หลังจากที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย และนาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ จนสามารถผลักดันให้ JTEPA มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นี้ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ตลอดจนความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจอย่างมาก คือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ โดยภายใต้ JTEPA ไทยผูกพันจะยกเลิกและทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า 5,495 รายการ (สัดส่วนราว 99.82% ของรายการสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดจากญี่ปุ่น) ขณะที่ญี่ปุ่นผูกพันจะยกเลิกและทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า 8,612 รายการ (สัดส่วนราว 92.95% ของรายการสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดจากไทย) จนกระทั่งปลอดภาษีภายใน 10 ปี ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากที่ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจำนวน 7,473 รายการ ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ดังนั้น JTEPA จึงถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขยายตลาดสินค้าในญี่ปุ่นได้มากขึ้น
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก JTEPA ได้แก่
- สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจาก JTEPA เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย โดยญี่ปุ่นจะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยเหลือ 0% ทันทีที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ เทียบกับอัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบันที่เรียกเก็บอยู่ในช่วง 0% - 14.2% ทั้งนี้ ภายหลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ราว 1-2 ปี คาดว่ามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปญี่ปุ่นจะขยายตัวมากกว่า 35% ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการจ้างงาน
- รองเท้าและเครื่องหนัง ญี่ปุ่นผูกพันที่จะลดภาษีนำเข้ารองเท้าและเครื่องหนังจาก 2.7% - 30% ในปัจจุบันเหลือ 0% ภายใน 7 — 10 ปี จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะขยายตลาดในญี่ปุ่นได้อีกมาก โดยเฉพาะรองเท้า เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมเปลี่ยนรองเท้าไปตามฤดูกาล ทำให้มีการใช้รองเท้าค่อนข้างมากเฉลี่ย 7-8 คู่/คน/ปี
- เกษตรและเกษตรแปรรูป ภายใต้ JTEPA นั้น มีสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยหลายรายการที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ อาทิ กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป รวมถึงผลไม้เมืองร้อนหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะละกอ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปอีกหลายรายการที่ญี่ปุ่นจะทยอยลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ภายใน 5-15 ปี ขึ้นกับรายการสินค้า อาทิ ไก่ ปลาทูน่าปลาหมึก ผักและผลไม้แปรรูป ฯลฯ ซึ่ง JTEPA จะเอื้อประโยชน์ให้สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยได้เปรียบในด้านราคา และคาดว่าจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มเกษตรและเกษตรแปรรูปไปตลาดญี่ปุ่นขยายตัวได้เพิ่มขึ้นกว่า 10%
- อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้จากอัตราภาษีปัจจุบันที่ 0% - 10% ประกอบกับสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นด้วยจุดแข็งด้านการออกแบบ ความประณีต และระดับราคาซึ่งมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ดังนั้น JTEPA จึงเป็นกลไกเสริมสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้อัญมณีและเครื่องประดับของไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้นในญี่ปุ่น
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่นต้องตรวจสอบรายการสินค้าของตนว่าอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีภายใต้ JTEPA หรือไม่ โดยสามารถดูรายการสินค้าและอัตราภาษีศุลกากรที่ญี่ปุ่นเรียกเก็บจากสินค้าส่งออกของไทยได้จากเว็บไซต์ www.thaifta.com หรือ www.mfa.go.th/jtepa/jtepa.html ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องสอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ JTEPA [ดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(www.dft.moc.go.th)
] โดยผู้ส่งออกสามารถขอรับหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form JTEPA ได้จากกรมการค้าต่างประเทศ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากกรมการค้าต่างประเทศ แล้วส่งไปให้ผู้นำเข้าในญี่ปุ่นนำไปใช้แสดงต่อศุลกากรญี่ปุ่น เพื่อขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ JTEPA
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-
สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจอย่างมาก คือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ โดยภายใต้ JTEPA ไทยผูกพันจะยกเลิกและทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า 5,495 รายการ (สัดส่วนราว 99.82% ของรายการสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดจากญี่ปุ่น) ขณะที่ญี่ปุ่นผูกพันจะยกเลิกและทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า 8,612 รายการ (สัดส่วนราว 92.95% ของรายการสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดจากไทย) จนกระทั่งปลอดภาษีภายใน 10 ปี ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากที่ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจำนวน 7,473 รายการ ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ดังนั้น JTEPA จึงถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขยายตลาดสินค้าในญี่ปุ่นได้มากขึ้น
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก JTEPA ได้แก่
- สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจาก JTEPA เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย โดยญี่ปุ่นจะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยเหลือ 0% ทันทีที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ เทียบกับอัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบันที่เรียกเก็บอยู่ในช่วง 0% - 14.2% ทั้งนี้ ภายหลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ราว 1-2 ปี คาดว่ามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปญี่ปุ่นจะขยายตัวมากกว่า 35% ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการจ้างงาน
- รองเท้าและเครื่องหนัง ญี่ปุ่นผูกพันที่จะลดภาษีนำเข้ารองเท้าและเครื่องหนังจาก 2.7% - 30% ในปัจจุบันเหลือ 0% ภายใน 7 — 10 ปี จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะขยายตลาดในญี่ปุ่นได้อีกมาก โดยเฉพาะรองเท้า เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมเปลี่ยนรองเท้าไปตามฤดูกาล ทำให้มีการใช้รองเท้าค่อนข้างมากเฉลี่ย 7-8 คู่/คน/ปี
- เกษตรและเกษตรแปรรูป ภายใต้ JTEPA นั้น มีสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยหลายรายการที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ อาทิ กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป รวมถึงผลไม้เมืองร้อนหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะละกอ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปอีกหลายรายการที่ญี่ปุ่นจะทยอยลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ภายใน 5-15 ปี ขึ้นกับรายการสินค้า อาทิ ไก่ ปลาทูน่าปลาหมึก ผักและผลไม้แปรรูป ฯลฯ ซึ่ง JTEPA จะเอื้อประโยชน์ให้สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยได้เปรียบในด้านราคา และคาดว่าจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มเกษตรและเกษตรแปรรูปไปตลาดญี่ปุ่นขยายตัวได้เพิ่มขึ้นกว่า 10%
- อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้จากอัตราภาษีปัจจุบันที่ 0% - 10% ประกอบกับสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นด้วยจุดแข็งด้านการออกแบบ ความประณีต และระดับราคาซึ่งมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ดังนั้น JTEPA จึงเป็นกลไกเสริมสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้อัญมณีและเครื่องประดับของไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้นในญี่ปุ่น
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่นต้องตรวจสอบรายการสินค้าของตนว่าอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีภายใต้ JTEPA หรือไม่ โดยสามารถดูรายการสินค้าและอัตราภาษีศุลกากรที่ญี่ปุ่นเรียกเก็บจากสินค้าส่งออกของไทยได้จากเว็บไซต์ www.thaifta.com หรือ www.mfa.go.th/jtepa/jtepa.html ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องสอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ JTEPA [ดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(www.dft.moc.go.th)
] โดยผู้ส่งออกสามารถขอรับหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form JTEPA ได้จากกรมการค้าต่างประเทศ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากกรมการค้าต่างประเทศ แล้วส่งไปให้ผู้นำเข้าในญี่ปุ่นนำไปใช้แสดงต่อศุลกากรญี่ปุ่น เพื่อขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ JTEPA
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-