยถึงร้อยละ 43.4 ซึ่งสูงกว่าความคิดเห็นของคนภาคอื่นๆ ที่เห็นด้วยอยู่ระหว่างร้อยละ 29-33
1.7 แรงงานต่างด้าว ร้อยละ 51.7 เห็นด้วยว่าแรงงานต่างด้าวคือภาระของสังคมไทย ร้อยละ 22.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16 ไม่แน่
ใจ และร้อยละ 9.6 ไม่มีความคิดเห็น
2. ความคิดเห็นต่อมาตรการการลงโทษในเรื่องต่างๆ ที่เป็นคดีอาญา
มาตรการลงโทษต่อคดีอาญาจะมีตั้งแต่การปรับเป็นเงิน จำคุก ประหารชีวิต วิสามัญฆาตกรรม ริบทรัพย์ หรือวิธีการอื่นๆ เช่น การบริการ
สาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ ซึ่ง ผู้ตอบมีความ คิดเห็น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเรื่องนั้นๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (มาตรการลงโทษใดที่มีความ คิด
เห็นไม่ถึงร้อยละ 5 จะไม่กล่าวถึง)
2.1 ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 51.6 มีความเห็นว่าควรจำคุก ร้อยละ 32.4 ควรใช้วิธีการทางสังคม เช่น ให้บริการสาธารณะ
2.2 พ่อค้ายาเสพติด ร้อยละ 45.2 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 38.1 ให้จำคุก (โดยเฉพาะการจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ
70.7 ) ร้อยละ 7.9 ให้วิสามัญฆาตกรรม ร้อยละ 5.8 ให้ริบทรัพย์
2.3 สามีทำร้ายร่างกายภรรยา ร้อยละ 71.8 มีความเห็นให้จำคุก ร้อยละ 12.3 ให้ปรับเป็นเงิน ร้อยละ 6.8 ให้ประหารชีวิต ร้อย
ละ 7.7 ใช้มาตรการอื่นๆ เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ
2.4 ข่มขืน (ไม่ได้ฆ่า) ร้อยละ 61.9 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะการจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 48.9) ร้อยละ 32.2 ให้
ประหารชีวิต
2.5 ฆ่าข่มขืน ร้อยละ 70.9 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 21.4 ให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 79.2) ร้อย
ละ 6.7 ให้วิสามัญฆาตกรรม
2.6 นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันจนทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิต ร้อยละ 72.2 มีความเห็นให้ จำคุก ร้อยละ 11.6 ให้ริบทรัพย์ ร้อยละ
11.5 ให้ประหารชีวิต
2.7 แม่ทิ้งลูกจนทำให้ลูกเสียชีวิต ร้อยละ 79.2 มีความเห็นให้จำคุก ร้อยละ 13.7 ประหารชีวิต ร้อยละ 5.9 ให้ใช้มาตรการอื่นๆ
เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ
2.8 แรงงานต่างด้าวฆ่านายจ้าง ร้อยละ 52.2 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุกตลอดมีถึงร้อยละ 42.7) ร้อยละ 42.5 ให้
ประหารชีวิต
2.9 ผู้ก่อความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 46.5 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 29.7 ให้จำคุก ร้อยละ 20.4 ให้วิสามัญ
ฆาตกรรม
2.10 ข้าราชการ-นักการเมืองคอรัปชั่น ร้อยละ 47.8 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุก ตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 63.7) ร้อยละ
29.7 ให้ริบทรัพย์ ร้อยละ 18.4 ให้ประหารชีวิต
2.11 ม็อบก่อจราจล ร้อยละ 58.6 มีความเห็นให้จำคุก (โดยจำคุกไม่เกิน 1 ปี มีร้อยละ 38.2) ร้อยละ 26.5 ให้ปรับเป็นเงิน ร้อย
ละ 6.9 ใช้มาตรการอื่น ๆ เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ ร้อยละ 5.3 ให้ประหารชีวิต
3. กรณีศาลพิพากษาตัดสินให้จำเลยถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว ร้อยละ 62.4 เห็นด้วยที่จะไม่ สมควรมีการลดหย่อนโทษหรือ
อภัยโทษ ร้อยละ 23.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 13.9 ไม่มีความคิดเห็น
ตารางแสดงร้อยละของความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในภาพรวม
เรื่อง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่มีความคิดเห็น
1. คนขายยาเสพติดส่วนใหญ่คือ พวกทรยศต่อชาติ 84.4 8.1 5.6 1.9
2. สาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าข่มขืนเกิดจากพวกโรคจิต 54.4 24.2 18.6 2.9
3. สาเหตุสำคัญของปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้เกิดจากความไม่จงรักภักดีต่อชาติไทย 65.4 15.6 14.8 4.2
4. สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันเกิดจากการนิยมความรุนแรง 58.3 19.7 17.8 4.1
5. สาเหตุส่วนใหญ่ที่แม่ทิ้งลูกเพราะความเห็นแก่ตัวของแม่ 50.4 23.7 18.7 7.2
6.รัฐบาลควรหาทางสกัดกั้นไม่ให้ม็อบชาวไร่ชาวนาเข้ามาประท้วงในกรุงเทพฯ 36.5 36.1 14 13.5
7. แรงงานต่างด้าวคือภาระของสังคมไทย 51.7 22.7 16 9.6
ตารางแสดงร้อยละของความคิดเห็นต่อมาตรการลงโทษประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในภาพรวม
เรื่อง/ประเด็น จำคุก
ปรับเป็นเงิน ไม่เกิน 1 ปี 2—10 ปี 11—20 ปี 21 ปี-ตลอดชีวิต ประหารชีวิต วิสามัญฆาตกรรม ริบทรัพย์ วิธีการอื่น
1. ผู้ติดยาเสพติด 6.8 13 21 7.3 10 6.6 1 1.6 32
2. พ่อค้ายาเสพติด 2.7 1.1 3.9 6.2 27 45 7.9 5.8 0.3
3. สามีทำร้ายร่างกายภรรยา 12 22 25 12 12 6.8 0.9 0.6 7.7
4. ข่มขืน(ไม่ได้ฆ่า) 0.6 2.2 11 18 30 32 3.9 0.3 1.2
5. ฆ่าข่มขืน 0.2 0.3 1 3.2 17 71 6.7 0.2 0.6
6. นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน
จนทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิต 3.3 11 24 17 21 12 1.3 12 3.3
7. แม่ทิ้งลูกจนทำให้ลูกเสียชีวิต 0.8 11 29 19 21 14 0.3 0.2 5.9
8. แรงงานต่างด้าวฆ่านายจ้าง 1.3 3.3 12 15 22 43 2.7 0.4 0.9
9. ผู้ก่อความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ 0.5 1.9 4.5 6.6 17 47 20 0.4 2.4
10.ข้าราชการ-นักการเมืองคอรัปชั่น 1.6 2.1 5.8 9.3 31 18 1.7 30 1
11. ม็อบก่อจลาจล 27 22 18 8.9 9 5.3 1.3 1.4 6.9
ตารางแสดงร้อยละระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ศาลพิพากษาตัดสินให้จำเลยถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้วไม่สมควร
จะมีการลดหย่อนโทษหรืออภัยโทษ ในภาพรวม
ความคิดเห็น ร้อยละ
เห็นด้วย 62.4
ไม่เห็นด้วย 23.7
ไม่มีความคิดเห็น 13.9
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์และระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อ สังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงและส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งทางบวกและทางลบ เพื่อจะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน
ว่าประชาชนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ ผลกระทบต่อสังคมไทยมีอะไรบ้าง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ควรมีบทลงโทษหรือมาตรการทางกฎหมายกับผู้
กระทำผิดในระดับใด ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวแทนของประชาชน จำนวน 1,154
คน ในระดับการศึกษา อาชีพ เพศ และ ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยต่าง ๆ กัน ระหว่างวันที่ 30 — 31 ตุลาคม 2548 ในหัวข้อ “ขันติและการใช้ความ
รุนแรง” ซึ่งผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. สาเหตุ / ผลกระทบของปัญหาสังคมที่เป็นประเด็นในปัจจุบันนี้
1.1 ยาเสพติด ร้อยละ 84.4 เห็นด้วยว่าคนขายยาเสพติด คือ พวกทรยศต่อชาติ ร้อยละ 8.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ และ
ร้อยละ 1.9 ไม่มีความคิดเห็น
1.2 การฆ่าข่มขืน ร้อยละ 54.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุการฆ่าข่มขืนส่วนใหญ่เกิดจากพวก โรคจิต ร้อยละ 24.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
18.6 ไม่แน่ใจและร้อยละ 2.9 ไม่มีความคิดเห็น
1.3 เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 65.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุสำคัญของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากความไม่จง
