รมว.คลัง มอบนโยบาย ธสน. ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติในญี่ปุ่นและสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 28, 2011 15:12 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ธสน. รับนโยบาย รมว.คลัง พร้อมช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นและสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยปรับเงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้ ควบคู่ไปกับการเร่งขยายสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมทั้งขยายบริการสินเชือและบริการประกันการส่งออกให้แก่ผู้ส่งออกที่มีความต้องการเงินทุนและความมั่นใจในการขยายธุรกิจทั้งในญี่ปุ่นและตลาดอื่น

นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยว่านายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบนโยบายให้ ธสน. ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่นและสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่ง ธสน. ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและมีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ธสน. มีลูกค้าที่เป็นผู้ดำเนินธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ รวมทั้งส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เป็นจำนวนวงเงินกับ ธสน. 9,507 ล้านบาท และในครั้งนี้ ธสน. พร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกทั้วไปที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือลูกค้า ธสน. ที่ได้รับผลกระทบสรุปได้ดังนี้

1 มาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น

1.1 มาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเวียน

  • ขยายระยะเวลาการชำระหนี้แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับชำระหนีล่าช้าจากผู้ซื้อในประเทศญี่ปุ่น และจะพิจารณาเสนออัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนสำหรับการได้รับชำระหนี้ล่าช้า เพื่อลดภาระทางการเงินแก่ผู้ส่งออกที่ส่งออกสินค้าและบริการไปยังประเทศญี่ปุ่น
  • กรณีผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำการผลิต ซึ่งอาจมีผลให้ต้องหยุดทำการผลิตชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ ธนาคารจะพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้ให้
  • ธสน. พร้อมให้บริการประกันการส่งออกแก่ผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าไปยังประเทศญี่ปุ่นเช่นที่ผ่านมา เพื่อช่วยผู้ส่งออกในการบริหารความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้จากผู้ซื้อในประเทศญี่ปุ่น

1.2 มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อระยะยาว

กรณีผู้ประกอบการที่มีสินเชื่อโครงการเพื่อการนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น ธสน. จะพิจารณาการปรับตารางการชำระหนี้ เพื่อลดภาระการชำระคืนเงินต้น และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป

1.3 มาตรการการหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น

ธสน. พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อร่วมพิจารณาแนวทางขยายตลาดการค้าไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อทดแทนคำสังซื้อจากญี่ปุ่น ที่อาจลดลงในช่วงเวลานี้ และพร้อมให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน มาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

ธสน. พร้อมช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเวียน โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับชำระหนีล่าช้าจากผู้ซื้อ และจะพิจารณาเสนออัตราดอกเบียที่ผ่อนปรนสำหรับการได้รับชำระหนีล่าช้า เพื่อลดภาระทางการเงินแก่ผู้ส่งออก

กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า ภัยพิบัติในญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้ 1. ภาคการส่งออก สินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับผลกระทบในทางลบได้แก่ ยานยนต์ เครืองใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่นเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของมูลค่าส่งออกสินค้าหมวดดังกล่าวไปตลาดโลก เนื่องจากญี่ปุ่นชะลอคำสังซื้อและระบบการขนส่งทำให้การส่งออกสินค้าล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องให้ผู้ส่งออกไทยได้รับชำระเงินค่าสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด ขณะที่ไทยส่งออกยางพาราไปญี่ปุ่น 13.8% ของมูลค่ายางพาราส่งออกของไทยไปตลาดโลกและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทำให้โรงงานผลิตยางรถยนต์ในญี่ปุ่นบางแห่งหยุดดำเนินการผลิตเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้คำสังซื้อยางพาราจากญี่ปุ่นลดลง อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะยางรถยนต์ของไทยอาจได้รับผลดีจากการที่ญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตบางส่วนมายังไทย ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยที่จะได้รับผลดีในช่วงที่ญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศได้แก่ วัสดุก่อสร้าง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า และสายส่ง ตลอดจนสินค้าจำเป็นอย่างอาหาร

2. ภาคการนำเข้า ธุรกิจไทยที่พึงพาการนำเข้าจากญี่ปุ่นและได้รับผลกระทบจากการหยุดผลิตของโรงงานในญี่ปุ่น ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ (ไทยนำเข้าชินส่วนจากญี่ปุ่นประมาณ 15% ของมูลค่าผลผลิต) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ชินส่วนผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (ไทยนำเข้าชินส่วนจากญี่ปุ่น 10% ของมูลค่าผลผลิต แต่ชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นหลัก) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ไทยนำเข้า 42%)

3. ภาคการท่องเที่ยว ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเข้ามาในไทยราว 1 ล้านคน ภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นส่วนหนึ่งยกเลิกการเดินทางมาไทยในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเกือบทั้งหมดยกเลิกการเดินทางไปญี่ปุ่น แต่คาดว่าจำนวนนักท่องเทียวญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2554 และการท่องเที่ยวไทยในภาพรวมไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เพราะทดแทนด้วยนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนเป้าหมายการท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นมาไทย อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับบน จึงมักใช้จ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ธุรกิจท่องเทียวที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นจึงอาจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลียงไม่ได้

ส่วนสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีแนวโน้มลุกลามบานปลายและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคการส่งออก ได้รับผลกระทบจากการผิดนัดชำระหนี้หรือผู้ซื้อชะลอการซื้อสินค้า รวมถึงความล่าช้าและต้นทุนในการกระจายสินค้า สินค้าที่ได้รับผลกระทบมากได้แก่ ข้าว รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครืองรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผ้าผืน

2. ภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากการที่นักท่องเทียวในประเทศดังกล่าวเดินทางมาท่องเทียวในไทยน้อยลง ทั้งนี ปัจจุบันนักท่องเทียวจากตะวันออกกลางและแอฟริการวมกันคิดเป็นสัดส่วนราว 5% ของนักท่องเทียวทั้งหมดในไทย

3. ภาคแรงงานและธุรกิจจัดหางาน แรงงานที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทยอาจขาดรายได้ในระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนหนึ่งอาจเข้าไปทำงานในภาคการผลิตในไทยที่เริ่มประสบปัญหาแรงงานตึงตัวหรือภาคเกษตรกรรม ขณะที่ธุรกิจจัดหาแรงงานอาจประสบปัญหาในเรื่องรายได้ที่ลดลง

4. ธุรกิจอื่นๆ อาทิ โรงพยาบาลในไทยที่มีกลุ่มลูกค้าในประเทศดังกล่าว ขณะที่ธุรกิจไทยในประเทศดังกล่าวที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น ร้านอาหารไทย รวมถึงธุรกิจก่อสร้างทั้งที่มีอยู่เดิมและโครงการใหม่อาจชะงักงัน

5. อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนพลังงานในสัดส่วนสูง จะได้รับผลกระทบมากจากราคานำมันที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันหากประเทศคู่แข่งอุดหนุนราคาน้ำมัน โดยเฉพาะธุรกิจประมงและการขนส่ง ที่ใช้พลังงานคิดเป็น 30-50% ของต้นทุน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิก เม็ดพลาสติก เส้นใย ด้าย ผ้าผืน เหล็กและผลิตภัณฑ์ ที่มีต้นทุนพลังงานเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 10% ของต้นทุนทั้งหมด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