อินโดนีเซีย : ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องปรับอากาศส่งออกจากไทย
ข้อมูลที่น่าสนใจ
จำนวนผู้บริโภค : 240 ล้านคน
รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 3,830 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
มูลค่านำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ปี 2553 : 419.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมืองสำคัญ : Jakarta, Surabaya ,Medan และ Bandung
ทำไมตลาดเครื่องปรับอากาศในอินโดนีเซียจึงน่าสนใจ
เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวต่อเนื่อง โดยขยายตัวเฉลี่ย 5.3% ต่อปีระหว่างปี 2549-2553 และ EIU คาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะ ขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย 6.2% ระหว่างปี 2554-2557 ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่องทำให้ชาวอินโดนีเซียมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานที่มีกำลังซื้อ ทั้งนี้ ประชากรวัยทำงานที่มีอายุเฉลี่ย 15-64 ปีมีสูงถึง 66% และเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ สูงราว 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือราว 20 ล้านคน
ปริมาณจำหน่ายเครื่องปรับอากาศของอินโดนีเซียขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยมีอัตราขยายตัวเฉลี่ย (CAGR) ราว 7.7% ต่อปีในช่วง 2548-2553 แม้ยอดจำหน่ายจะชะลอตัวลงบ้างในปี 2552 เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าปริมาณจำหน่าย เครื่องปรับอากาศจะขยายตัว 10% แตะระดับ 1.4 ล้านเครื่องในปี 2554
อินโดนีเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยเป็นผู้นำเข้าเครื่องปรับอากาศรายใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน และ อันดับ 6 ของเอเชีย
อินโดนีเซียมีสภาพอากาศร้อนชื้น เพราะตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้ม ร้อนขึ้นทุกปี
โครงสร้างตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซีย…พึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
อินโดนีเซียนำเข้าเครื่องปรับอากาศราวปีละ 800,000 เครื่อง ขณะที่ส่งออกเพียงปีละ 10,000 เครื่อง ทั้งนี้ ปี 2553 อินโดนีเซียนำ เข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมูลค่า 419.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูปราว 80% ที่เหลือ 20% เป็นการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ
อินโดนีเซียนำเข้าเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด สังเกตได้จากมูลค่านำเข้าปรับเพิ่มขึ้นโดยตลอดจาก 38.6 ล้านดอลลาร์ สหรัฐในปี 2544 เป็น 419.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2553 หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย (CAGR) ถึง 27% ต่อปี
แหล่งนำเข้า อินโดนีเซียพึ่งพาการนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากไทยมากที่สุดด้วยสัดส่วน 52% รองลงมาเป็นการนำเข้าจากมาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตามลำดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ เครื่องปรับอากาศแบบติดผนังหรือ หน้าต่าง เครื่องปรับอากาศแบบแยกหน่วยความเย็น และส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ ขณะที่เครื่องปรับอากาศสำคัญที่อินโดนีเซียนำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ คือ เครื่องปรับอากาศแบบเปลี่ยนวงจรความเย็นหรือวงจรความร้อน
ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับตลาดเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบในอินโดนีเซีย…ไทยกุมตลาดกลางและล่างเป็นหลัก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- รายการ | ลักษณะ --------------------------------------------------------------------------------------------------------- ประเภท | ราว 70% ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศของอินโดนีเซียเป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง --------------------------------------------------------------------------------------------------------- รสนิยม | ยอดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นทุกปีตามกำลังซื้อของชาวอินโดนีเซียที่สูงขึ้น เพื่อบรรเทาความร้อน | จากสภาพอากาศร้อนชื้นและมลภาวะที่เกิดจากการจราจรที่คับคั่งในเขตเมือง อนึ่ง ยอดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ | กระจุกตัวอยู่ในเมืองสำคัญ ได้แก่ Jakarta, Surabaya, Medan และ Bandung ทั้งนี้ เครื่องปรับอากาศไทยเน้น | ส่งออกไปตลาดกลางและล่างเป็นหลัก โดยรายละเอียดที่น่าสนใจของตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซีย มีดังนี้ | ? ตลาดบน ให้ความสำคัญกับตราสินค้า คุณภาพ และนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงาน | ระบบควบคุมความเย็นอัตโนมัติที่สอดคล้องกับจำนวนคนในห้อง ระบบฟอกอากาศที่ช่วยขจัดกลิ่นอับ และยับยั้ง | การกระจายตัวของเชื้อรา รวมถึงการออกแบบรูปลักษณ์ที่สวยงามสามารถใช้เป็นของตกแต่งได้ด้วย ส่วนใหญ่ | เป็นเครื่องปรับอากาศนำเข้าโดยตรงจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ | ? ตลาดกลาง ให้ความสำคัญกับตราสินค้า แหล่งผลิต และอายุการใช้งานที่ยาวนาน คู่แข่งสำคัญของไทย คือ ผู้ผลิต | เครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำที่มีฐานการผลิตในอินโดนีเซียโดยเฉพาะบริษัท PT Panasonic Gobel Indonesia | และ PT LG Electronics Indonesia | ? ตลาดล่าง ให้ความสำคัญกับราคามากกว่าคุณภาพสินค้า คู่แข่งสำคัญของไทย คือ เครื่องปรับอากาศส่งออก ราคาถูกของจีน --------------------------------------------------------------------------------------------------------- ราคา | ชาวอินโดนีเซียนิยมกั้นห้องขนาดไม่ใหญ่มากนักสำหรับห้องที่ต้องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า โดยขนาดเครื่องปรับอากาศและราคาจำหน่ายที่ได้รับความนิยม คือ | 1) เครื่องปรับอากาศขนาด 9000 BTU ใช้กับห้องขนาดประมาณ 16 ตารางเมตร มีราคาจำหน่ายเฉลี่ย อยู่ที่ 2.2-2.5 ล้านรูเปียะห์ (ราว 10,000-12,000 บาท) | 2) เครื่องปรับอากาศขนาด 28000 BTU ใช้กับห้องขนาดประมาณ 48 ตารางเมตร ราคาจำหน่ายเฉลี่ย อยู่ที่ 5.3-6.5 ล้านรูเปียะห์ (ราว 24,000-30,000 บาท) --------------------------------------------------------------------------------------------------------- งานแสดง | งานแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ งาน HVACR Indonesia ที่มักจัดราวเดือน สินค้า | พฤศจิกายนของทุกปี และงาน AIR CON INDONESIA ที่มักจัดราวเดือนกันยายนของทุกปี ---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ช่องทางการกระจายสินค้า…ยึดหัวหาดโดยบริษัทในเครือของเจ้าของ Brand ชั้นนำ
การนำเข้า
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบนำเข้าที่ท่าเรือ Tangjung Piok (ท่าเรือที่อยู่ใกล้กับ Jakarta) โดยการขนส่งสินค้าจากไทยไป อินโดนีเซียใช้เวลาราว 5-7 วัน
การกระจายสินค้า
- ผู้นำเข้า ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำของโลกที่ตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย โดยสั่งสินค้าจากบริษัทในเครือเดียว
- ซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ Makro, Carrefour, Giant และ Hypermart เป็นที่นิยมของชาว
- ศูนย์จำหน่าย (Sole Agent) ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำมักตั้งศูนย์จำหน่ายของตนตามเมืองใหญ่ อาทิ Jakarta และ
- ร้านตัวแทนจำหน่าย ร้านจำหน่ายที่ได้รับสิทธิ์การจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิต
- ร้านค้าขนาดเล็ก เป็นร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป มักตั้งอยู่ในเมืองเล็กเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงของลูกค้า
กฎระเบียบการนำเข้า
อินโดนีเซียอนุญาตให้นำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบได้เสรี แต่กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่จะวางจำหน่ายต้องมี Energy Labeling ซึ่งเป็นฉลากแสดงข้อมูลการประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ แบ่งเป็น 4 ระดับ โดยใช้ดาวเป็นสัญลักษณ์ (เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้ 4 ดาวเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานสูงสุด) กำหนดโดย Ministry of Energy and Mineral Resource ทั้งนี้ ข้อมูลบนฉลากจะระบุข้อมูลสำคัญ อาทิ รุ่นสินค้าที่ผลิต และระดับการประหยัดพลังงาน
แนวโน้มตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซีย…การแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้น
การแข่งขันในตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซียทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างเครื่องปรับอากาศแบรนด์ไทยแท้กับ เครื่องปรับอากาศแบรนด์จีน ซึ่งแบรนด์ไทยค่อนข้างเสียเปรียบแบรนด์จีนในด้านราคา เพราะผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศจากจีนได้เข้ามาตั้งฐานการผลิต และนำเข้าเครื่องปรับอากาศในอินโดนีเซีย ขณะที่เครื่องปรับอากาศแบรนด์ไทยไม่มีฐานการผลิตในอินโดนีเซียทั้งนี้ เครื่องปรับอากาศแบรนด์จีนมีราคา จำหน่ายต่ำกว่าเครื่องปรับอากาศไทยราว 30% อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศจีนมักประสบปัญหาเสียง่ายและมีอายุการใช้งานสั้น จึงได้รับความ นิยมไม่มากนัก ประกอบกับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศไทยบางรายหันมาใช้กลยุทธ์พัฒนาคุณสมบัติของเครื่องปรับอากาศโดยติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อรักษา สุขภาพ อาทิ ระบบฟอกอากาศกำจัดกลิ่นอับ ลดการกระจายตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง ทำให้จำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น
