ทำไมตลาดดอกไม้ในญี่ปุ่นจึงน่าสนใจ
แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศผู้ผลิตดอกไม้รายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ด้วยพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ถึง 2.2 แสนไร่แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดส่งออกดอกไม้ที่น่าสนใจมากตลาดหนึ่งเนื่องจาก
ญี่ปุ่นเป็นผู้บริโภคดอกไม้รายใหญ่ของโลก ด้วยปริมาณความต้องการบริโภคดอกไม้มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ทั้งนี้มูลค่าตลาดดอกไม้ในญี่ปุ่นสูงถึง 5-6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แม้ที่ผ่านมาปริมาณความต้องการใช้ดอกไม้ของภาคธุรกิจจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ความต้องการใช้ดอกไม้ในภาคครัวเรือนกลับเพิ่มขึ้น/ส่วนหนึ่ง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นซึ่งลดการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หันมาสร้างบรรยากาศในบ้านด้วยการซื้อดอกไม้และต้นไม้มากขึ้นเพื่อไปประดับตกแต่ง
ผลผลิตดอกไม้ของญี่ปุ่นในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาลดลงต่อเนื่องโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากเกษตรกรผู้เพาะปลูกดอกไม้ในญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่วัยชรา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ชะลอตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มหันมาเลือกซื้อดอกไม้นำเข้า ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน
การนำเข้าดอกไม้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าทั้งนี้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าดอกไม้รายใหญ่อันดับ 4 ของโลกในปี 2551 ด้วยมูลค่านำเข้า 536 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สด(ดอกไม้ที่ไทยส่งออกมากที่สุด) รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งตลาดราวร้อยละ 20 ของมูลค่านำ เข้าดอกกล้วยไม้สดทั้งหมดของโลกญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้าดอกไม้เกือบทุกชนิดในอัตราร้อยละ 0 จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกในการขยายตลาดส่งออกดอกไม้ในญี่ปุ่นเนื่องจากไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับทั้งผู้ส่งออกดอกไม้ไปญี่ปุ่นรายอื่นๆ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตลาดดอกไม้ในญี่ปุ่น
กลุ่มผู้บริโภค : ผลการสำรวจของ Ministry of Internal Affairs and Communications ระบุว่า ในปี 2550 ครอบครัวชาวญีปุ่นมีค่าใช้จ่ายในการซื้อดอกไม้เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 10,327 เยน และเมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อดอกไม้มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื่อดอกไม้ราว 11,000-14,000 เยนต่อปี ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคทีมีอายุน้อยกว่า 50 ปี มีค่าใช้จ่ายในการซื้อดอกไม้ต่อปีต่ำกว่ากลุ่มแรกถึงเกือบครึ่งหนึ่ง สำหรับผู้หญิงนิยมซื้อดอกไม้สดเนื่องจากสามารถนำไปจัดตกแต่งและทำดอกไม้แห้งได้ราคาซื้อเฉลี่ยในแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 เยน ส่วนผู้ชายนิยมซื้อไม้กระถางขนาดเล็กเนื่องจากดูแลง่าย ราคาตั้งแต่ 100 เยนไปจนถึง 2,000 เยน
