ส่งออกส่อเค้าพบทางตัน...หากลงทุนไทยยังไม่ขยับ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 15, 2011 15:53 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาภาคส่งออกถือเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2546 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของการส่งออกไทย โดยมูลค่าส่งออกขยายตัวในระดับสองหลักติดต่อเป็นเวลาหลายปีจนเห็นการทำลายสถิติสูงสุดแบบปีต่อปี ซึ่งดูแล้วการส่งออกไทยน่าจะมีอนาคตสดใส อย่างไรก็ตามหากเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ พบว่าสถานะการส่งออกของไทยกำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก เพราะจากตัวเลขส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดโลกพบว่าในช่วงปี 2546-2552 แทบไม่เพิ่มขึ้นเลย

จึงเป็นที่น่าห่วงว่าภาคส่งออกไทยนับจากนี้อาจกำลังเข้าสู่ทางตัน เมื่อปัจจัยบั่นทอนต่างๆ มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทัง้...ปัญหาความผันผวนของค่าเงิน ต้นทุนการผลิตทั้งราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น ปัญหาขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงขึ้นซึ่งแน่นอนว่าการขยายตัวของมูลค่าส่งออกในระดับสองหลักต่อเนื่องเหมือนที่เคยเกิดขึ้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป ขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง จีน อินเดีย รวมถึงเวียดนามยังเดินหน้าเติบโตด้วยความได้เปรียบเหนือไทยหลายด้าน ด้วยเหตุนี้เองทำให้ที่ยืนของสินค้าไทยหลายรายการในตลาดโลกกำลังถูกบีบให้ตกขอบสนามลงเรื่อยๆ

เหตุการณ์ดังกล่าวจุดประกายให้หลายฝ่ายมีการพูดถึงทางออกของภาคส่งออกไทยในแนวทางต่างๆ มาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการผลิต การนำแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ (Creativity) มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า อย่างไรก็ตาม การจะไปสู่จุดหมายดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเริ่มมาจากการลงทุนแทบทัง้สิน้ ซึ่งหากพิจารณาสถานะของการลงทุนไทยในปัจจุบัน พบว่าความหวังในการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวริบหรี่เต็มที

เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2549 การลงทุนของไทยอาจเรียกได้ว่าอยู่ในสภาพหยุดนิ่ง นั่นคือขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.5 ต่อปี ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคและที่สำคัญสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP หล่นลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 20 ต่ำเป็นที่สองในภูมิภาครองจากฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นยุคตกต่ำของการลงทุนไทยที่ในอดีตช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง (2535-2539) เคยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี และมีสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 40 สูงเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาค

ผลลัพธ์จากการลงทุนที่หยุดนิ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของไทยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหากพิจารณาจาก Total Factor Productivity (TFP) ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของประเทศ พบว่าอัตราขยายตัวของ TFP ของไทยในช่วงปี 2549-2553อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.5 ต่อปี ต่ำเกือบที่สุดเป็นรองแต่เพียงสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ได้เน้นการผลิตในประเทศเป็นหลัก

คู่ขนานไปกับประสิทธิภาพการผลิตที่พัฒนาไปอย่างช้าๆ ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยก็เริ่มสะดุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งจากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 58 ประเทศทั่วโลกที่จัดทำขึ้น ทุกปีโดย The International for Management Development (IMD)พบว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อยจากอันดับ 27 ในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับ 26 ในปี 2553 ขณะที่จีนและมาเลเซียเคยอยู่ในอันดับต่ำกว่าไทยในปี 2548 กลับขยับอันดับขึ้น มาแซงหน้าไทยในปี 2553 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ อย่างอินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยมีขีดความสามารถในการแข่งขันตามหลังไทยอยู่มากในปี 2548ต่างก็ขยับเข้าใกล้ไทยมาติดๆ ซึ่งผลการศึกษาของ IMD ชี้ชัดว่าจุดอ่อนสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ที่ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้น ฐานด้านเทคโนโลยีที่นอกจากอันดับไม่ดีขึน้ แล้วยังตกจากอันดับ 37 ในปี 2548 มาอยู่อันดับ 48 ในปี 2553

จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงถึงเวลาที่ประเทศไทยควรต้องเร่งฟื้นฟูภาคการลงทุนอย่างจิงจังเพื่อเป็นกลไกส่งต่อไปถึงภาคส่งออก และควรใช้จังหวะที่เงินบาทแข็งค่าเร่งนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อพลิกฟื้นภาคการลงทุนให้กลับคืนมา ขณะเดียวกันโฉมหน้าการลงทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้นนี้จะช่วยเป็นสปริงส่งต่อให้การผลิตสินค้าส่งออกของไทยกระโดดขึ้น สู่ Value Chain ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยปลดล็อกภาคส่งออกจากการแข่งขันในรูปแบบเดิมที่เน้นการแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ที่นับวันไทยจะยิ่งเสียเปรียบคู่แข่งอย่างจีน เวียดนาม รวมถึงอินเดียมากขึ้น ทุกขณะ และยังเป็นการสนับสนุนให้ภาคการส่งออกของไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงในระยะยาว

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2554--

-พห-

แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