ผลการวัดศักยภาพการแข่งขันของคู่แข่งในตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซีย โดยใช้ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Reveal Comparative Advantage : RCA) พบว่าไทย มาเลเซีย และจีนเป็นผู้ส่งออกที่มีค่า RCA มากกว่า 1 แสดงว่าเป็นผู้ส่งออกที่อยู่ในฐานะได้ เปรียบ ขณะที่ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ อยู่ในสถานะเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบ เพราะมีค่า RCA น้อยกว่า 1
โอกาสของเครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบไทยในอินโดนีเซีย : มีหลายปัจจัยช่วยเกื้อหนุน
ไทยมีศักยภาพในการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอินโดนีเซีย เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องปรับอากาศรายใหญ่อันดับ 2 ของ โลก และเป็นฐานการผลิตและส่งออกเครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำของโลกทั้งจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ อาทิ Mitsubishi, Panasonic, Samsung และ LG อีกทั้งไทยมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดกลาง-เล็ก (มีขนาดไม่เกิน 60000 BTU) ที่เข้ากับ รสนิยมการเลือกซื้อของผู้ใช้เครื่องปรับอากาศชาวอินโดนีเซีย นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศส่งออกของไทยยังเป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพและอายุการใช้ งานที่ยาวนาน แม้ราคาจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ทำให้เครื่องปรับอากาศของไทยเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในสายตาผู้ซื้อเครื่องปรับ อากาศชาวอินโดนีเซีย สังเกตได้จากช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและอินโดนีเซียลดการนำเข้าเครื่องปรับอากาศลงราว 2% ในปี 2552 ส่วนแบ่งตลาด ของเครื่องปรับอากาศไทยในอินโดนีเซียกลับสามารถปรับเพิ่มขึ้นจาก 48% ในปี 2551 เป็น 54% ในปี 2552
ไทยมีโอกาสส่งออกส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศไปอินโดนีเซียตามปริมาณการผลิตเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Compressor, Cabinet, Condenser และ Packing Box เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ในอาเซียนที่ ผลิตส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศที่ได้มาตรฐานสากลและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ประกอบกับไทยมีผู้ผลิตที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับผู้ผลิตที่มีโรงงาน ตั้งอยู่ในอินโดนีเซียจึงมีโอกาสรับคำสั่งซื้อส่วนประกอบเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตเครื่องปรับอากาศในอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น
ได้รับผลดีจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ทำให้อัตราภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่อินโดนีเซียเรียกเก็บ จากไทยเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เทียบกับภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่อินโดนีเซียเรียกเก็บภาษีนำเข้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบจากจีนในอัตรา 0-5% และเรียกเก็บจากประเทศทั่วไปที่อัตรา 0-15% ทั้งนี้ แต้มต่อทางภาษีของไทยจะหมดไปใน ปี 2555 เนื่องจากภายใต้กรอบ ACFTA ได้กำหนดให้อินโดนีเซียต้องลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากจีนเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งอาจส่งผลให้การแข่งขันในตลาดเครื่องปรับอากาศอินโดนีเซียทวีความรุนแรงขึ้นยิ่งขึ้น
อัตราภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่อินโดนีเซียเรียกเก็บจากไทยและจีน
ประเภทเครื่องปรับอากาศ อัตราปกติ 1 มกราคม 2553 1 มกราคม 2554 1 มกราคม 2555 ไทย เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือผนัง (HS 841510) 15 0 0 0 เครื่องปรับอากาศแบบเปลี่ยนวงจรความเย็นหรือวงจรความร้อน (HS 841581) 10 0 0 0 เครื่องปรับอากาศแบบแยกหน่วยทำความเย็น (HS 841583) 10 0 0 0 ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ (HS 841590) 0-5 0 0 0 จีน เครื่องปรับอากาศแบบติดผนังหรือหน้าต่าง (HS 841510) 15 0 0 0 เครื่องปรับอากาศแบบเปลี่ยนวงจรความเย็นหรือวงจรความร้อน (HS 841581) 10 5 5 0 เครื่องปรับอากาศแบบแยกหน่วยทำความเย็น (HS 841583) 10 5 5 0 ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ (HS 841590) 0-5 0 0 0 ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ และ www.asean-cn.org
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฏาคม 2554--