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries : MAFF) ของญี่ปุ่นมีแผนที่จะรณรงค์ให้กลุ่มผู้บริโภควัยหนุ่มสาวหันมาซื้อดอกไม้เพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตดอกไม้ในญี่ปุ่น โดยตั้งเป้าเพิ่มความต้องการซื้อดอกไม้ในญี่ปุ่นขึ้นจากปี 2551 ถึงร้อยละ 8 ภายในปี 2558
ช่องทางจำหน่าย : โดยทั่วไปกว่าร้อยละ 80 ของดอกไม้ทั้งจากในประเทศและที่นำเข้าจะถูกรวบรวมมาทำการซื้อขายกันในลักษณะประมูลที่ตลาดค้าส่งก่อนกระจายไปยังร้านค้าปลีกต่อไปส่วนที่เหลือเป็นการขายตรงระหว่างเกษตรกรในญี่ปุ่น/ผู้นำเข้ากับร้านค้าปลีกและเกษตรกรในญี่ปุ่น/ผู้นำเข้า กับผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้เพาะปลูกดอกไม้ในญี่ปุ่นบางรายยังรับซื้อไม้ดอกประเภทหัวหรือหัวพันธุ์มาจากผู้นำเข้าเพื่อมาเพาะปลูก
- ผู้นำเข้า : ผู้นำเข้าดอกไม้ส่วนใหญ่มีสำนักงานอยู่ในกรุงโตเกียว นอกจากนี้ยังอยู่กระจายตามเมืองสำคัญอื่นอาทิ โอซากา ฟูกูโอกะ และนาโกย่า ทั้งนี้การส่งออกดอกไม้ของไทยไปญี่ปุ่นเป็นดอกกล้วยไม้เกือบทั้งหมดซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งส่งผ่านผู้นำเข้าในเมืองโตเกียว รองลงมา คือ ผู้นำเข้าเมืองฟูกูโอกะประมาณร้อยละ 30 และผู้นำเข้าเมืองโอซากาประมาณร้อยละ 20 ผู้นำเข้ากล้วยไม้ของญี่ปุ่นมีวิธีรับซื้อจากไทย 2 ลักษณะ คือ ซื้อขาด โดยกำหนดราคารับซื้อแน่นอนก่อนรับสินค้า และเมื่อได้รับสินค้าแล้วจึงนำไปเข้าตลาดประมูล และรับฝากขาย โดยผู้นำเข้าเรียกเก็บค่าฝากขายร้อยละ 8-10 ของราคาที่ขายได้ หากนำไปขายที่ตลาดประมูลอาจมีการคิดค่าบริการขายในตลาดประมูลอีกร้อยละ 10 ของราคาที่ประมูล
- ตลาดประมูล : ตลาดประมูลดอกไม้ในญี่ปุ่นมีราว 200 แห่งทั่วประเทศ สำหรับตลาดประมูลดอกไม้ที่สำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ ตลาดประมูลโอตะ ณ กรุงโตเกียว ตลาดประมูลโอซากาและตลาดประมูลฟูกูโอกะ ทัง/ นี/ ตลาดประมูลจะเปิดการประมูลไม้ดอกและไม้ประดับอื่นๆ ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ส่วนไม้กระถางเปิดประมูลวันอังคาร และวันพฤหัสบดี สำหรับสมาชิกในตลาดประมูลได้แก่ เกษตรกร ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ขายส่งและร้านดอกไม้ ซึ่งต้องจดทะเบียนกับตลาดประมูลก่อน
- ร้านค้าปลีก : ร้านดอกไม้ยังคงเป็นช่องทางกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคที่สำคัญที่สุด ครองส่วนแบ่งตลาดราวร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ ซูเปอร์มาเก็ต (ร้อยละ 25) อย่างไรก็ตาม การสั่งดอกไม้ทางไปรษณีย์และทางอินเทอร์เนตมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
แหล่งนำเข้า : ดอกไม้ที่ญี่ปุ่นนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ดอกเบญจมาศ รองลงมาได้แก่ ดอกกล้วยไม้ คาร์เนชันและกุหลาบ แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 16.3 ของมูลค่านำเข้าดอกไม้ทั้ง/หมดของญี่ปุ่นปี 2552) รองลงมา ได้แก่ จีน (ร้อยละ 15.2) มาเลเซีย (ร้อยละ 14.6) ส่วนไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 6 (ร้อยละ 6.9)
กล้วยไม้ไทย เป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เนื่องจากมีสีสันสวยงาม และมีรูปทรงโดดเด่นแปลกตากว่าดอกไม้ท้องถิ่นของญี่ปุ่น ปัจจุบันไทยเป็นแหล่งที่ญี่ปุ่นนำเข้าดอกกล้วยไม้ที่สำคัญที่สุด ด้วยปริมาณนำเข้าจากไทยสูงถึงปีละ 100-120 ล้านก้าน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณนำเข้าดอกกล้วยไม้ทั้ง/หมดของญี่ปุ่น ทั้งนี้ญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยไม้จากไทยตลอดทั้งปี แต่อาจมีปริมาณนำเข้าน้อยลงในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตไทยลดลงอนึ่ง ดอกกล้วยไม้ของไทยเป็นที่นิยมใช้มากในงานพิธีการต่างๆ ที่ต้องใช้ดอกไม้ปริมาณมากๆ อาทิ งานแต่งงาน ใช้ตกแต่งในวันคริสต์มาส และวันปีใหม่ เนื่องจากดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ที่มีสีสันสดใส
ระยะเวลาใช้งานนาน และราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับดอกไม้นำเข้าชนิดอื่น ทั้งนี้กล้วยไม้สกุลหวายของไทยราคาราว 30-80 เยนต่อก้าน (ราคาต่ำ สุดที่ราว 30 เยนต่อก้านมักอยู่ในช่วงเดือนมกราคม และราคาสูงสุดราว 80 เยนต่อก้านในช่วงเดือนพฤษภาคม) ถูกกว่ากล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม (Cymbidium) ที่นำเข้าจากนิวซีแลนด์ซึ่งมีราคา 300-800 เยนต่อก้าน และถูกกว่าดอกเบญจมาศที่นำเข้าจากมาเลเซียทีมีราคาแพงกว่าดอกกล้วยไม้จากไทยถึงเกือบ 10 เท่า
ปริมาณนำเข้าไม้ตัดดอกของญี่ปุ่น (ตัน)
ประเภท 2550 2551 แหล่งนำเข้าสำคัญ ไม้ตัดดอก 34,855.3 35,375.7 - -เบญจมาศ 13,150.5 13,489.4 มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม -กล้วยไม้ 6,362.4 6,199.7 ไทย ไต้หวัน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ -คาร์เนชั่น 6,170.1 6,304.6 โคลัมเบีย จีน เวียดนาม เอกวาดอร์ -กุหลาบ 3,654.3 3,584.6 เกาหลีใต้ อินเดีย เคนยา เอธิโอเปีย -อื่นๆ 5,518.1 5,797.1 เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย จีน
ที่มา : Japan Customs
แนวโน้มความนิยมของผู้บริโภค : โดยทั่วไปชาวญี่ปุ่นนิยมดอกไม้สีขาว หรือสีอ่อนๆ อาทิ ชมพูอ่อน ม่วงอ่อน ส่วนดอกไม้สีเข้มๆยังได้รับความนิยมไม่มากนัก ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ของญี่ปุ่นจัดทำการสำรวจความต้องการดอกไม้จากผู้ประกอบการค้าส่งดอกไม้ทั่วประเทศ พบว่า ดอกไม้ที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ได้แก่ ยูสโทม่า และเบญจมาศชนิด Spray ส่วนหนึ่งเนื่องจากดอกไม้ชนิดดังกล่าวมีอายุการใช้งานนาน จึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ยังคงต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และหากพิจารณาสีของดอกไม้ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมโดยแบ่งตามประเภทของดอกไม้ พบว่ากุหลาบสีแดงจะได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากแสดงถึงความหรูหรา ส่วนคาร์เนชันและเยอร์บีร่า คาดว่าสีชมพูจะได้รับความนิยมมากที่สุดเนืองจากเป็นสีทีผู้หญิงชอบมากที่สุด ส่วนยูสโทม่า คาดว่าสีที่จะได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สีขาว
กฎระเบียบนำเข้า : ญี่ปุ่นไม่เรียกเก็บภาษีนำเข้าดอกไม้ แต่เรียกเก็บ Consumption Tax ร้อยละ 5 ของราคานำเข้า ทั้งนี้ดอกไม้ที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อโรคและศัตรูพืช และได้รับใบรับรองตาม Plant Quarantine Law
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2553--