รักภักดีต่อชาติไทย ร้อยละ 15.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.2 ไม่มีความคิดเห็น แต่อย่างไร ก็ตาม เมื่อพิจารณาลึกลงไปถึง
ความเห็นของประชาชนแต่ละภาค พบว่าคนภาคใต้เพียงร้อยละ 39.5 เท่านั้นที่เห็นด้วย ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างอย่างมากกับคนภาคอื่นๆ ที่เห็นด้วย
เกินร้อยละ 60 ขึ้นไป และเช่นเดียวกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะเห็นด้วยเพียงร้อยละ 24.2 ซึ่งเป็นความเห็นแตกต่างอย่างมากกับคนไทยที่
นับถือศาสนาอื่นๆ ที่เห็นด้วยเกินกว่าร้อยละ 65 ขึ้นไป
1.4 นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน ร้อยละ 58.3 เห็นด้วยว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันเกิดจากการนิยมความรุนแรง
ร้อยละ 19.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.1 ไม่มีความคิดเห็น
1.5 แม่ทิ้งลูก ร้อยละ 50.4 เห็นด้วยว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่แม่ทิ้งลูกเพราะความเห็นแก่ตัวของแม่ ร้อยละ 23.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ
18.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2 ไม่มีความคิดเห็น
1.6 การเข้ามาประท้วงใน กทม. ร้อยละ 36.5 เห็นด้วยที่รัฐบาลควรหาทางสกัดกั้นไม่ให้ม็อบชาวไร่ชาวนาเข้ามาประท้วงใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 36.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.5 ไม่มีความคิดเห็น และสำหรับกรณีนี้ พบว่า ชาวกรุงเทพและปริมณฑลเห็น
ด้วยถึงร้อยละ 43.4 ซึ่งสูงกว่าความคิดเห็นของคนภาคอื่นๆ ที่เห็นด้วยอยู่ระหว่างร้อยละ 29-33
1.7 แรงงานต่างด้าว ร้อยละ 51.7 เห็นด้วยว่าแรงงานต่างด้าวคือภาระของสังคมไทย ร้อยละ 22.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16 ไม่แน่
ใจ และร้อยละ 9.6 ไม่มีความคิดเห็น
2. ความคิดเห็นต่อมาตรการการลงโทษในเรื่องต่างๆ ที่เป็นคดีอาญา
มาตรการลงโทษต่อคดีอาญาจะมีตั้งแต่การปรับเป็นเงิน จำคุก ประหารชีวิต วิสามัญฆาตกรรม ริบทรัพย์ หรือวิธีการอื่นๆ เช่น การบริการ
สาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ ซึ่ง ผู้ตอบมีความ คิดเห็น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเรื่องนั้นๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (มาตรการลงโทษใดที่มีความ คิด
เห็นไม่ถึงร้อยละ 5 จะไม่กล่าวถึง)
2.1 ผู้ติดยาเสพติด ร้อยละ 51.6 มีความเห็นว่าควรจำคุก ร้อยละ 32.4 ควรใช้วิธีการทางสังคม เช่น ให้บริการสาธารณะ
2.2 พ่อค้ายาเสพติด ร้อยละ 45.2 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 38.1 ให้จำคุก (โดยเฉพาะการจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ
70.7 ) ร้อยละ 7.9 ให้วิสามัญฆาตกรรม ร้อยละ 5.8 ให้ริบทรัพย์
2.3 สามีทำร้ายร่างกายภรรยา ร้อยละ 71.8 มีความเห็นให้จำคุก ร้อยละ 12.3 ให้ปรับเป็นเงิน ร้อยละ 6.8 ให้ประหารชีวิต ร้อย
ละ 7.7 ใช้มาตรการอื่นๆ เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ
2.4 ข่มขืน (ไม่ได้ฆ่า) ร้อยละ 61.9 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะการจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 48.9) ร้อยละ 32.2 ให้
ประหารชีวิต
2.5 ฆ่าข่มขืน ร้อยละ 70.9 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 21.4 ให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุกตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 79.2) ร้อย
ละ 6.7 ให้วิสามัญฆาตกรรม
2.6 นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันจนทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิต ร้อยละ 72.2 มีความเห็นให้ จำคุก ร้อยละ 11.6 ให้ริบทรัพย์ ร้อยละ
11.5 ให้ประหารชีวิต
2.7 แม่ทิ้งลูกจนทำให้ลูกเสียชีวิต ร้อยละ 79.2 มีความเห็นให้จำคุก ร้อยละ 13.7 ประหารชีวิต ร้อยละ 5.9 ให้ใช้มาตรการอื่นๆ
เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ
2.8 แรงงานต่างด้าวฆ่านายจ้าง ร้อยละ 52.2 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุกตลอดมีถึงร้อยละ 42.7) ร้อยละ 42.5 ให้
ประหารชีวิต
2.9 ผู้ก่อความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 46.5 มีความเห็นให้ประหารชีวิต ร้อยละ 29.7 ให้จำคุก ร้อยละ 20.4 ให้วิสามัญ
ฆาตกรรม
2.10 ข้าราชการ-นักการเมืองคอรัปชั่น ร้อยละ 47.8 มีความเห็นให้จำคุก (โดยเฉพาะจำคุก ตลอดชีวิตมีถึงร้อยละ 63.7) ร้อยละ
29.7 ให้ริบทรัพย์ ร้อยละ 18.4 ให้ประหารชีวิต
2.11 ม็อบก่อจราจล ร้อยละ 58.6 มีความเห็นให้จำคุก (โดยจำคุกไม่เกิน 1 ปี มีร้อยละ 38.2) ร้อยละ 26.5 ให้ปรับเป็นเงิน ร้อย
ละ 6.9 ใช้มาตรการอื่น ๆ เช่น การบริการสาธารณะ / ชุมชน อบรมจริยธรรม ฯลฯ ร้อยละ 5.3 ให้ประหารชีวิต
3. กรณีศาลพิพากษาตัดสินให้จำเลยถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว ร้อยละ 62.4 เห็นด้วยที่จะไม่ สมควรมีการลดหย่อนโทษหรือ
อภัยโทษ ร้อยละ 23.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 13.9 ไม่มีความคิดเห็น
ตารางแสดงร้อยละของความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในภาพรวม
เรื่อง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่มีความคิดเห็น
1. คนขายยาเสพติดส่วนใหญ่คือ พวกทรยศต่อชาติ 84.4 8.1 5.6 1.9
2. สาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าข่มขืนเกิดจากพวกโรคจิต 54.4 24.2 18.6 2.9
3. สาเหตุสำคัญของปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้เกิดจากความไม่จงรักภักดีต่อชาติไทย 65.4 15.6 14.8 4.2
4. สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกันเกิดจากการนิยมความรุนแรง 58.3 19.7 17.8 4.1
5. สาเหตุส่วนใหญ่ที่แม่ทิ้งลูกเพราะความเห็นแก่ตัวของแม่ 50.4 23.7 18.7 7.2
6.รัฐบาลควรหาทางสกัดกั้นไม่ให้ม็อบชาวไร่ชาวนาเข้ามาประท้วงในกรุงเทพฯ 36.5 36.1 14 13.5
7. แรงงานต่างด้าวคือภาระของสังคมไทย 51.7 22.7 16 9.6
ตารางแสดงร้อยละของความคิดเห็นต่อมาตรการลงโทษประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในภาพรวม
เรื่อง/ประเด็น จำคุก
ปรับเป็นเงิน ไม่เกิน 1 ปี 2—10 ปี 11—20 ปี 21 ปี-ตลอดชีวิต ประหารชีวิต วิสามัญฆาตกรรม ริบทรัพย์ วิธีการอื่น
1. ผู้ติดยาเสพติด 6.8 13 21 7.3 10 6.6 1 1.6 32
2. พ่อค้ายาเสพติด 2.7 1.1 3.9 6.2 27 45 7.9 5.8 0.3
3. สามีทำร้ายร่างกายภรรยา 12 22 25 12 12 6.8 0.9 0.6 7.7
4. ข่มขืน(ไม่ได้ฆ่า) 0.6 2.2 11 18 30 32 3.9 0.3 1.2
5. ฆ่าข่มขืน 0.2 0.3 1 3.2 17 71 6.7 0.2 0.6
6. นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน
จนทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิต 3.3 11 24 17 21 12 1.3 12 3.3
7. แม่ทิ้งลูกจนทำให้ลูกเสียชีวิต 0.8 11 29 19 21 14 0.3 0.2 5.9
8. แรงงานต่างด้าวฆ่านายจ้าง 1.3 3.3 12 15 22 43 2.7 0.4 0.9
9. ผู้ก่อความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ 0.5 1.9 4.5 6.6 17 47 20 0.4 2.4
10.ข้าราชการ-นักการเมืองคอรัปชั่น 1.6 2.1 5.8 9.3 31 18 1.7 30 1
11. ม็อบก่อจลาจล 27 22 18 8.9 9 5.3 1.3 1.4 6.9
ตารางแสดงร้อยละระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ศาลพิพากษาตัดสินให้จำเลยถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้วไม่สมควร
จะมีการลดหย่อนโทษหรืออภัยโทษ ในภาพรวม
ความคิดเห็น ร้อยละ
เห็นด้วย 62.4
ไม่เห็นด้วย 23.7
ไม่มีความคิดเห็น 13.9
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-